โลมาแม่น้ำอเมซอน ‘สีชมพู’ ไม่ใช่เพราะสายพันธุ์ แต่เป็นเพราะมันก้าวร้าว

โลมาแม่น้ำอเมซอน เป็นโลมาน้ำจืดแท้ ไม่สามารถพบได้ในน้ำเค็ม จุดเด่นที่มักมีคนพูดถึงคือ มันเป็น "โลมาสีชมพู" แต่จากการศึกษาโดยนักวิจัย พวกเขาพบว่า มันมีสีชมพูเพราะถิ่นอาศัยและความก้าวร้าวของมัน และเพศผู้จะมีสีชมพูมากกว่าเพราะมันก้าวร้าวกว่ามาก

โลมาแม่น้ำอเมซอน Amazon river dolphin, Pink dolphin (Inia geoffrensis) หรือที่รู้จักในชื่อ boto เป็นโลมาขนาดใหญ่ในสกุล Inia มันยาวถึง 8 ฟุต (2.4 เมตร) และหนักประมาณ 450 ปอนด์ (204 กิโลกรัม)

โดยตัวเมียจะใหญ่กว่าตัวผู้ เป็นโลมาอาศัยอยู่ในน้ำจืดแท้ๆ นอกจากนี้แล้วกระดูกสันหลังบริเวณคอมีความยืดหยุ่นจึงสามารถทำให้หันหัวได้ 180 องศา ซึ่งความยืดหยุ่นตรงนี้เองที่ทำให้เป็นสิ่งสำคัญในการว่ายน้ำผ่านต้นไม้ต่างๆ และวัสดุกีดขวางต่างๆ ในป่าน้ำท่วม

แต่ขนาดไม่ใช่สิ่งเดียวที่ทำให้โลมาแม่น้ำอเมซอนแตกต่าง โลมาน้ำจืดชนิดนี้ซึ่งเจริญเติบโตในแม่น้ำที่อยู่ในอเมริกาใต้และทะเลสาบชั่วคราวที่เกิดจากน้ำท่วมตามฤดูกาล บางครั้ง พวกมันก็มีสีชมพูจนน่าตกใจ!

แม้ว่าโดยกำเนิดโลมาชนิดนี้จะเป็นสีเทา แต่ตัวผู้ของสายพันธุ์นี้สามารถระบุได้ง่ายเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ นั้นเพราะตัวมันจะมีสีชมพูที่ร้อนแรง โดยบางครั้งก็เป็นสีชมพูทั้งหมดและบางครั้งก็มีสีเทาแฝง มันเป็นผลมาจากเนื้อเยื่อแผลสะสมของมัน ไม่ว่าจะเกิดจากการทะเลาะวิวาททั่วไป ซึ่งมันทำค่อนข้างบ่อย หรือจะเพื่อแสดงความแข็งแกร่งให้กับคู่ครอง ..ยิ่งเพศชายมีสีชมพูมากเท่าไร มันก็ยิ่งมีเสน่ห์ และยิ่งอายุมากเท่าไหร่ ก็จะมีสีชมพูมากขึ้นเท่านั้น

นอกจากนี้ยังมีทฤษฎีที่ว่า โลมาสีชมพูจะกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมได้ง่ายกว่า โดยเฉพาะในช่วงฝนตกหนัก แม่น้ำตามแนวป่าฝนอเมซอนจะเปลี่ยนเป็นสีแดง-ชมพูขุ่น และด้วยสีชมพูของพวกมัน โลมาตัวผู้จึงสามารถพรางตัวได้ง่ายขึ้น

โลมาแม่น้ำอเมซอนเป็นหนึ่งในห้าสายพันธุ์ของโลมาที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด พวกมันมีความเกี่ยวข้องกับโลมาที่อาศัยในทะเล นอกจากสีชมพูอันโดดเด่นแล้ว โลมาแม่น้ำสีชมพูของอเมซอนยังมีคุณสมบัติอื่นที่ทำให้พวกมันแตกต่างจากลูกพี่ลูกน้องในน้ำเค็มอีกด้วย ซึ่งแตกต่างจากโลมาในมหาสมุทรซึ่งมีครีบหลังที่ยื่นออกมาจากหลัง โลมาแม่น้ำสีชมพูจะมีโหนกเล็กๆ แทน

Advertisements
“ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2012 เอโบ โมราเลส ประธานาธิบดีแห่งโบลิเวียได้ออกกฎหมายมาเพื่อคุ้มครองโลมาแม่น้ำแอมะซอนไว้เป็นสมบัติของชาติ”

“พื้นที่ชุ่มน้ำอเมซอนที่หล่อเลี้ยงโดยแม่น้ำอเมซอน เป็นสถานที่สำคัญสำหรับการผสมพันธุ์ของโลมาสีชมพู ..ตั้งแต่ปี 2018 ก็ได้รับสถานะการคุ้มครองในระดับสากล บริเวณนี้เป็นที่อยู่ของสัตว์หายากหลากหลายชนิด ประกอบด้วยพืช นก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำหลายร้อยชนิดที่ได้รับการจัดหมวดหมู่แล้ว”

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements