1. Channa limbata หรือ ปลาก้าง, ปลากั้ง
ความเชื่อโบราณที่ว่า “ปลากั้งเป็นปลาที่ห้ามกินเด็ดขาด เพราะถ้ากินเข้าไปแล้วหัวจะสั่น” ทำให้คนไม่กล้าที่จะกินปลาชนิดนี้ แต่จริงๆ แล้วปลากั้งถือเป็นปลาที่มีเนื้อดีมาก เนื้อสีขาวสะอาด เนื้อนิ่ม รสชาติดี
ปลาก้าง (Red-tailed Snakehead) จัดว่าเป็นหนึ่งชนิดของปลาวงศ์นี้ที่มีขนาดเล็กที่สุด กล่าวคือ มีขนาดโตเต็มที่ได้ไม่เกิน 1 ฟุต เป็นปลาที่พบได้ทุกแหล่งน้ำของประเทศไทย แต่ในสมัยนี้เพิ่มพบได้ยากขึ้น ส่วนใหญ่จะอยู่ตามลำธาร ..กดเพื่ออ่านเพิ่มเติม
2. Channa striata หรือ ปลาช่อน (ช่อนนาบ้านเรา)
ปลาช่อน (ธรรมดาๆ บ้านเรา) ปลาช่อนชนิดนี้มีความพิเศษไปกว่าปลาช่อนชนิดอื่นๆ คือ สามารถแถกไถตัวคืบคลานไปบนบกเพื่อหาที่อยู่ใหม่ได้ รวมทั้งสามารถหลบอยู่ใต้ดินในฤดูฝนแล้งเพื่อรอฝนมาได้เป็นแรมเดือน โดยสะสมพลังงานและไขมันไว้ ที่เรียกว่า “ปลาช่อนจำศีล” พบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำทั่วประเทศไทย พบไปจนถึงเอเชียใต้, พม่า และอินโดนีเซีย ..กดเพื่ออ่านเพิ่มเติม
3. Channa Pleurophthalma ปลาช่อนจุดอินโด
ปลาช่อนจุดอินโด (Green spotted snakehead) มีรูปร่างเพรียวยาวในวัยอ่อน แต่เมื่อปลาโตขึ้นแล้วจะเปลี่ยนเป็นหัวแหลมแต่ส่วนลำตัวกลับป้อม คล้ายปลาชะโด ปลาขนาดเล็กจะมีลำตัวสีเขียว, สีน้ำเงินหรือแกมน้ำตาลในบางตัว ส่วนท้องสีขาว
4. Channa Marulioides ปลาช่อนข้าหลวง
ปลาช่อนข้าหลวง หรือ ปลาช่อนทอง (Emperor snakehead) มีลักษณะคล้ายปลาช่อนงูเห่า แต่ลำตัวสั้นป้อมกว่า ลำตัวสีเขียวอ่อน และมีลายสีเหลืองทองส้มสลับกับแต้มสีดำ ครีบมีจุดประสีเหลืองสด ท้องสีจาง ขนาดโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 90 เซนติเมตร ในประเทศไทยพบเฉพาะภาคใต้เท่านั้น ..กดเพื่ออ่านเพิ่มเติม
5. Channa micropeltes หรือ ปลาชะโด
ปลาชะโด (Giant Snakehead) จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ มันมีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1 เมตร หรืออาจถึง 1.5 เมตร น้ำหนักถึง 20 กิโลกรัม มันเป็นปลาเกมที่นักตกปลาไทยและทั่วโลกรู้จักกันดีว่ามันดุร้าย
6. Channa Bankanensis ปลาช่อนบานคาน
ปลาช่อนบานคาน หรือ ปลาช่อนบังกา (Bangka snakehead) เป็นปลาช่อนชนิดหนึ่ง มีลักษณะเหมือนปลากระสง แต่ส่วนหัวไม่เรียวแหลมเหมือนปลากระสง และรูปทรงลำตัวค่อนข้างจะกลมเป็นทรงกระบอกมากกว่า มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 23.5 เซนติเมตร
พบกระจายพันธุ์ในตอนใต้ของมาเลเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะกาลีมันตัน และเกาะบังกาในอินโดนีเซีย ในแหล่งน้ำในป่าพรุที่มีค่าพีเอช (pH) ไม่เกิน 4 เป็นปลาสวยงามที่หาได้ยาก ในไทยอาจเคยมีเข้ามาจำหน่ายไม่กี่ครั้ง โดยการเลี้ยงในตู้ปลาสามารถปรับค่าพีเอชของน้ำให้อยู่ที่ราว 5.5-6 ได้ สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในตู้กระจก เป็นปลาที่มีอุปนิสัยดุร้าย
7. Channa lucius ปลากะสง
ปลากะสง (Blotched snakehead) ปลากระสงยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น “ปลากระจน” ในภาษาอีสาน หรือ “ปลาช่อนไช” ในภาษาใต้ ถ้าน้าๆ อยากจะตกสามารถใช้วิธีตกแบบเดียวกับปลาช่อนได้ เพราะพวกมันมักจะอยู่แหล่งเดียวกัน แต่จำนวนของกะสงจะมีน้อยกว่า จึงเจอได้ยากกว่าเท่านั้นเอง ..กดเพื่ออ่านเพิ่มเติม
8. Channa Melasoma ปลาช่อนดำ
ปลาช่อนดำ (Black Snakehead) รูปร่างเหมือนปลาช่อน แต่ลำตัวผอมเพรียวกว่า หัวโต ตาสีดำ รูปร่างและสีของปลาช่อนดำ มันจะไม่ใช่สีดำทั้งหมดเหมือนชื่อ เพราะสีลำตัวค่อนข้างแปรปรวนตั้งแต่สีน้ำตาลซีดจนถึงน้ำตาลเข้มน้ำตาลอมเขียวหรือเกือบดำ
9 : Channa Cyanospilos *ปลาช่อนจุดน้ำเงิน?
Channa Cyanospilos (Bluespotted Snakehead) เติบโตได้สูงสุด 22 ซม. และเป็นปลาช่อนขนาดเล็กที่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับ Channa melasoma (ปลาช่อนดำ) มีรายงานว่าเป็นปลาที่ก้าวร้าว มักโจมตีปลาอื่น หายากในตู้ปลา พบได้ในเอเซีย (ข้อมูลน้อยมาก)
10. Channa Bleheri ปลาช่อนเจ็ดสี
ปลาช่อนเจ็ดสี หรือ ปลาช่อนสายรุ้ง (Rainbow snakehead) จัดเป็นปลาช่อนขนาดเล็กเช่นเดียวกับปลาก้าง ขนาดเมื่อโตเต็มที่มีขนาดไม่เกิน 20 เซนติเมตร แต่ได้ชื่อว่าเป็นปลาช่อนขนาดเล็กที่มีสีสันสวยงามมาก โดยมีหลากหลายสีในตัวเดียวกัน ทั้ง ขาว, น้ำเงิน, แดง, ส้ม สลับกันไปบนพื้นลำตัวสีน้ำตาล อีกทั้งครีบต่าง ๆ โดยเฉพาะครีบหูก็มีลวดลายเป็นริ้ว ๆ สีดำอีกด้วย
11. Channa Asiatica ปลาช่อนเอเชียติกา
ปลาช่อนเอเชียติกา หรือ ปลาช่อนสีจีนใต้ (Small snakehead, Chinese snakehead) มีความสวยงามมาก พบกระจายพันธุ์ในแถบตอนกลางและตอนใต้ของแม่น้ำแยงซี และแม่น้ำสวิ๋น ในมณฑลกวางสี และกวางตุ้ง ในประเทศจีน และยังพบในเกาะไหหลำไปจนถึงแม่น้ำแดงในประเทศเวียดนาม
ปลาช่อนเอเชียติกามีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 35 เซนติเมตร เป็นปลาช่อนอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมในฐานะของการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งเป็นปลาที่มีราคาแพงมาก โดยเฉพาะในปลาที่มีความหลากหลายทางสีสันที่มีจุดสีแดงขนาดใหญ่ ที่ใช้ชื่อว่า “Red Spot” ที่พบในหมู่เกาะซะคิชิมะ จังหวัดโอะกินะวะ ประเทศญี่ปุ่น
12. Channa Gachua ปลาก้างอินเดีย
ปลาก้างอินเดีย (Dwarf snakehea) มีรูปร่างและขนาดลำตัวคล้ายคลึงกับปลาก้าง แต่ทว่า ปลาก้างอินเดียนั้นจะมีลำตัวที่ป้อมสั้นกว่า มีจำนวนเกล็ดที่ใต้ขากรรไกรล่างทั้งสองข้างเกล็ดเดียว มีขอบใต้ดวงตาสีแดง และไม่มีครีบท้อง
สีสันบนลำตัวนั้นมีหลากหลายเช่นเดียวกับปลาก้าง มีการกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียใต้ โดยพบที่อินเดีย, รัฐอัสสัม, บังกลาเทศ, ปากีสถาน ไปจนถึงตอนใต้ของประเทศจีน ..กดเพื่ออ่านเพิ่มเติม
13. Channa Pulchra ปลาช่อนพัลชรา
ปลาช่อนพัลชรา หรือ ปลาช่อนพม่าจุดส้ม หรือ ปลาช่อนพม่าจุดแดง (Burmese peacock snakehead) เป็นปลาช่อนที่มีความสวยงามมากอีกชนิดหนึ่ง มีความยาวเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร พบในต้นน้ำของรัฐยะไข่ ประเทศพม่า
14. Channa Andrao ปลาช่อนแอนดริว
ปลาช่อนแอนดริว หรือ ปลาช่อนบลูอัสสัม ปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง เป็นปลาช่อนขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ประมาณ 15-20 เซนติเมตร พบแพร่กระจายพันธุ์เพียงเฉพาะบึงเลฟรากูรี่ ในเมืองจัลไพกูรี่ รัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย เท่านั้น
15. Channa Stewartii ปลาช่อนสจวร์ต
ปลาช่อนสจวร์ต (Stewart’s snakehead, Assamese snakehead, golden snakehead) เป็นปลาช่อนในกลุ่มปลาช่อนเล็กหรือปลาช่อนแคระ โตได้เต็มที่ประมาณ 25 เซนติเมตร
พบกระจายพันธุ์ในลุ่มน้ำพรหมบุตรในอินเดียและบังกลาเทศ, แถบตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัยในอินเดียและเนปาล และลุ่มน้ำที่มาจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเนปาล
16. Channa Marulius (ปลาช่อนงูเห่าอินเดีย)
คล้ายกับปลาช่อนงูเห่า (C. aurolineatus) ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่ปลาช่อนงูเห่าอินเดียมีรูปร่างที่อ้วนป้อมกว่า สีของลำตัวก็เข้มกว่า โดยจะออกไปทางสีน้ำตาลแดง มีจุดสีดำขนาดใหญ่เรียงตัวกันประมาณ 5 จุด ข้างลำตัว และมีจุดประสีขาวมากกว่า ส่วนท้องมีสีขาว และมีอุปนิสัยดุร้ายก้าวร้าวน้อยกว่า
มีถิ่นกำเนิดในอนุทวีปอินเดียและปัจจุบันเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นแถบรัฐฟลอริดาของสหรัฐอเมริกา เนื่องจากถูกนำเข้าไปเป็นปลาสำหรับเกมกีฬาตกปลา มีการขยายพันธุ์ด้วยการทำรังวางไข่ โดยพ่อแม่ปลาดูแลลูกปลาด้วยความดุร้าย ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 183 เซนติเมตร นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม นอกจากนี้แล้วปลาช่อนงูเห่าอินเดียที่พบในประเทศศรีลังกา และยังมีชนิดย่อยอีก
17. Channa aurolineatus ปลาช่อนงูเห่า
ปลาช่อนงูเห่า หรือ ปลาช่อนดอกจันทน์ (Great snakehead) ไม่จัดว่าเป็นปลาเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นปลาหายาก พบไม่บ่อยนักในธรรมชาติ มีลักษณะลำตัวค่อนข้างกลมยาว หัวมีขนาดเล็กกว่าปลาช่อนชนิดอื่น ๆ สีลำตัวจะเปลี่ยนไปตามวัยและสภาพแวดล้อม
ปกติพื้นลำตัวจะเป็นสีคล้ำเช่น น้ำตาลแกมเขียว หรือสีดำ เมื่อยังเป็นลูกปลาจะมีแถบสีส้มคาดตามความยาวจากหัวจรดโคนหาง โดยบริเวณโคนหางจะมีจุดสีดำล้อมรอบด้วยวงสีส้มสด แลดูคล้ายเครื่องหมายดอกจันทน์ เมื่อปลาเริ่มโตขึ้นจะมีแถบดำราว 5-6 แถบคาดขวางลำตัวส่วนที่อยู่ค่อนไปทางท้าย ใต้ท้องสีจาง ลำตัวด้านท้าย ครีบหลัง หาง และครีบท้องจะมีจุดสีตะกั่วเหลือบแวววาวกระจายอยู่ทั่ว
18. Channa Barca ปลาช่อนบาร์กา
ปลาช่อนบาร์กา (Barca snakehead) มีความยาวเต็มที่ประมาณ 90 เซนติเมตร เป็นปลาที่มีสีสันสวยงามมาก โดยมีสีเขียวและเหลืองประกอบกับจุดสีดำและแดงกระจายทั่วบริเวณส่วนหัว, ลำตัว และครีบ ส่วนหัวมีขนาดโตและปากกว้างมาก จนได้ชื่อว่าเป็นปลาช่อนที่มีความสวยงามที่สุดในโลก ..กดเพื่ออ่านเพิ่มเติม
19. Channa Ayrantimaculata ปลาช่อนออแรนติ
ปลาช่อนออแรนติ หรือ ปลาช่อนทองลายบั้ง หรือ ปลาช่อนเจ็ดสียักษ์ (Orange-spotted snakehead) มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาช่อนบาร์กา (C. barca) แต่มีส่วนหัวโตและแบนกว่า สีพื้นของลำตัวและหัวเป็นสีเหลืองทอง แต่เกล็ดทั้งส่วนหัวและลำตัวมีจุดสีน้ำตาลเข้มขนาดใหญ่เกือบเต็มเม็ด ยกเว้นบริเวณข้างลำตัวที่เป็นลายแถบแนวขวางไม่เป็นระเบียบหรือเป็นแต้มกลมขนาดใหญ่ มีสีเหลืองทองเรียงกันในแนวยาว ..กดเพื่ออ่านเพิ่มเติม
20. Channa Diplogramma ปลาชะโดอินเดีย
ปลาชะโดอินเดีย (Malabar snakehead) ปลาชะโดอินเดีย มีลักษณะคล้ายกับปลาชะโดไทย มันถูกเข้าใจมาตลอดว่าเป็นชนิดเดียวกับปลาชะโด ทำให้ชื่อนี้กลายเป็นชื่อพ้องของปลาชะโดมาโดยตลอด จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2011 ได้มีการศึกษาใหม่โดยนักมีนวิทยาในยุคปัจจุบัน พบว่าแท้จริงแล้วเป็นชนิดใหม่ จึงได้ประกาศให้เป็นชนิดใหม่มานับแต่นั้น
ปลาชะโดอินเดียมีลักษณะแตกต่างไปจากปลาชะโดอย่างมาก เช่น จำนวนก้านครีบ, เกล็ดข้างเส้นข้างลำตัว, จำนวนข้อกระดูกสันหลัง, ความยาวจากส่วนหัวไปยังทวาร และความลึกของลำตัว เป็นต้น รวมถึง รูปร่าง และสีสันลำตัวด้วย แต่โดยรวมแล้ว ปลาชะโดอินเดียจะมีลักษณะส่วนหัวและจะงอยปากด้านบนที่ลาดยาวกว่า เมื่อเทียบขนาดของส่วนหัวโดยวัดจากปลายปากไปยังช่องเปิดเหงือกเทียบกับความยาวลำตัวจะพบว่า ปลาชะโดอินเดียจะมีส่วนหัวยาวกว่าปลาชะโดเล็กน้อย และมีรูปร่างที่ป้อมสั้นกว่า ..กดเพื่ออ่านเพิ่มเติม
21. Channa Argus ปลาช่อนเหนือ
ปลาช่อนเหนือ หรือ ปลาช่อนอากัส หรือ ปลาช่อนจีนลายจุด (Northern snakehead) พบกระจายพันธุ์ในซีกโลกทางเหนือและเอเชียตะวันออก ในที่ ๆ มีอุณหภูมิหนาวเย็น เช่น รัสเซีย, คาบสมุทรเกาหลี และจีน มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 90 เซนติเมตร เป็นปลาทีมีอุปนิสัยดุร้าย กินอาหารไม่เลือก ปรับตัวให้เข้ากับถิ่นที่อยู่อาศัยได้เป็นอย่างดี ..กดเพื่ออ่านเพิ่มเติม
22. Channa Orientalis ปลาช่อนออเรียนตาลิส
ปลาช่อนออเรียนตาลิส หรือ ปลาช่อนศรีลังกา (อังกฤษ Ceylon snakehead) เป็นปลาช่อนขนาดเล็กจำพวกปลาช่อนแคระ หรือปลาก้างชนิดหนึ่ง
เป็นปลาที่มีลักษณะคล้ายกับปลาก้าง (C. limbata) ที่พบในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ หรือปลาก้างอินเดีย (C. gachua) ที่พบในอินเดีย โดยไม่มีครีบท้อง ลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาก้างที่พบในเอเชียอาคเนย์มาก