เหยื่อผิวน้ำไทย ทำไมจึงเหมือนกัน

เมื่อสมัย 20-30 กว่าปีก่อน เหยื่อปลอมเกือบ 100% จัดเป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ จนในที่สุดก็มีคนไทยคิดทำเหยื่อปลอมขึ้นมาขายเอง แรกเริ่มอาจทำเพื่อใช้เอง จนในที่สุดก็ทำขายเอง จนอย่างที่เห็นตอนนี้ มีผู้ผลิตเหยื่อปลอมนับพันที่เป็นคนไทย เกือบทั้งหมดทำเหยื่อผิวน้ำ ทั้งเหยื่อใบพัด กบกระโดดทรงต่างๆ แต่ทำไมมันเหมือนกัน มาดูกันครับ

เมื่อสมัย 20-30 กว่าปีก่อน เหยื่อปลอมเกือบ 100% จัดเป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ จนในที่สุดก็มีคนไทยคิดทำเหยื่อปลอมขึ้นมาขายเอง แรกเริ่มอาจทำเพื่อใช้เอง จนในที่สุดก็ทำขายเอง จนอย่างที่เห็นตอนนี้ มีผู้ผลิตเหยื่อปลอมนับพันที่เป็นคนไทย เกือบทั้งหมดทำเหยื่อผิวน้ำ ทั้งเหยื่อใบพัด กบกระโดดทรงต่างๆ แต่ทำไมมันเหมือนกัน มาดูกันครับ

เมื่อคนไทยเริ่มทำเหยื่อปลอมใช้เอง

Advertisements

จะเป็นด้วยสาเหตุอันใดก็ไม่ทราบได้ ที่จู่ๆ ก็มีผู้ผลิตเหยื่อผิวน้ำตกปลาช่อน ชะโด ออกมาวางขายกันมากจนแทบจะเรียกว่าเป็นยุคที่มีคนไทยทำเหยื่อปลอมออกมาวางขายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของการตกปลาในประเทศไทย ซึ่งเป็นเรื่องดีน่าส่งเสริมและสนับสนุนยิ่งเพราะในอดีตนั้นเหยื่อปลอมตกปลาประเทศไทยต้องนำเข้าเกือบ 100%

จนกระทั่งเมื่อสัก 20 กว่าปีก่อนเริ่มมีผู้ผลิตสปูนและสปินเนอร์เมดอินไทยแลนด์ออกมาขายส่วนเหยื่อปลอมยอดนิยมอย่างเหยื่อปลั๊กหรือปลาปลอมก็มีทำกันบ้าง แต่ไม่ได้รับการตอบรับจากนักตกปลา ซึ่งน่าจะมาจากเหยื่อปลั๊กคนไทยขาดคุณภาพ การประกอบลิ้นของเหยื่อทำได้ไม่ดี ทำให้เหยื่อว่ายแถบางแฉลบบ้าง การถ่วงน้ำหนักก็สู้ต้นแบบไม่ได้

วันหนึ่งเมื่อเหยื่อใบพัดเริ่มเข้ามาเป็นเหยื่อปลอมตัวเลือกอันดับต้นๆ จากเหยื่อปลอมติดใบพัดตัวใหญ่ๆ ที่ใช้ตกปลาชะโดก็ค่อยๆ ย่อส่วนเล็กลงๆ จนกลายเป็นเหยื่อตกปลาช่อน จากรูปปลาที่เหมือนปลั๊กก็ถูกลดสกัดตัดทอนมาเป็นเหยื่อที่มีรูปร่างเหมือนเรือท้องโย้ เหมือนกับเขียด และแลดูเป็นเหยื่อปลอมผิวน้ำที่รูปร่างหน้าตาไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อไหนก็ดูคล้ายๆ กันเหมือนๆ กันในที่สุด

เคยช่วยกันทำ จากนั้นก็แยกไปทำเอง

มีผู้รู้ท่านหนึ่งผู้ซึ่งเคยคลุกคลีอยู่กับคนทำเหยื่อปลอมผิวน้ำมาก่อน กรุณาตอบคำถามข้างกองไฟว่าทำไมเหยื่อผิวน้ำที่ทำขายออกมาเหลายยี่ห้อ รูปร่างหน้าตาต้องเหมือนๆ กัน เหตุผลประการแรกเขาเล่าว่าแรกเริ่มเดิมทีกำเนิดเหยื่อปลอมก็เหมือนคณะตลก คือมีหัวหน้าทีมและมีลูกทีม บางทีก็มีเพื่อนร่วมทีม ซึ่งเดิมอาจจะเป็นกลุ่มตกปลาด้วยกัน พอมีการทำเหยื่อปลอมออกมาลองใช้ก็ใช้กันในกลุ่ม

อาจจะมีบางคนในกลุ่มไปช่วยเป็นลูกมือทำเหยื่อ ทำไปทำมาพอขายดีก็มีคนอยากทำเหยื่อของตัวเองบ้าง ทำเล่นๆ พอมีคนขอซื้อเลยทำขาย ก็เลยตามน้ำทำขายจริงจัง พอดังก็เลยแยกวง ตั้งชื่อเหยื่อเสียใหม่อาจจะคล้ายกัน ฟ้องกันหรือมีคำลงท้ายเหมือนกัน อาจจะมีการดัดแปลงแต่งโน่นเพิ่มนี่หรือทำสีให้เพี้ยนจากเดิมหน่อย

จากเหยื่อตัวยาวรีก็ให้สั้นป้อม หน้าสั้นก็ทำให้ยาว รูปร่างเหยื่ออาจจะเปลี่ยนไปแต่แนวคิดหลักโครงสร้างหลักยังอยู่ ต่อมาเมื่อกระแสกบกระโดดดังขึ้น เหยื่อสารพัดยี่ห้อก็ปรับย้ายตำแหน่งห่วงมาฝังใต้คาง ทำไปทำมาเหยื่อผิวน้ำชุดหลังๆ ที่ไม่มีใบพัดประกอบ มักจะมีห่วงอยู่ใต้คางเป็นมาตรฐานใหม่ สีสันก็คล้ายกัน

แนวคิดใหม่ๆ ดังกล่าวน่าจะจุดประกายให้นักทำเหยื่อปลอมมือใหม่เกิดความคิดที่จะค้นหาเทคนิคและกรรมวิธีใหม่ๆ เพื่อพัฒนาเหยื่อปลอมมากกว่าที่จะก๊อปปี้จากแบบที่มีอยู่ แต่การเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลสะเทือนต่อการผลิตเหยื่อปลอมผิวน้ำแบบเดิมๆ ที่อาศัยการเหลาไม้ด้วยมือทีละตัวก็เกิดขึ้นเมื่อผู้ผลิตเริ่มทำให้เป็นอุตสาหกรรมด้วยการนำโฟมมาฉีดขึ้นรูปเหยื่อผิวน้ำจากที่ทำเมือทีละตัวกลายเป็นทีละพันทีละหมื่นๆ ตัว

การผลิตที่เป็นแมสส์โปรดักส์เช่นในยุคคลื่นลูกที่สอง ทำให้คนทำเหยื่อปลอมที่เหลาไม้ด้วยมือทีละตัวต้องหันมาทบทวนกระบวนการผลิตเสียใหม่และที่สุดก็จะมีผู้ผลิตเหยื่อปลอมบางรายดิ้นรนเพื่อที่จะเดินไปตามกลไกการแข่งขันโดยเลือกที่จะผลิตให้ได้ปริมาณมากๆ แต่ก็จะมีนักทำเหยื่อปลอมบางรายยังปักหลักอยู่กับการเหลาอมทำสีด้วยมือทีละตัว

ฟู่ยาง ซิลิโคน ติดกันแทบทุกเจ้า

สิ่งที่เหมือนกันอีกอย่างของเหยื่อผิวน้ำเมืองไทยก็คือ การนำพู่ยางหรือพู่ซิลิโคนมาพันกับส่วนท้ายของเหยื่อผิวน้ำ ไม่ทราบว่าใครเป็นคนคิดคนแรก แต่ปัจจุบันนี้การติดตั้งพู่ยางกับเหยื่อผิวน้ำได้กลายเป็นมาตรฐานใหม่ที่เหยื่อผิวน้ำทุกตัวต้องมี ทั้งๆ ที่ในธรรมชาติไม่มีกบ เขียด ลูกอ๊อดหรือปลาเหยื่อตัวไหนในโลกใบนี้มีขนหรือพู่ประกอบ

เหยื่อปลอมผิวน้ำสายหลักของต่างประเทศส่วนใหญ่จะนำขนกวางมาผูกเป็นพู่ ต่อมาระยะหลังมีการนำพู่ที่เป็นวัสดุสังเคราะห์ ในลักษณะขนหรือแถบเหลือบแสงเส้นเล็กมาใช้ทดแทนขนกวาง เหยื่อผิวน้ำของฝรั่งที่ใช้พู่ยาง (แต่ไม่มัดแบบของเรา) ส่วนใหญ่เป็นเหยื่อปลอมรุ่นเก่าที่มีอายุระหว่าง 40-70 ปีขึ้นไป เช่น เหยื่อฮูล่า ป๊อปเปอร์ ที่ออกแบบเหยื่อหัวคอดปากอ้ากว้างเว้าเข้า หรือเหยื่อจิ๊ทเทอร์บัคของผู้ผลิตรายเดียวกันคืออาร์โลกาล์ต ที่ทำเหยื่อติดพู่ยางมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2481 โน่น!!

เมื่อใบพัดได้รับความนิยมน้อยลง

Advertisements

สิ่งที่น่าประหลาดใจอีกอย่างก็คือ ใบพัดที่อยู่คู่กับเหยื่อผิวน้ำมาตั้งแต่ต้น เริ่มจะเสื่อมความนิยมลง นัยว่าเสียงใบพัดที่ดังไปทั่ว ใหม่ๆ อาจกระตุ้นให้ปลาชะโดว่ายมาไล่กัน แต่พอใครๆ ก็ลากใบพัด จนกระทั่งวันหนึ่งเสียงใบพัดกลายเป็นเรื่องน่ารำคาญหูของบรรดาปลาล่าเหยื่ออย่างเช่น ชะโด (ที่เริ่มเบื่อกับเสียงใบพัด) นักทำเหยื่อปลอมไทยก็รู้ปัญหานี้ดี ระยะหลังๆ เหยื่อปลอมผิวน้ำจึงเริ่มถอดใบถัดออกคาดว่าอีกไม่นานเสียงบพัดก็น่าจะดังให้ได้ยินน้อยลง แต่ก็ยังมีบางหมายที่ใช้เหยื่อใบพัดได้ผลดี

ถ้าให้สรุปง่ายๆ ก็คือ แรกๆ ทำด้วยกัน แล้วแยกมาทำ มันก็เลยเหมือนกัน พอเริ่มมีทุนใหญ่ ก็เริ่มก๊อปกัน สุดท้ายก็เลยเหมือนกันไป แต่ยังไงซะ บางเจ้าก็มีจุดแข็ง จุดพิเศษกว่าเพื่อน เช่นเที่ยงตรงกว่า เสียงดีกว่า หรือ อาจดังกว่า แม้แต่ตัวเบ็ดที่ดัดเอง เพื่อให้เป็นจุดขายก็มี

อ่านเรื่องอื่น ขอดเกล็ดยุคสมัยของเหยื่อปลอม

Advertisements