4B กับเรื่องที่อาจไม่รู้ของเหยื่อปลั๊ก

คำว่าเหยื่อปลั๊ก มันเป็นเหมือนคำเรียกรวมของเหยื่อทั้งหมด Crankbait ที่มีลิ้น ซึ่งในบ้านเราค่อนข้างได้รับความนิยม เอาไปตกพวกปลากะพง ชะโด ช่อน จริงๆ ก็เอาไปตกแทบทุกอย่างนั้นล่ะ เพราะคำว่าปลั๊กมันเป็นเหยื่อที่เยอะจริงๆ ในตำราฝรั่งเก่าๆ หน่อย เขาให้พิจารณากันที่ 4 ปัจจัยหลัก

คำว่าเหยื่อปลั๊ก มันเป็นเหมือนคำเรียกรวมของเหยื่อทั้งหมด Crankbait ที่มีลิ้น ซึ่งในบ้านเราค่อนข้างได้รับความนิยม เอาไปตกพวกปลากะพง ชะโด ช่อน จริงๆ ก็เอาไปตกแทบทุกอย่างนั้นล่ะ เพราะคำว่าปลั๊กมันเป็นเหยื่อที่เยอะจริงๆ ในตำราฝรั่งเก่าๆ หน่อย เขาให้พิจารณากันที่ 4 ปัจจัยหลัก โดยตามตำราเล่มที่ว่านี้เขาเขียนไว้ว่าให้ดูที่ “B” ทั้งสี่

B ที่ 1 = Bill

Advertisements

ปัจจัยหลักเลยสำหรับเหยื่อปลั๊กคือ B ที่ย่อมาจาก Bill นั่นเองหรือให้แปลเป็นไทยก็คือจะงอยปากอ๊ะปลั๊กดันผ่ามามีจะงอยปากได้อย่างไร คืองี้ไอ้ที่ฝรั่งเขาเรียกว่าจะงอยปากของเหยื่อน่ะบ้านเรารียกว่าลิ้นจริงๆ เขาก็เรียกว่า Bill หรือจะงอยปากกันทั้งโลกละ แต่พอดีบ้านเราภาษาบรรเจิดกว่าเลยคิดหาคำที่ดูน่าจะเหมาะสมได้มากกว่ามาใช้เรียกกันได้เอาหละ

มาที่ลิ้นของเหยื่อกันต่อ เรื่องของลิ้นเหยื่อเป็นเรื่องอะไรที่เข้าใจง่ายๆลิ้นแบนดำลึก ส่วนลิ้นหักๆ ก็ดำตื้นหน่อย มาถึงทุกวันนี้ไอ้กฎลิ้นแบนลิ้นหักนี่ก็ยังพอที่จะใช้ได้อยู่บ้าง แต่ก็เพิ่มรายละเอียดขึ้นมาอีกมากพอสมควรเหมือนกัน ด้วยความเจริญของเทคโนโลยีที่เป็นไปตามยุคตามสมัย ไม่น่าเชื่อว่าในทุกวันนี้ชิ้นส่วนเล็กๆ อย่างลิ้นของเหยื่อเอาที่เห็นกันง่ายๆ ก่อนเลยสำหรับความยาวสั้นของลิ้นเหยื่อตามตำราสมัยใหม่ นั้นคือความลึกของการดำของตัวเหยื่อนั้นดูเหมือนจะไม่ได้ถูกกำหนดโดยองศาของลิ้นเหยื่ออีกต่อไปแล้ว แต่ถูกกำหนดโดยความยาวของลิ้นแทน คือถ้าเหยื่อตัวไหนนั้นมีลิ้นที่ยาวก็จะสามารถดำลงไปได้ลึกกว่าเหยื่อที่มีลิ้นที่สั้นกว่านั่นเอง

แต่โดยทั่วไปแล้วนักตกปลาทั้งหลายไม่ต้องไปคาดเดากันเอาเองถึงระดับน้ำลึกสุดที่เหยื่อตัวใดตัวหนึ่งจะดำลงไปได้ เพราะส่วนใหญ่ผู้ผลิตเหยื่อปลั๊กสมัยนี้เขาจะเขียนบอกเอาไว้ข้างกล่องเลยว่าเหยื่อของพวกเรานั้นสามารถดำลงลึกได้แค่ไหน แต่ก็มีข้อสังเกตประการหนึ่งที่เป็นเหมือนกันหมด สำหรับตัวเลขความลึกที่เขียนไว้ข้างกล่องของเหยื่อปลั๊กไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตรายไหน ความลึกจริงๆ ที่ตัวเหยื่อทำได้นั้นจะน้อยกว่าที่เขียนไว้ข้างกล่องเล็กน้อย

ส่วนเหตุผลที่เห็นเช่นไรนั้นอย่าไปสนใจมันเลย อ้อ! เกือบลืมไปอีกนิด สำหรับการสังเกตว่าเหยื่อตัวไหนดำลึกหรือดำตื้น ฝรั่งเขาให้ข้อสังเกตเอาไว้อย่างหนึ่งว่า สำหรับเหยื่อปลั๊กที่มีห่วงผูกสายเบ็ดอยู่ที่บริเวณลิ้นของตัวเหยื่อนั้น จะดำลึกกว่าเหยื่อปลั๊กที่มีห่วงผูกสายเบ็ดอยู่ที่บริเวณจมูกของตัวเหยื่อ ลักษณะต่อมาสำหรับลิ้นของตัวเหยื่อที่มีผลต่อแอ็คชั่นของตัวเหยื่อ ก็คือมุมหรือองศาของลิ้นที่มีองศาหรือหักมากๆ นั้นจะดำลงไปที่ความลึกที่เหยื่อปลั๊กตัวนั้นได้ถูกออกแบบเอาไว้ได้เร็วกว่าเหยื่อที่มีลิ้นแบนๆ หรือองศาน้อยๆ ข้อดีของการที่เหยื่อลงไปอยู่ในระดับความลึกที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วว่องไวคือในระยะทางที่เท่ากัน

เหยื่อที่มีองศาลิ้นมากจะอยู่ในพื้นที่หวังผลหรือที่ฝรั่งเขาเรียกว่า Strike Zone ได้นานกว่าเหยื่อที่มีองศาของลิ้นน้อยๆ เหยื่อที่ลิ้นมีองศามาก เมื่อตกถึงพื้นน้ำจะใช้ระยะทางในการลากเหยื่อกลับเพียงเล็กน้อย ตัวเหยื่อก็จะลงไปอยู่ในบริเวณที่นักตกปลาตั้งใจเอาไว้แล้ว ในขณะที่เหยื่อที่มีลิ้นแบนหรือองศามากจะต้องใช้ระยะในการลากเหยื่อกลับที่มากกว่า กว่าตัวเหยื่อจะดำลงไปยังบริเวณที่นักตกปลาตั้งใจเอาไว้ได้ ในบางกรณีอาจจะต้องใช้ระยะทางเกือบครึ่งของระยะทางทั้งหมดที่ส่งเหยื่อออกไปเลยทีเดียวนอกจากเรื่องของความยาวสั้นและองศาของลิ้นเหยื่อจะเป็นไปอย่างที่ผมได้ว่าไปแล้ว ยังมีเรื่องของความกว้างของลิ้นเหยื่อด้านหน้าไอ้ตัวนี้แหละ

สังเกตกันให้ดีๆ ว่ายิ่งแผ่ยิ่งกว้างออกไปมากเท่าไหร่ ยิ่งหลบหลีกอุปสรรคใต้น้ำอย่างพวกหินพวกตอไม้ได้ดีเป็นสัดเป็นส่วนกันไป ไอ้ลิ้นเหยื่อทีแผ่กว้างอยู่ด้านหน้าของตัวเหยื่อนี่แหละจะเป็นตัวคอยกันไม่ให้ตัวเหยื่อหรือตัวเบ็ดเข้าไปคล้องเข้ากับอุปสรรคใต้น้ำได้เป็นอย่างดี เมื่อท่านนักตกปลาลากเหยื่อผ่านบริเวณที่เป็นตอไม้หรือหินใต้น้ำ ไอ้เจ้าลิ้นที่กว้างของตัวเหยื่อนี่แหละจะกระแทกเข้ากับอุปสรรค์ใต้น้ำเหล่าน้ำก่อน และตัวเหยื่อก็จะกระเด็นออกห่างจากอุปสรรคใต้น้ำได้เองเท่านี้ก็หมดห่วง สำหรับหินหรือตอไม้ใต้น้ำ

ปัจจัยสุดท้ายสำหรับเรื่องของลิ้นเหยื่อก็คือลิ้นของเหยื่อปลั๊กนั้นๆ เป็นแบบใสๆ หรือมีสีส่วนแตกต่างไอ้ตรงนี้ก็ไม่มีอะไรมากแค่ปลาในน้ำจะเห็นเหยื่อที่มีลิ้นเป็นสีๆ มีขนาดใหญ่กว่าเหยื่อที่มีลิ้นใสๆ เท่านั้นเอง

 

B ที่ 2 = Body

หรือรูปร่างของตัวเหยื่อนั่นเอง รูปร่างของเหยื่อปลั๊กนั่นเองรูปร่างของเหยื่อปลั๊กนั้นแบ่งได้เป็นสองแบบด้วยกัน คือ แบบกลมและแบบแบนท่าจะไม่ต้องอธิบายกันมากนะว่าปลั๊กตัวกลมกับตัวแบนแตกต่างกันอย่างไร สำหรับเหยื่อปลั๊กที่มีรูปร่างด้านข้างแบนนั้นจะไม่ค่อยส่ายเท่าไหร่

เมื่อลากในน้ำยิ่งมีลิ้นที่แคบด้วยแล้วละก็จะไม่ค่อยส่ายมากเหยื่อปลั๊กที่มีด้านข้างแบนแต่หากมีลิ้นที่กว้างขึ้นมาอีกหน่อยก็จะทำให้ตัวเหยื่อส่ายไปมาในน้ำได้ดีขึ้นมาอีกนิด เหยื่อปลั๊กตัวแบนในลักษณะนี้นั้นเหมาะสำหรับปลาล่าเหยื่อทีไม่ค่อยตื่นตัวเท่าไหร่ อย่างในวันที่อากาศและน้ำเย็นที่ปลาล่าเหยื่อต่างๆ จะไม่ค่อยตื่นตัวกันมากนักปลาล่าเหยื่อ ในขณะที่ว่านี้จะชอบเหยื่อที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนไหวช้าๆ นั่นเอง

สำหรับลักษณะของเหยื่อปลั๊กในแบบต่อมาคือเหยื่อปลั๊กที่มีรูปร่ากลมเหยื่อปลั๊กในรูปร่างแบบนี้นี่ไม่ว่าจะลิ้นแคบลิ้นกว้างส่ายสะบัดช่อกันทุกตัว เหมาะอย่างยิ่งสำหรับในตะวันที่เหล่าบรรดาปลาล่าเหยื่อคึกกันมากๆ ไล่กัดลูกปลาให้เห็นเป็นระยะๆ ปลาล่าเหยื่อที่คึกมาก ๆ เหล่านี้จะชอบเหยื่อที่เคลื่อนที่ด้วยความรวดเร็ว ว่องไวมากกว่าเหยื่อที่เคลื่อนที่ช้าๆ นอกจากนี้เหยื่อปลั๊กที่มีรูปร่างกลมนั้นจะใช้ได้ผลดีในแหล่งน้ำที่มีการมองเห็นต่ำ ๆ อย่างในน้ำที่ออกสีโคลนๆ หรือสำหรับการตกปลาในเวลากลางคืน เนื่องจากรูปร่างที่อ้วนกลมของตัวเหยื่อประเภทนี้เองนั้นจะสร้างแรงสั่นสะเทือนได้ดีกว่าเหยื่อตัวแบนนั่นเอง

 

B ที่ 3 = Buoyancy

หรือการลอยตัวนั่นเองเนื่องจากว่าเหยื่อปลั๊กสมัยนี้นั้นทำมาจากวัสดุที่แตกต่างกันหลายอย่าง แรงลอยตัวหรือการลอยตัวก็แตกต่างกันไปตามแต่วัสดุที่นำมาใช้ทำเป็นตัวของเหยื่อนั่นเอง ในสายตานักตกปลาโดยส่วนใหญ่ความแตกต่างในแง่นี้ของตัวเหยื่อที่เราสนใจ ก็จะมีแต่แค่เพียงเจ้าตัวนี้นั้นเป็นเหยื่อจมหรือเหยื่อลอยหรือเป็นแบบชัสเพ้นในความเป็นจริงนั้นเหยื่อปลั๊กโดยส่วนใหญ่จะถูกผลิตขึ้นมาด้วยวัสดุหลักๆ สองอย่างด้วยกันคือ พลาสติกและไม้ สำหรับในเหยื่อทำจากพลาสติกนั้นจะมีน้ำหนักมากกว่าในเหยื่อที่มีรูปร่างและลักษณะที่เหมือนกัน จึงสามารถส่งเหยื่อไปได้ไกลกว่าดำได้ลึกกว่าและดำลงไปยังบริเวณที่ต้องการได้รวดเร็วกว่า

Advertisements
ผิดกับเหยื่อปลั๊กที่ทำจากไม้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม้บัลซ่าเหยื่อที่ทำจากไม้นั้นจะเบากว่ามีแรงลอยตัวมากกว่า และที่สำคัญซึ่งเป็นโจษขานและทำให้เหยื่อปลั๊กที่ทำจากไม้บัลซ่ายังคงไม่ถูกแทนที่ด้วยพลาสติกก็คือแอ็คชั่นที่ว่ากันว่าดีและเรียบลื่นกว่าเหยื่อที่ทำมาจากพลาสติกและตัวลอยตัวที่มีมากกว่าเหยื่อที่ทำจากพลาสติกการจำลองแอ็คชั่นของปลาบาดเจ็บที่จะลอยตัวขึ้นเมื่อกระแทกเข้ากับอะไรต่างๆ ใต้น้ำเหยื่อที่ทำจากไม้นั้นจะทำได้เนียนกว่าเหยื่อที่ทำจากพลาสติกมาก

มีความพยายามในลดข้อจำกัดของเหยื่อที่ทำจากไม้โดยการเปลี่ยนมาใช้ไม้ “ซีต้าร์” ในการทำเหยื่อแทนไม้บัลซ่า ผลที่ได้คือเหยื่อที่ทำจากไม้ชนิดนี้จะดำได้ลึกกว่าและลงไปยังความลึกที่ต้องการได้เร็วกว่าเหยื่อที่ทำจากไม้บัลซ่าได้เป็นอย่างดี แต่ยังคงรักษาข้อดีในแง่ของแรงลอยตัวเอาไว้ได้อย่างเหนียวแน่นไปพร้อมๆ กันด้วย มาในระยะหลังๆ เริ่มมีการนำเอาโฟมมาฉีดขึ้นเป็นตัวเหยื่อ โดยโฟมนั้นมีคุณสมบัติต่างๆ อยู่ระหว่างไม้ซีด้าร์และไม้บัลซ่า

