เรื่องน่ารู้ของ แมนนาที และ พะยูน ต่างกันอย่างไร

แมนนาที (Manatee) ชื่อนี่อาจจะไม่คุ้นหูคนไทยสักเท่าไร แต่ถ้าพูดถึงพะยูน ก็น่าจะรู้จักกัน แต่แมนนาที ไม่ใช่พะยูน และด้วยความที่ผมเองก็เคยเข้าใจผิดว่า "แมนนาที" คือ พะยูน (Dugong dugon) วันนี้ผมเลยขอเอาเรื่องที่จะบอกว่า แมนนาทีกับพะยูน นั้นต่างกันอย่างไร? และอีกอย่างคือ แมนนาที มีอีกชื่อคือ "วัวทะเล" แต่มันอยู่น้ำจืดนะ ยังไงก็มาลองอ่านเรื่องราวของพวกมันกัน

พะยูนเป็นญาติใกล้ชิดของแมนนาที

Advertisements

“พวกมั้นทั้งคู่เป็นสัตว์กินพืชที่รักสงบ ปกติมันชอบใช้เวลาส่วนใหญ่กินหญ้าทะเล จนเรียกว่าแทบจะกินนอนบนหญ้าทะเล” พิพิธภัณฑ์ออสเตรเลีย ได้บรรยายถึงพวกมันว่า เป็นสัตว์ขนาดใหญ่ มีหางที่แบนราบเหมือนวาฬ โดยพะยูนมีครีบเหมือนพาย ไม่มีครีบหลัง และปากที่แบนกว้างทำมุมลงเพื่อช่วยให้มันกินอาหารโปรดหญ้าทะเลได้ง่าย มีตาและหูที่เล็กเช่นเดียวกับพวกแมนนาที พวกมันไม่ได้พึ่งพาความรู้สึกมากนักในการเอาตัวรอด มันสนแค่การหาหญ้าทะเลที่ชอบเท่านั้น

แมนนาทีอยู่ในน้ำจืด ส่วนพะยูนอยู่ในน้ำเค็ม

ในขณะที่พะยูนนั้นชอบกินพืชใต้น้ำเหมือนแมนนาที แต่ก็มีความต่างเฉพาะคือพวกมันแทบไม่เคยเข้าไปในเขตน้ำจืด นั้นหมายความว่ามันคือสัตว์ทะเลชนิดเดียวที่กินพืชเป็นอาหาร และรายละเอียดจากเว็ปไซต์ Oceana ที่ทำให้อาจจะรู้สึกเศร้าแต่ก็อบอุ่นในเวลาเดียวกัน “สมองของพะยูนนั้นมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับตัว อาจจะเพราะว่ามันไม่ต้องพัฒนากลยุทธ์ที่ซับซ้อนในการหาอาหาร”

ความแตกต่างอย่างอื่นระหว่างแมนนาทีและพะยูน

“พะยูนมักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นแมนนาที แต่พวกมันมีจุดต่างกัน” โดยแมนนาทีจะมีหางกลมคล้ายใบพาย ส่วนพะยูนมีหางเหมือนวาฬหรือโลมา แมนนาทีโตได้ใหญ่และหนักกว่าพะยูนหลายเท่า พวกมันถูกเรียกว่าแมนนาทีเพราะมันใช้ปากอันแข็งแรงในการกินและถอนหญ้าทะเลออกจากพื้นทะเล นอกจากอายุยืนถึง 70 ปีแล้ว พะยูนสามารถโตได้ถึง 4 เมตรและน้ำหนักมากได้ถึง 270 กิโลกรัม

พะยูนแมนนาที หรือ วัวทะเล (แต่อยู่น้ำจืด) เราสามารถแยกระหว่างพะยูนกับแมนาทีได้ง่ายๆ โดยดูที่หาง จะเห็นว่าแมนนาทีจะมีหางกลมคล้ายใบพาย ส่วนพะยูนมีหางเหมือนวาฬหรือโลมา

พะยูน เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 เป็นสัตว์น้ำชนิดแรกของประเทศไทยที่ได้รับการกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าสงวน เป็นสัตว์โตเต็มที่ประมาณ 2 เมตร ถึง 3 เมตร น้ำหนักเต็มที่ได้ถึง 300 กิโลกรัม




พะยูนอยู่ที่ไหนกัน?

Advertisements

ในขณะที่แมนนาทีนั้นอาศัยอยู่ในฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก แต่พะยูนนั้นอาศัยในเขตอบอุ่นของมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิค เช่นเดียวกับแมนนาที พะยูนตัวเมียเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะดึงดูดความสนใจของพะยูนตัวผู้หลายตัว และในที่สุดก็ผสมพันธุ์กับตัวผู้ หนึ่งถึงสองตัว จากนั้นลูกพะยูนจะเกิดหลังตั้งท้อง 12-14 เดือน และจะให้นมลูกไปถึง หนึ่งปีครึ่ง แม้พะยูนจะไม่มีศัตรูตามธรรมชาติ แต่ลูกๆ มันก็เสี่ยงที่จะโดนกินโดยพวกจระเข้น้ำเค็ม วาฬเพชรฆาต และฉลามขนาดใหญ่เช่นฉลามเสือ ฉลามหัวบาตร รวมทั้งฉลามขาว

ไม่มีศัตรูตามธรรมชาติ?

พวกมันอาจจะไม่มีนักล่าตามธรรมชาติ แต่ภัยคุกคามที่อันตรายสุดของพะยูนและแมนนาทีคือ “มนุษย์” พะยูนและแมนนาทีได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ (ESA) และถือว่ามีความเสี่ยงจากบัญชีแดงของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN)

ถึงอย่างงั้นพวกมันก็ยังถูกคุกในบางพื้นที่ ทั้งการทำลายแหล่งที่อยู่อาศัย การชนกับเรือและการถูกจับโดยไม่ได้ตั้งใจ โดยที่ Oceana ได้รณรงค์นโยบายตามหลักวิทยาศาสตร์ที่จะคืนความอุดมสมบูรณ์ของมหาสมุทร และการปกป้องถิ่นอาศัยของมัน

“เดิมนั้นพวกตระกูลพะยูนไม่ได้มีแค่สองชนิด มีอีกชนิดหนึ่งคือแมนนาที สเตลเลอร์ และยังเป็นพวกพะยูนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด แต่น่าเศร้าที่พวกมันถูกล่าจนสูญพันธุ์โดยมนุษย์ในศตวรรษที่ 18”

“ในไทยแหล่งที่มีชื่อเสียง ในฐานะที่อาศัยของพะยูนคือ ที่หมู่เกาะลิบง จ. ตรัง (บ้านเกิดมาเรียม) แหล่งอนุรักษ์พะยูนที่สำคัญของประเทศไทย มีฝูงพะยูนกว่า 20 ตัวมารวมตัวกันหากินบริเวณแหล่งน้ำตื้น”

ดูคลิปพะยูน

ดูคลิปแมนนาที

Advertisements

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements