อีกเรื่องของการ ตกปลา ที่ผมเอามาต่อจาก “ทฤษฎีแสงและเหยื่อปลอม” มาถึงตอนนี้มาคุยกันต่อเรื่องที่เป็นเบสิกที่ผมคิดว่านัก ตกปลา ที่มีประสบการณ์น่าจะรู้กันอยู่แล้ว แต่ผมจะนำมาเสนอในรูปแบบของทฤษฎีสักหน่อย อาจจะช่วยให้นักตกปลารุ่นใหม่เห็นภาพกันบ้างนะครับ
หัวข้อของคอลัมน์น้ำ ที่ความสำคัญกับการ ตกปลา และคุ้มค่าที่จะเรียนรู้
1. ความสำคัญของคอลัมน์น้ำ
2. คอลัมน์น้ำทั้ง 3 ช่วง
3. มาดูช่วงผิวน้ำกันก่อน (Surface)
4. ช่วงกลางน้ำ (Middle)
5. ช่วงก้นบ่อ (ฺBOTTOM)
ก่อนอื่นต้องบอกว่าผมเหยื่อตัวอย่างที่จะอยู่ในเนื้อหาเป็นเพียงแนวทางเล็กๆ เท่านั้น น้าๆ สามารถดัดแปลง เลือกตามความชอบ อย่างเช่นเหยื่อแปลกๆ อย่าง KILLER COMPASS ก็กดดูได้ เพราะการตกปลาด้วยเหยื่อปลอมมันเป็นอะไรที่กว้างมาก ..ของที่เคยใช้ได้ผลมันอาจจะไม่ได้ผลในอีกวันนึง หรือในอีกชั่วโมงนึงด้วยซ้ำ ..ลืบบอกไปเรื่องนี้ใช้ได้กับหมายที่น้ำไม่ลึกมาก เช่นทะเลสาบ, บ่อ, บึง, แม่น้ำ ที่มีระดับน้ำประมาณ 2.5 เมตรขึ้นไป
1.ความสำคัญของคอลัมน์น้ำ
ก็เหมือนเลือกทำเลผิดคิดจนตัวตาย ตกปลา ในที่ๆ แต่กลับตกปลาไม่ได้เลย เพียงเพราะความสูงและต่ำผิด ..เหมือนกับไปตกปลาตามฟิชชิงปาร์ค นั่งมองน้าข้างๆ ตีกินๆ เหยื่อก็เป็นรำเหมือนกัน ผสมก็เหมือนกันทุกอย่าง ผูกเบ็ดแบบเดียวกัน แต่ของเราไม่กินเลยเพียงเพราะกำหนดความลึกผิดเท่านั้นเอง ฉะนั้นการเลือกความลึกที่เหมาะสม เพื่อเลือกเหยื่อก็จะช่วยลดอัตราการแห้วของน้าๆ ได้เช่นเดียวกัน
2.คอลัมน์น้ำทั้ง 3 ช่วง
ก่อนอื่นให้ “จินตนาการ” ก่อนเลยว่า “หมาย” ที่น้าตกอยู่ถูกแบ่งออกเป็น 3 คอลัมน์ นั้นก็คือ
- Surface หรือช่วงผิวน้ำลึกลงไป 3 ฟุต
- Middle หรือช่วงกลางน้ำ คิดเป็นเนื้อที่ทั้งหมด แต่ไม่ถึงผิวน้ำระดับ 3 ฟุต และไม่ถึงพื้นน้ำในระดับ 3 ฟุต
- Bottom จะเรียกว่าก้นบ่อเลยก็ได้ มีพื้นที่ขึ้นมา 3 ฟุต จากก้นบ่อ
3.มาดูช่วงผิวน้ำกัน (Surface)
ก่อนอื่นมาดูการ ตกปลา ด้วยเหยื่อปลอมในช่วงผิวน้ำกันก่อนเลยครับ สำหรับช่วง 3ฟุตแรกของระดับน้ำ ถ้าเป็นปลานักล่าอย่างพวกกระพง มักจะมาอยู่กันในช่วงอากาศดีๆ แดดไม่ร้อน หรือในช่วงเช้า กับเย็นที่แดดหมด และก็อย่างที่เห็นครับ หากจะตกปลาที่กัดช่วงผิวน้ำ มักจะได้ตัวง่ายหากเป็นมาตกตอนเข้ากับเย็น (น้าบางท่านเป็นมือผิวน้ำ เขาก็ตีผิวน้ำทั้งวันไม่สนใจอะไรก็มี)
เหยื่อที่แนะนำให้ใช้ผิวน้ำจะเป็นพวก Popper หรือพวกผิวน้ำอื่นๆ แม้แต่กบกระโดดก็นับด้วยนะครับ การเลือกใช้ถ้าเป็นไม้แรกผมว่าเหมือนวัดดวงเหมือนกันนะ เพราะถ้ามาตกครั้งแรกคนเดียวเราก็ไม่รู้หลอกว่าปลาแถวนี้มันชอบแบบเงียบหรือเสียงดัง เพราะบางที่ชอบเงียบๆ ถ้าเหยื่อเสียงดังๆ อย่างพวกติดใบพัด หรือพวกป๊อปเปอร์ปากใหญ่ๆ ถ้าปลามันไม่ชอบจนถึงกับกลัวมันหนีหายไปเลยก็มี ฉะนั้นลองเปิดตัวด้วยเสียงเบาๆ ก่อน เพราะถึงมันไม่ชอบอย่างมากก็แค่ไม่กัด คงไม่ถึงกับหนีไปง่ายๆ
4.ช่วงกลางน้ำ (Middle)
โดยส่วนตัวแล้ว ผมเป็นคนที่ชอบตกปลาอยู่ในระดับน้ำช่วงนี้ ประมาณว่ามาตกก็ต้องลองแนวนี้ก่อนเลย แต่ก็ต้องยอมรับว่าความมันส์สู้ผิวน้ำไม่ได้ โดยการตกปลาในระดับกลางน้ำ ผมว่าพวกปลานักล่าอย่างกระพงมันชอบมาอยู่กันด้วย ถ้าอากาศไม่ร้อนมากนะครับ เหยื่อที่ใช้ได้ดีก็พวก Crankbait, Lipless หรือจะเป็น Spinnerbait หรือไม่ก็จัดเหยื่อสามัญประจำกล่อง ปลายาง, กระดี่เหล็กแบบไทยๆ ที่เป็นเหยื่อเล่นได้หลายระดับน้ำ (ขึ้นอยู่กับประสบการณ์คนใช้)
ในการใช้พวกเหยื่อ Crankbait พวกมีลิ้นพวกนี้จะใช้ได้ง่ายหน่อย เพราะเหยื่อพวกนี้มักจะมีระดับความลึกสูงสุดที่ดำได้อยู่ด้วย แต่มันมีรายละเอียดปีกย่อยอีก เช่นมันเป็นเหยื่อที่หยุดเก็บสายแล้วลอยขึ้น หรือจะเรียกว่าเหยื่อแบบ Floating/Diving. Rattling ที่เก็บสายจะดำน้ำ พวกนี้จะมีวิธีเล่นที่ต่างจาก Crankbait แบบจมช้าๆ ลงไปเลย พอเก็บสายก็ลงลึกไปอีก เหยื่อพวกนี้จะดำลึกมากส่วนใหญ่จะดำได้ลึกเกิน 2 เมตร (ประมาณ 7 ฟุต)
เหยื่อ Lipless จะใช้ง่ายหน่อย เพราะมันเบาเมื่อเก็บสาย และมักจะเป็นเหยื่อแบบจมลงทันทีที่ตกลงไปในน้ำ น้าหลายท่านจะชอบเหยื่อแบบนี้ แต่การจะเล่นมันในระยะกลางน้ำหากเป็นนักตกปลาที่มีประสบการณ์ก็คงไม่เป็นปัญหาอะไร แต่ถ้าไม่ก็มักจะทำให้ Lipless ไปอยู่ก้นบ่อ การรักษาระดับความลึกให้อยู่ในช่วงเป้าหมายจะทำเพิ่มโอกาสในการกัดด้วย
ต่อไปมาดู Spinnerbait ดีกว่า เจ้าตัวนี้ถ้าเป็นบ่อโล่งๆ ไม่เลือกใช้แน่นอน (สำหรับผมนะ) แต่มันใช้ได้ดีจริงๆ กับหมายที่มีหญ้า อย่างเขื่อน ตีจากเรือเข้าตลิ่งอะไรประมาณนี้ ข้อดีของมันคือไม่ค่อยจะไปติดอะไรใต้น้ำ ใช้ได้ดีกับปลาชะโด และมันเป็นเป็นเหยื่อที่รักษาความลึกได้ดีด้วย รูปทรงของ Spinnerbait จะเป็นดังภาพนะครับ เป็นแบบใบสปินเดียวอันไม่ใหญ่ หรืออาจจะมีหลายใบแล้วแต่ผู้ผลิต
5.ช่วงก้นบ่อ (ฺBOTTOM)
สำหรับก้นบ่อ จะเป็นช่วง 3 ฟุต นับจากพื้นดินเลย แน่นอนว่ามันจะเต็มไปด้วยสิ่งที่เรียกว่าอุปสรรค์ใต้น้ำ ไม่ว่าจะเป็นตอหรือพืชก็ตาม ผมว่าการตกปลาก้นบ่อค่อนข้างใช้ฝีมือมากนะ เพราะต้องมีพลังจินตนาการค่อนข้างมาก ลากผ่านอะไรมา หิน, ต่อ.? หลุมอันนี้ก็เป็นตัวตัดสินเหมือนกัน เพราะปลามันชอบมาอยู่ในหลุมเหมือนกัน แม้แต่พื้นดินเป็นยังไง เป็นโคลนหรือ ดินแข็ง หรือเต็มไปด้วยซากไม้ สำหรับช่วงก้นบ่อจะมีปลาหลายประเภทชอบไปอยู่ อย่างพวกปลาช่อน, กระพงก็เยอะ แต่ก็อยู่ที่สภาพอากาศด้วย มีโอกาสสูงที่ปลาจะย้ายไปอยู่ก้นบ่อหากอากาศร้อนมาก หรือเย็นมาก
ความยากของการตกปลาในช่วงความลึกก้นบ่อคือ ปลามันชอบไปหลบตามตอซะด้วย เหยื่อที่ใช้จึงเป็นพวก พวกหนอนยาง, กบยาง หรือใช้วิธีการตกที่เรียกว่า Texas Rig ก็ได้ แต่ Texas Rig ไม่ค่อยเหมาะกับกระพง หรือหมายที่มีความลึกมากๆ แต่ถ้าลึกไม่มากก็ลองได้เลย มันส์แน่นอน ส่วนเหยื่อพวก Lipless, ปลายาง กระดี่เหล็กก็สามารถมาถึงช่วงความลึกนี้ได้ไม่ยาก แต่การเก็บสายจะต้องรู้ว่าหมายลึกแค่ไหน เพื่อจะได้ลากเหยื่อให้ลอย และปล่อยให้จมให้ถูกจังหวะ
สรุป
น้ำถือเป็นพื้นฐานสำคัญใรการตกปลา หากเข้าใจมันมากขึ้น ก็จะสามารถเลือกใช้ เหยื่อปลอม ที่ตรงกับหมายนั้นๆ ได้มากขึ้นเช่นกัน หากเลือกได้ตรง โอกาสสำเร็จก็จะมากขึ้นเช่นกัน เอาละขอลาไปก่อนเลยนะครับ ยังไงซะก็ขอให้คิดว่ามันเป็นแนวทาง เพราะสุดท้ายการตกปลาจะไม่มีอะไรตายตัวอยู่ดี เราต้องเรียนรู้อยู่เสมอ คงต้องไปลองและปรับให้เหมาะกับหมายและวันนั้นๆ ..ตกปลาให้สนุกนะครับ อ่าน ทฤษฎีแสงและเหยื่อปลอม เพิ่มเติมได้ครับ