จาระเม็ดน้ำจืด เข้าไทยมาได้ยังไง และตอนนี้พวกมันอยู่ที่ไหนเยอะสุด

ผมจำได้ว่าผมได้ตกปลาชนิดนี้ครั้งแรกที่ บึงสำราญ โดยในสมัยนั้นทางบึงได้นำปลาเปคู หรือที่กรมประมงตั้งชื่อให้ใหม่ว่า "จาระเม็ดน้ำจืด" แน่นอนว่าตอนนั้นใช้ขนมปัง รำ ตกมันได้ด้วยซ้ำ และยังจำได้ดีว่ามันฟันคมมาก เคยโดนกัดเลือดออกอีกต่างหาก ..ลองดูคลิปจากส่องโลกครับ

จาระเม็ดน้ำจืด

เปคู้ (ปาคู้) หรือ จาระเม็ดน้ำจืด

Advertisements

ปลาคู้ หรือ ปลาเปคู้ (โปรตุเกส: Pacu ปากู) หรือที่นิยมเรียกกันในเชิงการเกษตรว่า “ปลาจะละเม็ดน้ำจืด” เป็นชื่อสามัญที่เรียกปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่งในวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) ในวงศ์ย่อย Serrasalminae หรือวงศ์ย่อยของปลาปิรันยา หลังจากที่เปคู้ถูกนำมาเพาะพันธ์ุและจำหน่ายโดยกรมประมง เพราะคิดว่าจะสามารถนำมาเป็นอาหารได้ แต่แล้วเมื่อผ่านมาหลายปี ก็พบว่าเจ้าปลาชนิดนี้มันมีขนาดที่ใหญ่มาก

ปลาคู้ดำ (Colossoma macropomum)

ปลาคู้มีรูปร่างโดยรวมคล้ายกับปลาปิรันยาซึ่งอยู่ในวงศ์ย่อยเดียวกัน หากแต่อยู่ต่างสกุลกัน โดยปลาคู้นั้นจะมีรูปร่างที่ใหญ่โตกว่าปลาปิรันยามาก โดยอาจยาวได้ถึง 80-110 เซนติเมตร และอาจหนักได้เกือบ 40 กิโลกรัม

มีพฤติกรรมที่ต่างกัน คือ ปลาคู้จะกินได้ทั้งพืชและสัตว์ โดยบางครั้งอาจจะขึ้นไปบนผิวน้ำเพื่อรอกินผลไม้หรือลูกไม้ที่ร่วงหล่นจากต้นได้เลย ขณะที่ปลาปิรันยาจะกินแต่เนื้อเพียงอย่างเดียว

ปลาคู้แดง (Piaractus brachypomus)

เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาเศรษฐกิจในหลายส่วนของโลก รวมถึงในประเทศไทยด้วย เนื่องจากเป็นปลาที่โตได้เร็วมาก กินเก่ง กินอาหารได้ไม่เลือก อีกทั้งยังพบว่าเป็นปลาที่ช่วยในการกำจัดหอยเชอรี่อันเป็นศัตรูข้าวที่สำคัญได้อีกด้วย ประกอบกับเนื้อมีรสชาติอร่อยสามารถปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย อีกทั้งนิยมตกกันเป็นเกมกีฬาด้วย แต่ด้วยความแพร่หลายนี้ ทำให้กลายเป็นปัญหาของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในบางพื้นที่

การมาถึงของปลา

สำหรับในประเทศไทย ชนิดของปลาคู้ที่นำเข้ามาและนิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย คือ ปลาคู้แดง (Piaractus brachypomus) และปลาคู้ดำ (Colossoma macropomum) ซึ่งเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งทั้งสองชนิดนี้ยังนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามด้วย

ปลาคู้ แม้จะได้ชื่อว่าไม่เป็นปลาอันตรายต่อมนุษย์เท่ากับปลาปิรันยา แต่ที่ปาปัวนิวกินีและสหรัฐอเมริกา กลับมีปลาคู้ที่มีพฤติกรรมกัดอัณฑะของผู้ที่ตกปลาหรือลงไปว่ายน้ำในแม่น้ำถึงขั้นเสียชีวิตมาแล้ว

อีกสามารถเหตุหนึ่งที่เปคู้ กลายเป็นปลาเอเลี่ยน และไม่นิยมเลี้ยงเพื่อจำหน่าย หรือแม้แต่เพื่อเกมกีฬาตกปลา ก็เพราะว่า มันโตได้เร็ว ดุร้าย และยังกินอาหารได้ทุกชนิด กินได้ทั้งพืช และสัตว์ ผลไม้ ต้นไม้ ใบหญ้า มันก็สามารถกินได้ กับนักตกปลาที่ตีเหยื่อปลอม เจ้าเปคู้จะมีฉายาว่า “ตัวทำลายเหยื่อ” นั้นเพราะฟันที่คม และแข็งมากๆ ของมัน เหยื่อหลายตัวของผมเองก็พังเพราะมัน

“โดยเมื่อปี พ.ศ 2539 กรมประมงนำมาส่งเสริมให้เป็นปลาเศรษฐกิจชนิดใหม่ เพราะเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายโตเร็ว เมื่อนำไปปรุงอาหารรสชาติดี มีราคาสูง 300-400 บาท และพบว่าปลาชนิดนี้ไม่สามารถแพร่พันธุ์ได้ในแหล่งน้ำธรรมชาติได้ในประเทศไทย การเพาะขยายพันธุ์ต้องอาศัยเทคนิคการผสมเทียมเท่านั้น”

แต่อย่างว่า สิ่งที่กรมประมงบอกก็อาจไม่เป็นเช่นนั้น เพราะอย่างที่รู้กันตอนนี้เปคู้มีมากมายในแหล่งน้ำธรรมชาติ พวกมันทนทานและตัวใหญ่ แม้ในช่วงแรกจะนิยมแต่สุดท้ายคนไทยไม่นิยมกิน และสำหรับกีฬาตกปลา ดูเหมือนจะได้ไม่คุ้มเสีย จึงไม่นิยมเอาไปปล่อยในบ่อเช่นกัน

สำหรับ “ฟิชชิ่งเวิลด์” ซึ่งเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่มากๆ และอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองกรุงเทพ มันถูกสร้างให้เป็นบ่อตกปลาขนาดใหญ่ที่สุด ใหญ่กว่าบึงสำราญมาก ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็นช่วง 20 ปีก่อน ทางฟิชชิ่งเวิลด์ เริ่มรวบรวมพันธุ์ปลาจากเข้ามาไว้ในบ่อ

ในตอนนั้นเปคู้เพิ่งแพร่หลายในบ่อตกปลา หากใครได้ตกปลาในบึงสำราญในช่วงนั้น จะเริ่มตกได้เปคู้ ซึ่งผมเองก็เป็นหนึ่งในนั้น ทีแรกก็ดีใจที่ตกปลาแปลกๆ ได้ แต่ก็พบว่ามันเป็นปลาที่ฟันคม กัดสายขาด และหากเป็นเหยื่อปลอมมันก็กัดเหยื่อพังได้เช่นกัน เลยถูกเรียกว่าตัวทำลายเหยื่อด้วย .. หลังจากนั้นไม่นานบึงสำราญก็เริ่มเอาปลาเปคู้ออก และปลาทั้งหมดน่าจะถูกส่งไปที่ “ฟิชชิ่งเวิลด์”

ปัจจุบัน “ฟิชชิ่งเวิลด์” มีเปคู้ขนาดยักษ์ใหญ่นับแสนตัว มันเป็นถิ่นของปลาชนิดนี้จริงๆ (ตอนนี้ยังเปิดให้บริการอยู่ แต่จะเปิดเป็นรอบๆ ต้องรอทางบ่อประกาศ) ..ดูข้อมูลเพิ่มเติมจากคลิป

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements