ฟอสซิลหายากของ ‘กุ้งโบราณ’ ที่ซ่อนตัวอยู่ในหอย

เมื่อประมาณ 100 ล้านปีก่อน ช่วงเวลาที่ไดโนเสาร์ยังครองโลก กุ้งตัวเล็กสามตัวออกหาบ้านใหม่ ไม่ก็บางทีมันอาจหาที่หลบภัยจากผู้ล่า ซึ่งบริเวณนี้ห่างไกลจากแนวปะการังที่ปกป้องพวกมัน พวกมันจึงเลือกหอยทะเลขนาดใหญ่ มันไม่ใช่หอยที่ใหญ่ที่สุดในเวลานั้น แต่ก็อยู่สบายเพราะมันมีความกว้างประมาณ 10 นิ้ว

ฟอสซิลหอย

แต่พวกมันก็อยู่ได้ไม่นาน เพราะหอยนี้ก็โดนทับถมด้วยโคลนและตะกอน บ้านใหม่แห่งนี้ก็กลายเป็นหลุมฝังศพของพวกมัน และถูกฝังอยู่ที่นั่นจนถึงปี 2016 เมื่อชาวนาชาวออสเตรเลียขุดพบมัน มันเป็นฟอสซิลหอยที่มีกุ้ง 3 ตัว แต่ละตัวยาวประมาณ 1.2 นิ้ว ซึ่งปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์ Kronosaurus Korner ของออสเตรเลีย

ฟอสซิลที่พบ ได้ลงในวารสาร Palaeogeography, Palaeoclimatology, Palaeoecology มันเป็นตัวอย่างที่เก่าแก่ที่สุดของกุ้งที่ใช้ชีวิตร่วมกับสิ่งมีชีวิตอื่น พฤติกรรมนี้เรียกว่า Inquilinism มีให้เห็นในสัตว์หลายชนิด ทั้งบนบกและในทะเล ปัจจุบันก็ยังมีให้เห็นอยู่

เนื่องจากกุ้งที่เป็นฟอสซิลถูกเก็บรักษาไว้ในสภาพสมบูรณ์ พวกมันจึงน่าจะมีชีวิตอยู่ในหอยเมื่อถูกท่วมอย่างรวดเร็วด้วยโคลน บางทีอาจเป็นระหว่างแผ่นดินไหวหรือพายุที่รุนแรง โคลนได้ฝังพวกมันทันทีทำให้ไม่บุบสลาย “กุ้งค่อนข้างบอบบาง”

René Fraaije ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ Oertijdmuseum ในเนเธอร์แลนด์ ซึ่งไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยกล่าวเสริม “หากคุณพบตัวอย่างที่สมบูรณ์ โดยมีกระดองและขาติดกันครบถ้วน แสดงว่าต้องเกิดขึ้นตอนที่พวกมันยังมีชีวิต”

กุ้งอาจรีบเข้าไปในหอยเพื่อลอกคราบหรือหลบนักล่า แต่ไม่มีหลักฐานแสดงพฤติกรรมเหล่านั้น พวกมันอาจหาที่หลบภัยจากพายุที่ฝังพวกมันในที่สุด แต่เราก็ไม่ทราบจริงๆ “หากไม่มีเครื่องย้อนเวลา” Russell Bicknell นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยนิวอิงแลนด์ในออสเตรเลียและหัวหน้าทีมกล่าว

คำอธิบายที่เป็นไปได้ Bicknell กล่าวคือกุ้งทำตามสัญชาตญาณการเอาชีวิตรอดขั้นพื้นฐานคือซ่อนตัวจากผู้ล่า “กุ้งไม่ได้อยู่ใกล้จุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหาร” เขากล่าว “เกือบทุกอย่างกินมัน ยกเว้นของอย่างหอยสองฝาที่กินอาหารขนาดเล็กด้วยการกรอง

ตัวอย่างนี้เป็นรายการล่าสุดที่เพิ่มเข้ามาในรายการฟอสซิลสัตว์ที่พักพิงร่วมกับสัตว์อื่นๆ และบอกกับนักชีววิทยาว่ากุ้งบางตัวเลือกใช้ชีวิตร่วมกับสิ่งมีชีวิตอื่น มาอย่างน้อย 100 ล้านปีแล้ว

Ninon Robin นักบรรพชีวินวิทยาจากสถาบัน Royal Belgian Institute of Natural Sciences กล่าวว่า “นี่เป็นการค้นพบครั้งใหญ่ “ มันค่อนข้างหายากที่จะพบฟอสซิลที่เป็นการเชื่อมโยงกันของสองสายพันธุ์ เราโชคดีมาก”

ผู้อยู่อาศัยที่สุภาพ

Advertisements

ในแง่ของการอาศัยร่วมกับแบบหุ้นส่วน Inquilinism จะอยู่ระหว่าง Symbiosis ซึ่งสิ่งมีชีวิตทั้งสองได้รับประโยชน์และเป็นกึ่งๆ ปรสิตโดยที่สิ่งมีชีวิตหนึ่งได้รับประโยชน์ด้วยจากพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง หากสิ่งมีชีวิตที่เป็นโฮสต์ยังมีชีวิตอยู่ แต่มันไม่ทำอันตรายกับโฮสต์ เช่น ปูตัวเล็กๆ ที่อยู่ในหอย มันจะไม่มีประโยชน์อะไร แต่ก็ไม่ได้ถูกรบกวนเช่นกัน ผู้บุกรุกจะได้รับความปลอดภัยเพียงเล็กน้อยโดยไม่ต้องให้อะไรตอบแทน

ตัวอย่างพื้นฐานสุดคือปูเสฉวน มันไม่ได้สร้างเปลือกของมันเองเมื่อมันโตขึ้น แต่จะคอยเก็บเปลือกจากสัตว์ที่ผลิตเปลือกหอยอื่นๆ เช่น หอยทาก ปูเสฉวนต้องใช้เปลือกของสัตว์อื่นเพื่อเอาตัวรอด แต่สำหรับสัตว์อื่นๆ รวมทั้งกุ้ง มันเป็นเรื่องของความสะดวกมากกว่า

นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยอลาบามา Adiël Klompmaker หนึ่งในผู้เขียนงานวิจัย กล่าวว่า Inquilinism “เริ่มค่อนข้างเร็ว” ในประวัติศาสตร์ชีวิตสัตว์ สัตว์ที่เก่าแก่ที่สุดที่รู้จักน่าจะมีวิวัฒนาการมากกว่า 541 ล้านปีก่อน แม้ว่าจะมีหลักฐานบางอย่างบ่งชี้ว่าสัตว์ชนิดแรกเกิดเร็วกว่ามาก สัตว์ที่มีเปลือกน่าจะปรากฏขึ้นหลังจากนั้นไม่นาน

Advertisements

ไม่นานหลังจากที่สัตว์บางชนิดเริ่มพัฒนาเปลือก Klompmaker กล่าวว่า สัตว์อื่นๆ เริ่มใช้พวกมันเพื่อซ่อน หลักฐานซากดึกดำบรรพ์ที่น่าเชื่อถือและเก่าแก่ที่สุดของพฤติกรรม Inquilinism คือ ไทรโลไบต์ ซึ่งเป็นกลุ่มของสัตว์ขาปล้องทางทะเลที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ซึ่งพบในเปลือกหอยนอติลอยด์ ซึ่งเป็นกลุ่มของหมึกที่มีอายุย้อนไปถึงยุคออร์โดวิเชียน เมื่อประมาณ 485 – 444 ล้านปีก่อน

“นอติลอยด์ขนาดใหญ่หรือแอมโมไนต์ขนาดใหญ่ สิ่งเหล่านี้ให้การปกป้องที่มากกว่า เพราะคุณสามารถเข้าไปข้างในได้ลึก” Bicknell กล่าว

หลบซ่อนจากอันตราย

นอกจากกุ้งสามตัวที่อยู่ในหอยแล้ว นักบรรพชีวินวิทยายังพบหอยอีกตัวที่ใหญ่กว่า ซึ่งมีฟอสซิลปลาตัวเล็กๆ มากถึง 30 ตัวในรูปแบบเดียวกัน หอยกับปลายังไม่ได้อธิบายรายละเอียดในเอกสารทางวิทยาศาสตร์

แต่การมีตัวอย่างสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่อนุรักษ์ไว้อย่างดีสองตัวที่อาศัยอยู่ในหอยชนิดเดียวกันนั้น แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าสัตว์เหล่านี้ย้ายเข้ามาหลบภัยเพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามต่อพวกมัน Bicknell กล่าว

หากสัตว์เหล่านี้ต้องการความปลอดภัยจากผู้ล่า ตามที่ Bicknell เชื่อ พวกมันอาจไม่มีที่อื่นให้หลบซ่อน ไม่มีหลักฐานของแนวปะการังในบริเวณนี้ ซึ่งน่าจะให้จุดซ่อนที่ดีกว่าสำหรับกุ้งและสัตว์อื่นๆ ที่อยู่ล่างสุดในห่วงโซ่อาหาร

“มีอันตรายมากมายบนพื้นมหาสมุทร โดยเฉพาะบริเวณที่ห่างจากแนวปะการัง” Klompmaker กล่าว เนื่องจากมีตัวเลือกในการซ่อนตัวจากผู้ล่าน้อยมาก แม้แต่หอยสองฝาที่ดูธรรมดา ก็อาจดูน่าดึงดูดสำหรับกุ้งที่ต้องการที่หลบภัย

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
แหล่งที่มาnationalgeographic