ทะเลทรายสะฮาราเคยเป็น ‘สถานที่อันตรายที่สุดในโลก’

การค้นพบนี้เกิดจากการที่นักวิจัย กลับมาทบทวนฟอสซิลสัตว์มีกระดูกสันหลังที่พบในการก่อตัวของหินยุคครีเทเชียส (Kem Kem Group) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของโมร็อกโก (Morocco)

ผู้เขียนงานวิจัยอธิบายว่า นี่เป็นการทบทวนเนื้อหาที่ครอบคลุมมากที่สุดตั้งแต่มีการค้นพบฟอสซิลในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ซึ่งให้มุมมองที่ไม่เหมือนใครเกี่ยวกับสายพันธุ์ไดโนเสาร์ที่เดินเตร่ในแอฟริกา

ทะเลทรายสะฮาราไม่ใช่ทะเลทรายที่มีลมพัดแรงเสมอไป เมื่อประมาณ 100 ล้านปีก่อน ..ก่อนที่ไดโนเสาร์จะได้เจอกับอุกกาบาต พื้นที่นี้ค่อนข้างเขียวชอุ่มกว่าตอนนี้มาก ทีมงานอธิบายว่า ระบบแม่น้ำที่กว้างใหญ่ได้ทดน้ำให้กับผืนดิน และสัตว์น้ำหลากหลายชนิดได้อาศัยอยู่ที่นี่

ฟอสซิลที่กู้คืนได้จาก Kem Kem Group (ซึ่งประกอบด้วยรูปแบบที่แตกต่างกันสองแบบคือ Gara Sbaa Formation และ Douira Formation) รวมถึงไดโนเสาร์นักล่าที่ใหญ่ที่สุดสามสายพันธุ์ที่เคยพบมา เช่น คาร์คาโรดอนโทซอรัส (Carcharodontosaurus) ซึ่งโตเต็มที่จะมีความยาวมากกว่า 8 เมตร และมีฟันหยักที่ยาวได้ถึงแปดนิ้ว หรือจะเป็น เดลตาโดรม (Deltadromeus) สายพันธุ์แร็ปเตอร์ตัวใหญ่ ที่มีความยาวประมาณ 8 เมตร มีแม้แต่ เทอร์โรซอร์ (Pterosaur) สัตว์เลื้อยคลานบินได้ที่กินเนื้อเป็นอาหาร และไดโนเสาร์ที่คล้ายจระเข้ก็อาศัยอยู่ในทะเลทรายสะฮาราเช่นกัน

ตามที่ผู้เขียนร่วม David Martill ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย Portsmouth ได้กล่าวว่า ประชากรปลาขนาดใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์อาศัยอยู่ในพื้นที่ พวกมันเป็นอาหารของสัตว์กินเนื้อที่ดุร้ายเช่นกัน

“สถานที่แห่งนี้เต็มไปด้วยปลาขนาดมหึมา รวมทั้งปลาซีลาแคนท์ยักษ์และปลาปอด ตัวอย่างเช่น ปลาซีลาแคนท์ อาจมีขนาดใหญ่กว่าปลาซีลาแคนท์ในปัจจุบัน 4 – 5 เท่าเลยด้วยซ้ำ นอกจากนี้ยังมีฉลามน้ำจืดขนาดมหึมาที่เรียกว่า Onchopristis ที่มีฟันใบเลื่อยที่น่ากลัวที่สุด”

ด้วยการรวมตัวของสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่ ทั้งในน้ำ บนบกและท้องฟ้า จึงไม่แปลกใจหากจะยกให้ทะเลทรายสะฮาราเคยเป็น ‘สถานที่อันตรายที่สุดในโลก’ ..อ้างอิง Kem Kem Group

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements