ยาว 8 เมตร.!! ‘จระเข้โบราณ’ ที่ต้องการกระดูกพิเศษเพื่อช่วยให้มันเคลื่อนที่ได้

การที่จะเคลื่อนย้ายสิ่งของที่หนักถึงสามตัน และยาวเท่ารถประจำทางนั้น ต้องการเครื่องมือพิเศษ แต่สำหรับจระเข้ดึกดำบรรพ์แล้ว นั่นหมายถึงกระดูกพิเศษที่สะโพกและบ่าของมันเพื่อรองรับน้ำหนัก ..อ่านเรื่องราวเล็กๆ ของจระเข้ยักษ์โบราณที่เคยมีอยู่เมื่อ 6 ล้านปีก่อนกัน

“Purussaurus mirandai” เป็นชื่อของจระเข้โบราณชนิดหนึ่ง ขนาดของมันนั้นเทียบได้กับช้างแอฟริกา มันมีความยาวแปดเมตร เคยมีชีวิตอยู่เมื่อหกล้านปีก่อนในเวเนซุเอลา และยังจัดเป็นหนึ่งในจระเข้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดบนโลกด้วย

ศาสตราจารย์จอห์น ฮัทชินสัน จาก Royal Veterinary College ได้เข้าร่วมกับทีมสำรวจนานาชาติที่นำโดย ดร. Torsten Scheyer จากสถาบัน Plaeontological และพิพิธภัณฑ์ซูริค เพื่อหาข้อมูลว่าเจ้ายักษ์นี้สามารถแบกน้ำหนักได้อย่างไร

พวกเขาได้ค้นพบว่าพวกมันมีกระดูกสันหลังส่วนเกิน และมันได้ปรับระดับไหล่ของมันใหม่เพื่อสอดคล้องกับน้ำหนักตัวของมัน

ด้วยลักษณะของมัน แสดงว่าให้เห็นว่าพวกมันไม่ได้อาศัยอยู่แต่ในน้ำ แต่มันสามารถเคลื่อนที่บนบกได้ด้วย

จระเข้ไคเมนยุคก่อนประวัติศาสตร์นี้เป็นจระเข้ชนิดเดียวที่มีกระดูกสันหลังส่วนเกิน การพัฒนานี้ต้องการการเปลี่ยนแปลงของยีน “Hox genes” ที่ควบคุมการสร้างส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย

แต่อย่างไรก็ตามนั้น นักวิทยาศาสตร์สังเกตว่าจระเข้ในปัจจุบันนั้นก็ต้องทรมานจากความผิดปกติของกระดูกส่วนเกินที่เกินขึ้น ดังนั้นทำให้เห็นว่ายีน “Hox genes” ยังคงสืบทอดมาจนทุกวันนี้

ศาสตราจารย์ฮัทชินสันกล่าวว่า “เราไม่คิดว่าเจ้า Purussaurus จะเคลื่อนที่ได้เร็วมากบนบก แต่การค้นพบของเราก็มีความสำคัญเนื่องจากช่วยแสดงให้เห็นว่าพัฒนาการสามารถเปลี่ยนแปลงร่างกายได้”

ดร. Scheyer กล่าวเพิ่มว่า “เราโชคดีที่พบฟอสซิลจำนวนมากในเวเนซุเอลา ทำให้รับรับรู้ถึงกระดูกอันเป็นเอกลักษณ์นี้ตั้งแต่ต้น

“ กระดูกเก่าเหล่านี้แสดงให้เราเห็นอีกครั้งว่ารูปแบบทางวิทยาที่เห็นในสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปนานแล้วนั้นขยายออกไปได้ดีกว่าสิ่งที่รู้จักกันในสัตว์ที่มีชีวิตและด้วยเหตุนี้จึงทำให้เรารู้ว่าสัตว์ต่างๆสามารถทำอะไรได้บ้างในการวิวัฒนาการของพวกมัน”

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements
แหล่งที่มาsciencefocus.com