ยืนยัน ‘ช้างแอฟริกา’ เป็นสองสายพันธุ์ที่แยกกัน และทั้งคู่ใกล้สูญพันธุ์

การประเมินบัญชีแดง หรือบัญชีสายพันธุ์ที่ถูกคุกคาม พบว่าช้างแอฟริกาซึ่งในปัจจุบันมีสองสายพันธุ์ย่อยคือ ช้างป่า (Forest elephant) และช้างทุ่งหญ้า (Savanna elephant) จากการทบทวนรายชื่อของสัตว์และพืชที่มีความเสี่ยงสูงล่าสุด พบว่าทั้งคู่อยู่ในภาวะเสี่ยงสูญพันธุ์

ช้างแอฟริกา

การรุกล้ำป่าและการล่าสัตว์ผิดกฏหมาย ในช่วง 31 ปีที่ผ่านมา ทำให้ประชากรของช้างป่าลดลงถึง 86% และในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ช้างทุ่งหญ้าลดลงถึง 60%

องค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ได้รวบรวมรายชื่อของสัตว์และพืชที่กำลังถูกคุกคาม ซึ่งตอนนี้ช้างแอฟริกามาเป็นอันดับต้นๆ ทั้งสองสายพันธุ์นี้วิวัฒนาการแยกออกจากกันเมื่อประมาณ 5-6 ล้านปีก่อน เวลาเดียวกับที่มนุษย์เริ่มแยกตัวออกจากพวกลิง

ช้างป่ากำลังเล่นน้ำอยู่ในบึงเกลือของเขตสงวนพิเศษ Dzanga Sangha ซึ่งเป็นหนึ่งในที่ลี้ภัยแห่งสุดท้ายของพวกมันในสาธารณรัฐแอฟริกา

ช้างป่าได้รับการระบุโดย IUCN ว่าอยู่สถานะวิกฤตอย่างยิ่ง ในขณะที่ช้างทุ่งหญ้าอยู่สถานะความเสี่ยงสูง ซึ่งเดิมที่ช้างแอฟริกาถูกจัดอยู่ในกลุ่มมีความเสี่ยงต่ำ ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าในขณะที่ประชากรของมันกำลังเพิ่มขึ้น แต่เพราะวิกฤตสภาพอากาศ ความต้องการงาช้าง และการขยายตัวของมนุษย์จะเป็นภัยคุกคามต่อเนื่องต่อการอยู่รอดของพวกมัน

ดร. Kathleen Gobush ผู้เชี่ยวชาญด้านช้าง ซึ่งเป็นผู้นำทีมประเมินของ IUCN สำหรับการจำแนกประเภทช้างใหม่ ได้กล่าวว่า “เปลี่ยนจากสัตว์มีความเสี่ยงสูญพันธุ์ไปยังสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ไม่ได้หมายความว่าพวกมันจะสูญพันธุ์ไปในวันพรุ่งนี้ แต่มันก็ยังมีความเสี่ยงที่สูง และการจัดประเภทใหม่นี้ ยังช่วยให้สามารถเจาะจงไปยังแต่ละสายพันธุ์โดยตรงได้ และวางแผนการอนุรักษ์ตามแต่ละชนิด ซึ่งไม่เหมือนกัน”

การสำรวจในปี 2016 พบว่าช้างป่าและช้างทุ่งหญ้าประมาณ 415,000 ตัว ยังคงพบในแหล่งอาศัย แต่ช้างป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ส่วนมากจะอยู่ในลุ่มน้ำคองโก แอฟริกาตะวันตก และในขณะที่ประเทศบอตสวานามีประชากรช้างทุ่งหญ้ามากที่สุด

การจำแนกประเภทใหม่อาจจะมีผลกระทบในด้านการอนุรักษ์ วิทยาศาสตร์และการเมือง นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญยังเตือนว่าช้างป่ายังไม่ได้รับการศึกษาและ หลายที่ยังจัดช้างแอฟริกาให้มีเพียงประเภทเดียวไม่ใช่สองสายพันธุ์

ดร. Ben Okita-Ouma ประธานร่วมของกลุ่มที่ดูแลช้างใน IUCN และเป็นหัวหน้าหน่วยเฝ้าระวังช้างกล่าวว่า “เท่าที่เราเห็นพบว่าการล่าช้างได้ลดลงในหลายประเทศ แต่ความขัดแย้งของมนุษย์กับช้าง ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้มันถูกฆ่าตาย หากดูจากข้อมูลปัญหาใหม่จะเป็นเรื่องการรุกล้ำแหล่งอาศัยของพวกมัน”

การเปลี่ยนแปลงสถานะอนุรักษ์ช้างแอฟริกาเป็นตัวอย่างหนึ่งของจากจำแนกสายพันธุ์ใหม่ เหมือนกับมนุษย์ที่มีแยกย่อยไปตามสายพันธุ์และท้องถิ่น

ช้างป่าที่ Langoué Baï ในอุทยานแห่งชาติ Ivindo ประเทศกาบอง

โดยทั่วไปแล้วช้างป่าจะมีขนาดเล็กกว่า และหูที่เล็กเป็นวงรีและมักอยู่ตัวเดียว แต่ช้างทุ่งหญ้าจะอยู่เป็นฝูงและมีหูที่ใหญ่และกะโหลกต่างกันเล็กน้อย เดิมจริงๆ มีช้างแอฟริกาเหนือด้วย ซึ่งมักพบในลิเบีย ตูนิเซีย มันมีขนาดเล็กกว่าช้างแอฟริกาแต่พวกมันสูญพันธุ์ไปหลายพันปีแล้ว

ช้างทั้งสองชนิดจะไม่ข้ามไปยังแหล่งอาศัยอื่น ช้างทุ่งหญ้าจะอยู่ตามทุ่งหญ้าและป่าโปร่ง ส่วนช้างป่าจะอยู่ในเขตป่าดิบชื้น แต่ก็เคยมีรายงานการพบช้างที่ผสมข้ามชนิดกัน ทำให้เกิดข้อสงสัยในเรื่องจากจำแนกสายพันธุ์ แต่ก็ไม่พบบ่อย

Alfred Roca ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรมที่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา ซึ่งศึกษาผลงานวิจัยเรื่องประเภทช้าง ก่อนหน้านี้เขาได้เตือนว่าการไม่สามารถแยกประเภทสายพันธุ์ช้างอาจจะเป็นต้นเหตุทำให้พวกมันสูญพันธุ์ได้

“ผมหวังว่านี่จะทำให้คนสนใจช้างป่ามากขึ้น ช้างป่าและช้างทุ่งหญ้าอาจจะมีการแบ่งแยกสายพันธุ์ที่มากกว่าสิงโตหรือเสือ พวกมันยังเป็นตัวช่วยในการแพร่กระจายของพืชในป่าเขตร้อน จากเมล็ดพืชที่มันถ่ายออกมา การสูญเสียพวกมันถือเป็นเรื่องใหญ่”

ศาสตราจารย์ Lee White รัฐมนตรีกระทรวงน้ำและป่าไม้ของกาบอง ได้กล่าวกับหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนว่า “ผมไม่สามารถจินตนาการโลกที่ไม่มีช้างได้” กาบองยังเป็นบ้านของช้างป่าที่ใกล้สูญพันธุ์อีกด้วย

“เราจำเป็นต้องเร่งให้เกิดแนวทางแก้ไขสำหรับการอนุรักษ์ช้าง อนาคตของช้างทั้งหมดจะถูกตัดสินจากคนในประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา” – Lee White

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements