ประวัติกระทิงวัว ‘วัวป่าเขมร’ สัตว์ที่มีอยู่จริงหรือเป็นแค่เรื่องล่วงโลก

เมื่อพูดถึง "กระทิงวัว" หลายคนอาจคิดคล้ายผมว่า มันก็คงเป็นกระทิงและวัวที่เรียกรวมกันไป แต่ความจริงสัตว์ชนิดนี้ถือว่าพิเศษ มันลึกลับ และอาจจะไม่มีอยู่จริง เพราะความจริงเรื่องราวทั้งหมดของกระทิงวัวเกิดขึ้นจากชิ้นส่วนเขาเพียงชุดเดียว แล้วทำไมมันจึงกลายเป็นสัตว์ชนิดใหม่ไปได้ ...เดี๋ยวผมจะขุดเรื่องราวของกระทิงวัวที่มีอยู่น้อยนิดมาเล่า

กระทิงวัว

กระทิงวัวคืออะไร?

Advertisements

กระทิงวัว (Khting vor) หรือในเขมรอาจว่า วัวกินงู (snake-eating cow) มันมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pseudonovibos spiralis (ซูโดโนวิบอส สไปราลิส) และอยู่ในวงศ์ย่อยวัวและควาย

ในอดีตคำว่า Khting vor (คิดติ้ง-วอ) ซึ่งเป็นชื่อของกระทิงวัวในเขมร มันก็ถูกแปลผิดๆ ว่า jungle sheep (จังเกิล-ซิพ) ที่แปลว่า “แกะป่า” จึงนำไปสู่การสันนิษฐานที่ผิดว่าสัตว์ชนิดนี้มีความเกี่ยวข้องกับแกะและแพะ และยิ่งสับสนเมื่อในเวียดนามให้สัตว์ชนิดนี้เกี่ยวข้องกับละมั่ง อย่างไรก็ตามชื่อ “กระทิงวัว” ก็เป็นที่รู้จักมากที่สุด

จากตรงนี้ก็ดูเหมือนว่ากระทิงวัวจะมีอยู่จริง เพราะมันมีแม้แต่ชื่อวิทยาศาสตร์ แต่ถึงอย่างงั้นก็มีนักวิจัยมากมายที่ไม่ยอมรับเรื่องนี้

นั้นเพราะไม่เคยมีใครเคยเห็นกระทิงวัวตัวจริงมาก่อน และแม้แต่ซากของมันก็พบเพียงเขาที่ไร้หัวกะโหลก ซึ่งถูกวางขายในตลาดขายของป่าตามชายแดนไทย-เขมร, ไทย-ลาว, ลาว-เขมร และเวียดนาม

เนื่องจากมันเป็นสัตว์ที่หายากมาก จุดเด่นเพียงอย่างเดียวที่สามารถยืนยันได้เกี่ยวกับกระทิงวัวจึงเป็นเขา ซึ่งเขาของมันมีลักษณะคล้ายเขาวัว แต่จะบิดเป็นเกลียว ยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ส่วนซากที่เป็นโฮโลไทป์ของกระทิงวัว ก็ได้รับการพิสูจน์ภายหลังว่าเป็นวัวที่เลี้ยงในบ้าน

แล้วเรื่องจริงของกระทิงวัวเป็นเช่นไร?

กระทิงวัวซึ่งในภาษาเขมรแปลว่า “วัวที่มีเขาเกลียว” ถูกอธิบายเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1994 เมื่อนักสัตววิทยาชาวเยอรมันสองคน บรรยายถึงสายพันธุ์ใหม่ที่พบเห็นได้ตามแนวชายแดนเวียดนาม – เขมร โดยพวกเขาอ้างว่า ได้ค้นพบกระทิงวัว จากการรวบรวมเขาสัตว์ตามตลาดในพื้นที่ต่างๆ

และจากการตรวจสอบเขาทั้งหมด พวกเขาก็ทราบว่ามีเขาที่เป็นของกระทิงวัวไม่กี่ชุด แต่ทั้งหมดก็มีรูปร่างคล้ายคลึงกัน นอกนี้ยังมีเขาอยู่อีกชุดหนึ่งที่พบในเวียดนาม ซึ่งถูกเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติมหาวิทยาลัยแคนซัส ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1929

Advertisements

ทั้งนี้นักวิจัยในแคนซัสอ้างว่าเขาที่มีอยู่นี้เป็น “หลักฐานที่หนักแน่น” ของการดำรงอยู่ของกระทิงวัว พวกเขากล่าวว่า มันได้รับการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ภายใต้กล้องจุลทรรศน์และตรวจดีเอ็นเอ จนพบว่าสิ่งนี้เป็นตัวแทนของสายพันธุ์ใหม่จริงๆ

และจากการวิจัยภาคสนาม พบว่ามีนายพรานและคนท้องถิ่นที่เป็นชาวเขมรหลายร้อยคน อ้างว่าพวกเขาเคยพบเห็นสัตว์ชนิดนี้ เนื่องจากพื้นที่ป่าอันกว้างใหญ่ของเขมรเกือบจะไม่ได้ถูกสำรวจจนกระทั่งหลังปี ค.ศ. 1997 จึงถือว่าเป็นไปได้มากที่จะมีสิ่งมีชีวิตที่ไม่เคยปรากฏชื่ออาศัยอยู่ที่นั่น

ในกรณีของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติในปารีส นักวิจัยได้ตรวจสอบเขาของกระทิงวัวเช่นกัน แต่แล้วจากตัวอย่าง 5 ชุดที่หามาได้ นักวิจัยก็ต้องผิดหวัง เพราะหลังจากตรวจสอบอย่างดี พวกเขาก็สรุปได้ว่า “เขาพวกนี้เป็นของที่ถูกดัดแปลงโดยมนุษย์” มันถูกทำให้บิดเป็นเกลียวและแกะสลักโดยช่างฝีมือ

มีทฤษฎีหนึ่งที่ได้รับเสียงตอบรับที่ดี ….จริงๆ แล้ว “เขากระทิงวัว” ที่เป็นของดัดแปลงนี้ ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเอามาหลอกนักวิจัย แต่เพื่อให้ทันความต้องการของตลาดค้าเขาในตอนนั้น

เมื่อเขาของสัตว์ที่ถูกห้อมล้อมด้วยตำนานอันทรงพลัง ซึ่งในนิทานพื้นบ้านของเขมร ก็กล่าวถึงวัวกินงูที่มีเขาบิดเป็นเกลียว และเขาของวัวกินงูที่ว่านี้ก็เป็นที่ต้องการอย่างมาก แต่เพราะไม่สามารถหามาได้ ช่างฝีมือชาวเขมร จึงต้องปลอมแปลงเขาสัตว์ที่มีอยู่เพื่้อขาย

Advertisements

สรุปคือ กระทิงวัวหรือวัวกินงูอาจมีอยู่จริง หรืออาจจะไม่มีอยู่จริง เพราะยังไงซะหลักฐานการมีอยู่ของสัตว์ชนิดนี้ก็มีน้อยเกินไป แถมยังเต็มไปด้วยของปลอม ด้วยเหตุนี้ จนกว่าจะได้รับหลักฐานเพิ่มเติม การมีอยู่ของกระทิงวัว ในฐานะสัตว์ชนิดใหม่ จึงถูกพิจารณาว่าน่าสงสัย แต่ถึงอย่างงั้นสถานะของกระทิงวัวก็จัดอยู่ในกลุ่ม เสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์ …ส่วนคุณผู้ฟังคิดเห็นกันอย่างไรก็คอมเมนต์กันมานะครับ

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements