เต่างอยกับปลาช่อนหัวร้อน โดดงับซะเต่าหัวทิ่ม

คลิปนี้เป็นเรื่องระหว่างเต่ากับปลาช่อน โดยปลาช่อนผมคิดว่าเป็นปลาช่อนสายพันธุ์บ้านเราเนียละ ส่วนเต่าทางคลิปบอกไว้ว่าเป็น Snapping แต่ผมว่าไม่น่าจะใช้ เพราะถ้าเป็น Snapping ช่อนตัวนี่น่าจะโดนงับหัวไปและ เอาเป็นว่าดูกับขำๆ ล่ะกัน และผมมีข้อมูลปลาช่อนในเรื่องนี้ด้วย

ในคลิปนี้เป็นช่วงเวลาที่ปลาช่อนได้เจอกับเต่าที่ทางคลิปเขียนไว้ว่าเป็นเต่าสแนปปิ้ง แต่เท่าที่ดูไม่น่าจะใช่ แต่ก็ไม่แน่ใจว่าเป็นเต่าชนิดไหน โดยปลาช่อนตัวนี้ค่อนข้างเกเร (ความจริงปลาช่อนก็นิสัยประมาณนี้อยู่แล้ว) มันพยายามงับหัวเต่าอยู่หลายครั้ง .. สุดท้ายเป็นยังไงลองดูคลิปกัน

“ปลาช่อน ชื่อวิทยาศาสตร์ Channa striata ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีส่วนหัวค่อนข้างโต รูปร่างทรงกระบอกยาว ครีบหางเรียวปลายมน ปากกว้าง ภายในปากมีฟันเขี้ยวบนเพดาน ลำตัวสีคล้ำอมมะกอกหรือน้ำตาลอ่อน มีลายเส้นทแยงสีคล้ำตลอดทั้งลำตัว 6-7 เส้น ด้านท้องสีจางตัดกับด้านบน ครีบสีคล้ำมีขอบสีเหลืองอ่อน ครีบท้องจาง มีขนาดลำตัวประมาณ 30-40 เซนติเมตร ใหญ่สุดได้ถึง 1 เมตร”

โดยปลาช่อนมีความพิเศษไปกว่าปลาช่อนชนิดอื่นๆ คือ สามารถแถกไถตัวคืบคลานไปบนบกเพื่อหาที่อยู่ใหม่ได้ รวมทั้งสามารถหลบอยู่ใต้ดินในฤดูฝนแล้งเพื่อรอฝนมาได้เป็นแรมเดือน โดยสะสมพลังงานและไขมันไว้ ที่เรียกว่า “ปลาช่อนจำศีล” พบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำทั่วประเทศไทย พบไปจนถึงเอเชียใต้, พม่า และอินโดนีเซีย

นิยมนำมาบริโภค ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายทั้งสดและตากแห้ง เป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจที่สำคัญจนอาจเรียกได้ว่าเป็นปลาน้ำจืดเศรษฐกิจอันดับหนึ่ง เลี้ยงได้ทั้งในบ่อและกระชังตามริมแม่น้ำ นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยเฉพาะตัวที่สีกลายเป็นสีเผือกหรือปลาที่พิการตัวสั้นกว่าปกติ

A) แม้แหล่งน้ำจะแห้งแต่ปลาช่อนก็อาศัยอยู่ได้ B) ปลาช่อนชอบน้ำนิ่งๆ มีพืชน้ำ หรือที่หลบซ่อน

ปลาช่อนในบางพื้นที่ เช่น ที่จังหวัดสิงห์บุรี ขึ้นชื่อมาก เรียกกันว่า “ปลาช่อนแม่ลา” มีประเพณีพื้นถิ่นคือเทศกาลกินปลา โดยลักษณะเฉพาะของปลาช่อนแม่ลา คือ มีครีบหูหรือครีบอกสีชมพู ส่วนหางจะมีลักษณะมนเหมือนใบพัด ลำตัวอ้วน แต่หัวหลิม ไม่เหมือนปลาช่อนทั่วไป

โดยเป็นปลาช่อนที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำลา อยู่ระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำน้อย ในเขตจังหวัดสิงห์บุรี เป็นแหล่งน้ำที่น้ำนิ่ง มีความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารตามธรรมชาติ ใต้ท้องน้ำปกคลุมไปด้วยพืชน้ำและวัชพืช ทำให้น้ำเย็น ดินก้นลำน้ำยังเป็นโคลนตมที่มีอินทรียวัตถุ แร่ธาตุที่ไหลมารวมกัน สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทำให้ปลาช่อนแม่ลาถึงมีรสชาติดีกว่าปลาช่อนที่อื่นๆ

ลูกปลาช่อน หรือลูกคอก จะรวมกันเป็นฝูง และต้องมีพ่อแม่คอยดูแล

ซึ่งปัจจุบันด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป มีการสร้างเขื่อนและประตูเปิด-ปิดน้ำ ทำให้แม่น้ำลาตื้นเขิน ปลาช่อนแม่ลาที่เคยขึ้นชื่อใกล้จะสูญพันธุ์ แต่ปัจจุบัน กรมประมงสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว และมีการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติเพื่อเป็นการอนุรักษ์

“ปลาช่อน มีชื่อเรียกตามภาษาถิ่นในแต่ละภาคว่า “ปลาหลิม” ในภาษาเหนือ “ปลาค้อ” หรือ “ปลาก๊วน” ในภาษาอีสาน”

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements