เรื่องแปลกของ ‘ปลาช่อนงูเห่าไทย’ กับความเชื่อที่มีพิษกัดคนถึงตาย

ปลาช่อนงูเห่าเป็นหนึ่งในปลาช่อนที่พบได้ในประเทศไทย นอกจากมันจะมีคำว่า "งูเห่า" อยู่ในชื่อแล้ว มันยังเป็นปลาที่มีลำตัวยาวเป็นพิเศษ ประกอบกันหัวที่คล้ายงู ด้วยเหตุนี้จึงมีความเชื่อเรื่องที่ปลาช่อนชนิดนี้กัดคนตาย แต่จริงๆ แล้วเป็นเช่นไรกัน

ปลาช่อนงูเห่า

ก่อนอื่นมาดูกันก่อนว่าปลาช่อนงูเห่าคืออะไร?

Advertisements

ปลาช่อนงูเห่า หรือ ปลาช่อนดอกจันทน์ (Great snakehead, Bullseye snakehead) เป็นปลาช่อนที่พบได้ในไทย แต่เนื่องจากมีจำนวนที่น้อย จึงไม่จัดเป็นปลาเศรษฐกิจ เป็นปลาช่อนที่มีลำตัวกลมและยาว หัวมีขนาดเล็กกว่าปลาช่อนชนิดอื่น สีลำตัวเปลี่ยนไปตามวัยและสภาพแวดล้อม แต่โดยปกติจะเป็นสีน้ำตาลแกมเขียวหรือสีดำ

จุดเด่นของปลาช่อนงูเห่านอกจากจะตัวยาวมาก ยังมีจุดสีดำล้อมรอบด้วยวงสีส้มสด แลดูคล้ายเครื่องหมายดอกจันทน์ เมื่อปลาเริ่มโตขึ้นจะมีแถบดำราวๆ 5-6 แถบคาดขวางลำตัวส่วนที่อยู่ค่อนไปทางท้าย ใต้ท้องมีสีจาง

ปลาช่อนงูเห่ายังไม่มีชื่อวิทยาศาสตร์ที่แน่นอน แต่ส่วนมากจะใช้ชื่อ ชานนา มารูเลียส (Channa marulius) ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับปลาช่อนงูเห่าที่พบในอินเดีย แต่ก็มีนักมีนวิทยาหายคนเห็นว่าควรใช้ ชานนา ออโรลิเนต้า (Channa aurolineatus) …นอกจากนั้นยังมีปลาช่อนงูเห่าแม่น้ำโขงที่มีชื่อที่ไม่แน่นอนเช่นกัน

และสำหรับตอนนี้แม้ว่าปลาช่อนงูเห่าไทย ปลาช่อนเห่าแม่น้ำโขง หรือแม้แต่ ปลาช่อนเห่าอินเดียจะหายากในไทย แต่ในฟลอริดาถือว่าเป็นปลาช่อนที่มีเยอะที่สุด เคียงคู่กับปลาช่อนเหนือเลยก็ว่าได้ เรียกว่ามีเป็นหมื่นเป็นแสนตัวเลยทีเดียว .. ตกยังไงก็ได้ตัว

ความเชื่อเรื่องพิษของปลาช่อนงูเห่า

ความเชื่อเรื่องพิษของปลาช่อนงูเห่ามีมานานแสนนาน แม้จะฟังดูเหลวไหล แต่ก็มีคนมากมายที่เชื่อเรื่องเหล่านี้ …และดูเหมือนจะมีเรื่องเล่าที่หลากหลายและหนึ่งในนั้นก็ประมาณนี้

เรื่องมีอยู่ว่า …มีสองผัวเมียคู่หนึ่งซึ่งมีอาชีพทำนา ที่บ้านมีฐานะยากจน สามีจึงต้องออกไปหาปลาเกือบทุกวัน อยู่มาวันหนึ่งสามีก็ออกไปหาปลาตามปกติ เมื่อได้ปลามาก็ต้องเอาใส่ไว้ในข้องใส่ปลา และวิธีเอาปลาออกจากข้องมีอยู่วิธีเดียวคือเอามือล้วงเข้าไปจับปลาออกมา

พอเมียล้วงมือเข้าไปจับปลาเพื่อเอามาทำอาหาร เธอก็นิ่งไปสักพัก สามีสังเกตุเห็นความผิดปกติ ก็เคยเข้าไปดูใกล้ๆ เขาก็พบว่าเมียได้เสียชีวิตไปแล้ว …แล้วเขาก็เล่าว่าข้างในข้องใส่ปลา เป็นปลาช่อนงูเห่า หากใครถูกกัดจะตายทันที

หรือความเชื่อที่อาจมาจากโคลงโลกนิติบทหนึ่งที่ว่า

ช้างสาร  หกศอกไซร้   เสียงา
งูเห่า  กลายเป็นปลา   อย่าต้อง
ข้าเก่า  เกิดแต่ตา   ตนปู่ ก็ดี
เมียรัก  อยู่ร่วมห้อง   อย่าไว้วางใจ

จากโคลงบทนี้ อาจแสดงให้เห็นว่า คนโบราณน่าจะเห็นปลาช่อนงูเห่าที่หัวคล้ายกับงูเห่า จนมีความเชื่อว่ามันมีพิษอันตราย

แต่หากถอดความจากโคลงจะได้ความว่า

ช้างสารสูงหกศอก แม้ว่างาจะหักหาย
งูเห่าแม้จะกลายคล้ายปลาช่อนอย่าช้อนจับ
ข้าเก่าแม้เคยขอรับๆ มาแต่ครั้งปู่ย่า
เมียรักนอนร่วมเคหา เหล่านี้อย่าไว้วางใจ

จากการถอดความ มันก็ไม่ได้ชี้ไปที่ปลาช่อนงูเห่าเท่าไร แค่เตือนให้ดูดีๆ งูเห่ากับปลาช่อนมันคล้ายกัน จับผิดระวังโดนกัด

คำถามสำคัญคือ มันมีพิษหรือไม่? … แน่นอนว่าไม่มีพิษแน่นอน ผมว่าในข้องใส่ปลา น่าจะเป็นงูเห่าจริงๆ เลยก็ได้ … สุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับคุณแล้ว ว่าจะเชื่อว่าปลาช่อนงูเห่ากัดคนตายจริง! หรือไม่จริง!

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements