เหยื่อสปินเนอร์ เหยื่อสุดเบสิคที่นักตกปลาต้องรู้

เรื่องนี้เป็นเรื่องสุดเบสิคของเหยื่อที่ใครๆ ก็รู้จัก ซึ่งก็คือเหยื่อจำพวกเหยื่อสปินเนอร์นั่นเอง แต่เชื่อว่าต้องมีเรื่องที่ไม่รู้กันหลายเรื่องอย่างแน่นอน แต่หากได้อ่านบทความตรงนี้ รับประกันได้เลยว่าจะทำให้เข้าใจในตัวเหยื่อมากขึ้น และจะทำให้ตกปลาได้สนุกขึ้นด้วย

เรื่องนี้เป็นเรื่องสุดเบสิคของเหยื่อที่ใครๆ ก็รู้จัก ซึ่งก็คือเหยื่อจำพวกเหยื่อสปินเนอร์นั่นเอง แต่เชื่อว่าต้องมีเรื่องที่ไม่รู้กันหลายเรื่องอย่างแน่นอน แต่หากได้อ่านบทความตรงนี้ รับประกันได้เลยว่าจะทำให้เข้าใจในตัวเหยื่อมากขึ้น และจะทำให้ตกปลาได้สนุกขึ้นด้วย ซึ่งผมจะพูดถึงทั้ง InLine, Spinnerbaits, Buzzbaits และ Livebait Spinners

ใช้เหยื่อสปินเนอร์ต้องรู้อะไรบ้าง ไปดูกันได้ที่

Advertisements

อะไรที่บอกความเป็นเหยื่อสปินเนอร์

พื้นฐานที่สุดก็คือ “Inline” หากนึกภาพไม่ออกว่าเหยื่อสปินเนอร์แบบ Inline เป็นยังไง ให้นึกถึงเหยื่อ “Mepps” นั่นละครับเหยื่อแบบ Inline โดยหลักการของเหยื่อแบบนี้จะประกอบด้วยลวดเป็นแกนกลาง ใบสปินติดอยู่ส่วนบน มีครื่องประดับเช่น ลูกปัด และตัวเบ็ด


แบบที่ 1

พื้นฐานที่สุดก็คือ “Inline” หากนึกภาพไม่ออกว่า Spinners แบบ Inline เป็นยังไง ให้นึกถึงเหยื่อ “Mepps” นั้นละครับเหยื่อแบบ Inline โดยหลักการของเหยื่อแบบนี้จะประกอบด้วยลวดเป็นแกนกลาง ใบสปินติดอยู่ส่วนบน เครื่องประดับเช่นลูกปัด และตัวเบ็ด และ Inline จะมีไม่มากที่จะติด 2 ใบสปิน


แบบที่ 2

“Spinnerbaits” เจ้าตัวนี้ผมก็ชอบใช้ มันถูกผลิตออกมาหลายเจ้า เป็นเหยื่อแบบดำน้ำ เหมือนกับแบบ Inline แต่ Spinnerbaits จะมีส่วนของใบสปินแยกออกจากส่วนของตัวเบ็ด

ลวดจะเป็นตัว V และตัวเบ็ดของ Spinnerbaits มักจะไม่ธรรมดา มันจะถูกทำให้เหมือนหัวจิ๊กที่ตกแต่งด้วยขนต่างๆ อย่างสวยงามหรือไม่ก็ติดเหยื่อยางเลย

แบบที่ 3

“Buzzbaits” ตัวนี้มีชื่อเสียงโด่งดังมาก เพราะชอบเอาไปตกปลาชะโดกัน มันเป็นเหยื่อที่ทำงานคล้ายๆ กับ Spinnerbaits เพียงแต่เจ้าตัวนี้เมื่อลากด้วยความเร็วในระดับที่พอเหมาะ มันจะเป็นเหยื่อผิวน้ำส่วนของใบสปินของ Buzzbaits จะเรียกว่าใบพัดได้อย่างเต็มปากครับ และมันเป็นเหยื่อที่ตีน้ำเสียงดังมากด้วย

Buzzbaits

แบบที่ 4

อันนี้บอกตรงๆ ไม่เคยใช้ เป็นแบบ “Live bait Spinners” มันคือส่วนประกอบระหว่างตัวเบ็ด แกนลวด และใบสปิน ที่มีเอาไว้ติดเหยื่อสดเข้าไป หรือไม่ก็อาจจะเป็นเหยื่อยาง


สไตล์ของใบสปินเนอร์

นี่แหละที่สำคัญ กับสไตล์ของใบสปินในแต่ละแบบของเหยื่อ Spinners ซึ่งมันเป็นหัวใจสำคัญของเหยื่อประเภทนี้เลยก็ว่าได้ รูปร่างของใบสปิน จะเป็นตัวกำหนดความลึกและเสียงสะท้อนใต้น้ำ

โดยใบสปินแต่ละแบบจะมีความต้านทานในขณะที่มันอยู่ใต้น้ำที่ต่างกันด้วย เช่นหากเป็นใบสปินแบบ Colorado จะหมุน ทำมุมออกไปมากจากแกนกลางเป็นต้น

จากภาพบนใบสปินแบบ Colorado จะหมุนได้เร็วที่สุดและสร้างแรงสั่นสะเทือนได้มากที่สุด ส่วน Indiana, Indiana Fluted, Turtle และ French จะทำงานในความลึกระดับกลาง ความเร็วในการหมุนจะช้าจนถึงกลางๆ

ส่วน Inline และ Willow ถือเป็นใบสปินที่ดำอยู่ในระดับความลึกมากที่สุด เพราะในสภาพที่หมุนอยู่จะไม่ค่อยส่งตัวเองให้ลอยขึ้นมา จึงเป็นใบที่นิยมใช้กับเหยื่อ Spinnerbait ข้อดีอีกอย่างของใบสปิน Inline และ Willow คือไม่ค่อยจะไปติดวัชพืชเท่าไรด้วย

ขนาดของใบสปินเนอร์

Advertisements

สำหรับขนาดของใบสปินจะมีการกำหนดค่ามาตรฐานเอาไว้แล้ว โดยจะใช้ตัวเลขเป็นตัวกำหนด (ถ้าเป็นเหยื่อมาตรฐานดีๆ จะมีตัวเลขติดไว้ที่ใบ)

เริ่มตั้งแต่ 0 หรือ 0/0 ซึ่งมีขนาดเล็กที่สุด ใช้สำหรับปลา Trout ขนาดเล็ก (ประมาณปลานิล) ส่วนเบอร์ 3 – 4 – 5 ใช้กับพวกปลา Bass หรือ Pike (ช่อน กระพง ไซส์ไม่ใหญ่) ส่วน 7 – 8 ใช้กับปลา Muskies ซึ่งมีขนาดใหญ่ (ประมาณชะโด)

นอกจากนี้ยังมีขนาดพิเศษเบอร์ 10 ที่ไม่ค่อยจะได้เห็นสักเท่าไร แน่นอนว่าใบใหญ่ขนาดนี้มันสามารถสร้างแรงสั่นสะเทือนได้มากจริงๆ

 

สีของใบสปินเนอร์

ถึงแม้ว่าช่วงหลังจะมีการผลิตใบสปินเนอร์ที่มีสีสันมากมายออกมา แต่สีที่ได้ความนิยมที่สุด ก็ยังคนเป็นสี Metallic, Silver, Gold และ Copper อยู่ดี ด้วยเหตุผลที่ว่าเมื่อมันหมุน มันจะมีแสงสะท้อนที่ดึงดูดปลานักล่าได้ดีที่สุดนั่นเอง แถมยังทำงานได้ดี แม้จะมีแสงน้อยหรือน้ำที่ไม่ใส

 

รายละเอียดอื่นๆของเหยื่อสปินเนอร์

มาดูรูปแบบของเหยื่อสปินเนอร์กันครับ บางแบบอาจจะไม่เคยเห็น หรือน้าบางท่านอาจจะเคยใช้ หรือมีเก็บสะสมอยู่ แต่โดยส่วยตัวผมมีแค่ Spinnerbaits กับ Buzzbaits เท่านั้นเอง

Inline

จากภาพตัวอย่างของสปินเนอร์แบบ Inline ทั้ง 3 จะเห็นว่าตัวบนใช้ใบแบบ French และตกแต่งตัวเบ็ดด้วยขนสีดำ  ตัวกลางเป็นใบ French แต่ตัวเบ็ดจะปล่อยให้ว่างเลย และตัวล่างสุดใช้ใบแบบ Willow ตัวเบ็ดติดปลายางเอาไว้ด้วย

 

Double Bladed Inline

แบบนี้ไม่เคยเห็นเลย มันก็สมชื่อเลยครับ ใช้ใบสปินเนอร์ 2 ใบ เพื่อสามารถมีแรงสั่นสะเทือนให้มากขึ้น และจากภาพใช้ใบแบบ Colorado พร้อมติดขนเต็มตัว (เอาไปตกกระพงขังน่าจะเข้าตา)

 

Flash Inline

ทำไมถึงเรียกว่า Flash คงเพราะเป็นเหยื่อที่ออกแบบมาให้สะท้อนแสงแวบๆ ได้มากเป็นพิเศษ ทั้งใบที่เป็นเงาและวัสดุตกแต่งที่เป็นเงาแวววาว

Magnum Double Blade Inline

เป็นชื่อเรียกเหยื่อสปินเนอร์แบบ Inline ที่มีขนาดโอเวอร์ไซส์ ซึ่งก็คือขนาดใบตั้งแต่ 9 – 13 มันเคยเป็นที่นิยมมาก ในการเอาไว้ตกปลาขนาดใหญ่

 

สรุป: จุดเด่นของเหยื่อสปินเนอร์

Advertisements

คือสามารถใช้ตกปลาในหมายที่มีวัชพืชได้ดี เพราะเหยื่อถูกออกแบบให้ทำงานในแนวตั้ง  คือใบอยู่บน เหยื่ออยู่ล่างขนานกันเลยทำให้มีตัวป้องกันการเกี่ยวกับวัชพืชไปในตัว

เหยื่อตัวนี้เป็นเหยื่อที่มักจะมีลูกเล่นที่ตัวเบ็ดเยอะมาก สำหรับเรื่องของ Spinners ซึ่งจริงๆ ยังขนาดเรื่องโครงสร้างทางเทคนิคอยู่บ้าง แต่คงไม่ค่อยจำเป็นเท่าไร ยังไงก็ตกปลาให้สนุกครับ

อยากเรียนรู็เรื่องการตกปลาให้มากขึ้นไปอ่านเพิ่มเติมกับเรื่อง เรียนรู้เรื่องรอกสปินนิ่งแบบง่ายๆ เพิ่มความเข้าใจก่อนออกไปตกปลา

Advertisements