แต่ข้อดีของโฟมที่เห็นได้เจนที่สุดก็ตรงความคงทนนี่แหละ เลยทำให้มาในระยะหลังๆ เหยื่อที่ทำจากโฟมจะได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่นักตกปลา เหล่าบรรดาผู้ผลิตที่ชอบ เราพทะง่ายกว่าเอาไม้มานั่นเหลาเป็นตัวเหยื่อราคาของเหยื่อประเภทนี้เลยไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับเหยื่อที่ทำจากไม้ทั่วๆ ไป

 

B ที่ 4 = Bottom

Advertisements

หรือก้นบ่อ ก้นสระ ตามแต่จะสะดวกเรียก ไอ้เจ้าบีตัวนี้ไม่มีอยู่ในตัวของเหยื่อปลอมหรอกนะ แต่เป็นคำที่แสดงออกถึงวิธีการใช้งานเหยื่อพวกนี้ อย่างที่ควรจะเป็นซึ่งเป็นอย่างไรนะหรือ คือย่างนี้ ตามคำแนะนำที่โปรหลายต่อหลายคนได้บอกกล่าวกันเอาไว้ คือให้เราเลือกใช้เหยื่อปลั๊กที่ลึกกว่าระดับน้ำจริงสักเล็กน้อย สมมุติว่าเราตกปลาอยู่ในบริเวณแหล่งน้ำที่เราพอจะคาดคะเนกันได้ว่ามีความลึกสักเท่าไหร่สมมุติว่าสักหกฟุตแล้วกัน หลักในการเลือกใช้เหยื่อก็คือหากน้ำลึกสักหกฟุต เราควรจะเลือกใช้เหยื่อที่ดำน้ำลึกสักเจ็ดหรือแปดฟุต

ที่ต้องเลือกเหยื่อที่ดำได้ลึกกว่าระดับน้ำจริงๆ นั้นก็เนื่องมาจากการใช้งานเหยื่อปลั๊กให้ได้ผลจริงๆ นั้นตัวเหยื่อจะต้องครูดมากับพื้นใต้ท้องน้ำหรือไอ้เจ้า Bottom นี้มากันเลยทีเดียวละ ลากให้ครูดมากับพื้นหากไปสะดุดหรือกระแทกเข้ากับอะไร ท่านว่าให้หยุดลากสายก่อนนิดหนึ่งเมื่อหยุดลากเหยื่อตัวเหยื่อจะค่อยๆ ลอยขึ้นเหมือนปลาบาดเจ็บที่ว่ายสะเปะสะปะไปตามพื้นใต้น้ำ เมื่อว่ายเข้าไปกระแทกกับอะไรเข้าก็หมดแรงลอยตัวขึ้นมาซึ่งจังหวะนี้แหละ ปลาล่าเหยื่อส่วนใหญ่โปรดปรานกันเป็นอย่างยิ่งประมาณว่าถ้ามีตัวส่วนใหญ่จะไม่ค่อยพลาดสักเท่าไหร่

อ่านเรื่องราวของ B ทั้งสี่จบไปก็ได้หลายๆ อย่างเหมือนกัน สำหรับผมกับความเดิมที่เคยมีมาสำหรับหยื่อปลั๊ก เหลือแต่ว่าว่างวันไหนก็ว่าจะชวนเครื่องแปลภาษาส่วนตัวของผมไปนั่งตกปลาเล่นกันสักวันเหมือน สำหรับท่านนักตกปลาทั้งหลายหากได้ลองอ่านแล้วก็ลองสังเกตๆ เหยื่อปลั๊กที่มีอยู่ของแต่ละท่านดูเอาก็แล้วกันนะว่าฝรั่งเขียนตำรามาหลอกเราหรือเปล่า สำหรับเรื่องนี้ก็ขอจบเพียงเท่านี้

อ่าน B’Freeze สีโดดโดนทุกตัว

สนใจชมร้านค้ากดได้เลย

Advertisements