ปลาช่อน ‘มาคูลาต้า’ คืออะไร? การไฮบริดของปลาช่อน 2 ชนิด

ในปัจจุบันปลาช่อนหลายชนิดนั้นเป็นปลาเลี้ยงสวยงาม อย่างเช่นปลากระสง ปลาช่อนเผือก ปลาช่อนงูเห่า และปลาช่อนข้าหลวง แม้แต่ปลากั้ง หลายชนิดนั้นมีราคาสูงมาก อย่างเช่นปลาช่อนข้าหลวงอินโดนิเซียบางตัวที่ราคาหลักหมื่น และวันนี้เราจะมาแนะนำให้รู้จักกับปลาช่อนสวยงามอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งในไทยไม่ได้พบบ่อยๆ ปลาช่อนมาคูลาต้า (Channa maculata)

ปลาช่อนมาคูลาต้า

มาคูลาต้า คล้ายปลาช่อนเหนือ แต่ขนาดเล็กและใจดีกว่า

Advertisements

ปลาช่อนมาคูลาต้า นั้นจัดเป็นปลาช่อนที่มีขนาดกลาง ขนาดทั่วไปจะยาวประมาณ 20-30 ซ.ม. รูปร่างของมันคล้ายคลึงกับญาติตัวใหญ่ของมันคือปลาช่อนเหนือ หรือ ปลาช่อนอากัส ที่มีขนาดใหญ่และก้าวร้าวกว่ามาก โดยจุดแตกต่างนอกจากขนาดแล้ว คือ มาคูลาต้าจะมีทรงที่ป้อมกว่าและลายมันจะสว่างกว่า โดยใหญ่สุดที่พบมาความยาว 33 – 35 ซ.ม. หรืออาจจะมีใหญ่กว่านี้

ปลาช่อน

ปลาช่อนท้องถิ่นของจีน

มาคูลาต้าเป็นปลาท้องถิ่นของประเทศจีน แต่ก็ยังพบได้ในเกาหลี เวียดนาม ไต้หวัน และยังเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ที่ หมู่เกาะฮาวายของสหรัฐ โดยได้เข้าไปตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 จนแทบจะเป็นปลาท้องถิ่นไปแล้ว

มันเป็นปลาที่ชอบน้ำเย็น อุณหภูมิที่เหมาะสมกับพวกมันคือประมาณ 25-28 องศา และยังสามารถอยู่ในแหล่งน้ำที่มีออกซิเจนน้อยได้เหมือนปลาช่อนชนิดอื่นที่สามารถหายใจได้โดยการฮุบอากาศ

ภาพนี่คือปลาช่อนเหนือ (Channa argus)

จัดเป็นปลาช่อนสวยงามชนิดหนึ่ง ในไทยเพิ่งเริ่มเข้ามาเผยแพร่เมื่อปีที่แล้ว ในส่วนการเลี้ยงนั้นตู้ที่เลี้ยงควรมีขนาด 24 นิ้วขึ้นไป โดยเหมาะสุดคือ 36 นิ้วเผื่อไว้สำหรับปลาที่โตแล้ว

จากการทดลองเลี้ยงในไทย

อุณหภูมิสำหรับมันจากที่ผู้เขียนเลี้ยงมา 2 เดือน บางช่วงอุณหภูมิพุ่งไป 33 องศา มันก็อยู่ได้แต่ ยังไงมันชอบอากาศเย็นๆ มากกว่า อย่างช่วงตอนเดือนธันวาคม – มกราคม ที่ผ่านมา วันที่อุณหภูมิต่ำๆ บางวันช่วงกลางคืน – เช้ามืดตกลงไปถึง 17-18 องศา ปลาอื่นในตู้เช่นปลากระดี่หม้อและปลาหมูอินโดเพื่อนร่วมตู้ หงอยกัน แต่มาคูลาต้าของผู้เขียนนี่คึกมาก

ภาพนี่คือปลาช่อนมาคูลาต้า (Channa maculata)

อาหารสามารถให้ได้ทั้งอาหารสดหรือฝึกอาหารเม็ดได้ ของผมต้องขอบคุณทางร้านที่ฝึกให้มันกินอาหารเม็ดมาก่อนแล้ว แต่ควรสลับอาหารสดให้กินอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง

ส่วนการเลี้ยงร่วมกับปลาอื่นนั้นต้องเป็นปลาที่มีขนาดพอๆกับมันหรือไม่เล็กกว่ามัน ในการเลี้ยงร่วมกับปลาช่อนอื่นนั้นไม่แนะนำเพราะต่างชนิดกันมีโอกาสกัดกันสูงมาก แม้แต่ชนิดเดียวกันถ้าไม่ได้เลี้ยงมาด้วยกันตั้งแต่เด็ก

ช่อนมาคูลาต้า กับปลาช่อนเหนือ ผสมกันได้หรือไม่?

Advertisements

เรื่องนี้มีรายงานอยู่ในเว็บไซต์ sciencedirect ได้สร้างลูกผสมระหว่าง Channa argus (NS) (ช่อนเหนือ เพศเมีย) และ Channa maculata (BS) (ช่อนมาคูลาต้าเพศผู้) จนได้รับปลาช่อนชนิดใหม่ และตั้งชื่อให้ว่า NBS hybrid (NBS)

ลักษณะของ NBS มีลักษณะคล้ายพ่อแม่ตัวผู้ (BS) ในแถบลำตัวและรูปร่างรวมทั้งสีมีลักษณะที่ดี และปลาช่อน NBS เลี้ยงได้ง่ายขึ้นมาก ผู้เลี้ยงสามารถฝึกมันให้กินอาหารเม็ดได้ง่ายกว่าสายพันธุ์เดิม แต่ถึงอย่างงั้นก็ยังเป็นปลาที่ชอบน้ำเย็นอยู่ดี

จากข้อมูลนี้จะเห็นว่าลูกผสม NBS ทั้งยาวกว่า หนักกว่า สายพันธุ์ดังเดิมซะอีก
Advertisements

และนี่คือเรื่องราวของปลาช่อนมาคูลาต้าจากแดนเหนือ สำหรับใครที่สนใจอยากเลี้ยงต้องลองดูเป็นช่วงๆครับ เพราะปลาชนิดนี้ยังเพิ่งเข้ามาใหม่ๆไม่นาน หวังว่าจะมีความสุขกับการเลี้ยงปลาช่อนนะครับ

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements