ปลากระโห้ ‘ปลาไทย’ หนึ่งในปลาน้ำจืดใหญ่ที่สุดในโลก

พอบอกว่าใกล้สูญพันธุ์ น้าๆ หลายคนอาจจะเถียงออกมา เพราะอาจจะเคยเห็น หรืออาจจะเคยตกได้ แต่ต้องบอกว่าปลาชนิดนี้เหลืออยู่น้อยมากในแห่งน้ำธรรมชาติ ในขณะที่ตลาดปลาสวยงาม หรือตามฟิชชิ่งปาร์คยังถือว่าพบได้ง่าย แต่ยังไงซะเนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมประมงเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ขึ้นมาให้ มันเลยรอดจากการสูญพันธุ์ไปอย่างหวุดหวิด

แม้ปลาจะเป็นส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมไทยมาช้านาน แต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่ถาโถมเข้ามาจากทุกทิศทาง ทำให้ระยะห่างความสัมพันธ์ระหว่างปลา กับคนเริ่มเปลี่ยนไป จนบางครั้งเราอาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่าแต่ละจังหวัดนั้นมีปลาประจำจังหวัดเป็นของตัวเอง และแม้แต่กรุงเทพมหานครเองก็มีด้วยเช่นกัน นั่นคือ “ปลากะโห้”

ปลากระโห้ พี่ใหญ่สายพันธ์ปลาเกล็ดน้ำจืด

Advertisements

ปลากะโห้

ปลากระโห้ (Siamese giant carp) ซึ่งเป็นปลาเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Catlocarpio เป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดเกล็ดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอีกด้วย โดยเฉลี่ยมักมีขนาดประมาณ 1.5 เมตร แต่พบใหญ่สุดได้ถึง 3 เมตร หนักได้ถึง 150 กิโลกรัม

จัดเป็นปลาน้ำจืดไทยขนาดใหญ่ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมประมงเพาะพันธุ์ปลาที่อยู่ในลำน้ำดั้งเดิมเพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟู จนผสมเทียมได้สำเร็จบริเวณเขื่อนชัยนาท แต่ก็ยังขาดแคลนพ่อแม่พันธุ์ จึงทรงมีพระบรมราชานุญาต ให้กรมประมงทดลองใช้ปลากระโห้ในสระพระตำหนักจิตรลดารโหฐานมาเพาะพันธุ์ และประสบความสำเร็จใน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ปลากระโห้ให้กรมประมง

ในอดีต ปลากะโห้พบเฉพาะในแม่น้ำสายใหญ่ ตั้งแต่แม่น้ำแม่กลองถึงแม่น้ำโขง โดยเฉพาะในแม่น้ำเจ้าพระยาในแถบที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทยในหลายจังหวัด และยังพบได้บ้างที่แม่น้ำป่าสัก ในต่างประเทศพบได้ที่ลาว, กัมพูชา และเวียดนาม แต่ปัจจุบันลดจำนวนลงไปมากเรื่องจากปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมและการถูกจับเป็นจำนวนมาก จัดอยู่ในสถานภาพเป็นปลาใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่ง

การแพร่กระจาย และแหล่งอาศัย

ปลากระโห้พบมากในแม่น้ำหรือแหล่งน้ำต่างๆของภาคกลาง ทั้งแม่น้ำสายหลัก บ่อน้ำธรรมชาติ และคูคลองส่งน้ำ โดยปัจจุบัน พบปลากระโห้มากในแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่จังหวัดอยุธยา ขึ้นไปถึงจังหวัดอ่างทอง สิงห์บุรี และเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท ส่วนบริเวณที่พบปลากระโห้ขนาดใหญ่ และชุกชุมจะเรียกว่า วัง มักเป็นบริเวณน้ำลึก และมีโขดหินหรือตอไม้ใต้ท้องน้ำ ได้แก่

  1. บริเวณ ต.บ้านแป้ง อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี
  2. บริเวณ ต.บ้านไร่ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี
  3. บริเวณ ต.วัดเสือข้าม อ.อินทบุรี จ.สิงห์บุรี
  4. บริเวณ ต.บ้านตลุก อ.สรรพยา จ.ชัยนาท

ปลากระโห้วัยอ่อนหรือลูกปลากระโห้ขนาดเล็กจะชอบอาศัยตามบริเวณน้ำตื้น เช่น พื้นที่ลุ่มน้ำท่วมถึง นาข้าว ริมตลิ่ง ริมขอบบ่อ เป็นต้น โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบลูกปลากระโห้มากที่สุด หลังจากเข้าหน้าหนาวหรือหน้าแล้งที่น้ำลด ลูกปลาหรือปลารุ่นจะลงตามน้ำเข้าอาศัยในแม่น้ำหรือหนองน้ำลึก ส่วนปลากระโห้ตัวเต็มวัยหรือขนาดใหญ่ส่วนมากจะพบอาศัยเฉพาะในแหล่งน้ำลึกตามแม่น้ำหรือบ่อน้ำลึกต่างๆ

การผสมพันธุ์ และวางไข่

ในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน ปริมาณน้ำในแม่น้ำจะสูงมากขึ้น ปลากระโห้พ่อแม่พันธุ์จะว่ายอออกจากวังทวนน้ำขึ้นไปใกล้กับต้นน้ำบริเวณใกล้เขื่อนเจ้าพระยาเพื่อจับคู่ และวางไข่ ซึ่งช่วงนี้มักพบชาวประมงเข้าจับปลาจำนวนมาก และมักจับได้ปลากระโห้ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นพ่อแม่พันธุ์ปลา

ปลากระโห้ในฤดูวางไข่จะสังเกตได้ ดังนี้

Advertisements
  1. ขนาดลำตัว ปลาตัวผู้จะเล็กกว่าตัวเมีย
  2. รูปร่างลำตัว ปลาตัวผู้จะเรียวยาวกว่าปลาตัวเมีย โดยปลาตัวเมียจะป้อม สั้น
  3. ด้านหลัง หากมองด้านบนหลังปลา ปลาตัวผู้จะไม่เป่งข้าง ส่วนปลาตัวเมียจะท้องอูม เป่งออกข้าง
  4. ด้านข้าง เมื่อมองด้านข้าง ปลาตัวผู้จะมองเห็นสันหลังเป็นสัน ปลาตัวเมียจะมีสันหลังแบน
  5. เมื่อสัมผัสบริเวณท้อง ท้องปลาตัวเมียจะนุ่มกว่าตัวผู้
  6. ช่องเพศ ปลาตัวเมียจะมีช่องเพศเป็นรูปไข่ บวม และนูน รูเปิดกว้าง และมีสีแดงอมชมพู ส่วนช่องเพศปลาตัวผู้จะกลม และเล็ก
  7. ปลาตัวผู้จะมีสีคล้ำมากกว่า

ไข่ปลากระโห้ เป็นไข่ประเภทครึ่งจมครึ่งลอยคล้ายกับไข่ปลาตะเพียน

แต่มีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย ขณะยังไม่สัมผัสน้ำประมาณ 1.4-1.5 มิลลิเมตร หลังจากสัมผัสน้ำแล้ว เปลือกไข่จะขยายตัว มีขนาดเพิ่มเป็นประมาณ 3-4 เท่า โดยมีระยะการพัฒนาไข่ ดังนี้

  1. ไข่มีลักษณะเบี้ยว ไม่กลม สีของเม็ดไข่ทึบ ผิวไข่ไม่เป็นมัน มีสีขาวออกเหลือง จัดเป็นไข่อ่อน ลักษณะเบี้ยวเกิดจากการอัดตัวของไข่ในเต้าไข่
  2. ไข่มีลักษณะค่อนข้างกลม ไม่มีเยื่อติดหรือมีน้อย ผิวไข่โปร่งใส ไม่เป็นมัน มีสีเหลืองเข้ม จัดเป็นไข่เริ่มแก่ สามารถฉีดฮอร์โมนเร่งเพิ่มผสมน้ำเชื้อได้
  3. ไข่มีลักษณะกลม ไม่มีเยื่อติด ผิวไข่โปร่งใส ผิวไข่เป็นมัน มีสีเหลืองเข้ม จัดเป็นไข่แก่ พร้อมฉีดฮอร์โมน สมารถผสมกับน้ำเชื้อได้ดี เปอร์เซ็นต์การฟักตัวสูง
  4. ไข่มีลักษณะกลม แต่ไม่สม่ำเสมอ ผิวไข่โปร่งใส ผิวไข่เป็นมัน เปลือกไข่เริ่มแตก มีสีน้ำตาลอมเขียว จัดเป็นไข่แก่จัด ไม่เหมาะสมกับการผสมน้ำเชื้อ หากผสมกับน้ำเชื้อ ไข่จะไม่ฟัก หรือหากฟักจะฟักน้อย และอัตราการรอดต่ำ

ซึ่งปลากระโห้ที่พบได้ทุกวันนี้ส่วนใหญ่เป็นปลาที่เกิดจากการเพาะพันธุ์ และผสมเทียมในที่เลี้ยงของกรมประมง ก่อนจะนำไปปล่อยในแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งในแต่ละปีละมีปลากว่า 200,000-1,000,000 ตัวถูกปล่อยลงในแหล่งน้ำต่างๆ แต่ทว่าโอกาสที่ลูกปลาเหล่านี้จะเติบโตจนเต็มวัยในธรรมชาติก็มีโอกาสน้อยมาก

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
แหล่งที่มาpasusat.com