นักพันธุศาสตร์เผย มนุษย์ไปตั้งรกรากบนเกาะที่ห่างหลายพันไมล์ในมหาสมุทรได้อย่างไร

รูปปั้นหินขนาดยักษ์ที่มีชื่อเสียงบนเกาะอีสเตอร์มีสิ่งที่ใกล้เคียงกับมันอยู่บนเกาะที่ห่างไปถึงหลายพันไมล์ ซึ่งมีทั้งทางเหนือถึงตะวันตก และมันยังเป็นสิ่งมนุษย์สร้างขึ้นมาและยังมีปริศนามากมาย

ในช่วงเวลา 250 ปี ผู้คนเริ่มไปตั้งถิ่นฐานตามเกาะต่างๆ ทางตะวันออกของตาฮิติเพื่อตั้งรกรากอย่างเช่น เกาะอีสเตอร์ หมู่เกาะมาร์เคซัส และเกาะไรวาวี ซึ่งห่างกันหลายพันไมล์ แต่ทั้งหมดมีรูปปั้นโบราณที่คล้ายกันอยู่ด้วย

“รูปปั้นบนเกาะพวกนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด” Alexande Ioannidis จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดบอกกับทาง AFP

Ioannidis กับทีมงานสามารถกำหนดแผนที่ และเส้นทางการตั้งถิ่นฐานของชาวโพลินีเชียนแห่งแรกได้ ซึ่งเริ่มต้นจากเกาะซามัวและกระจายไปทั่วมหาสมุทรแปซิฟิกระหว่างปี 830 -1360 โดยใช้การวิเคราะห์ที่ทันสมัยจาก DNA สมัยใหม่

“นี่เป็นเรื่องที่สร้างความสงสัยมานาน นับตั้งแต่กัปตันคุกสังเกตเห็นครั้งแรกว่าผู้คนบนเกาะโพลินีเซียนต่างพูดภาษาเดียวกัน” การขยายตัวที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วประมาณ 17 รุ่น ทำให้วัฒนธรรมและธรรมเนียมต่างๆ เริมเปลี่ยนแปลงไปด้วย นักวิจัยสามารถรวบรวมปริศนาของการอพยพข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกโดยการเปรียบเทียบพันธุกรรมในประชากร 430 คนในปัจจุบันจากเกาะ 21 เกาะ

การขยายตัวจากภายนอกไปยังเกาะซามัวแผ่ไปทางทิศตะวันตกไปยังฟิจิ และตองกาทางตอนใต้ จากนั้นไปทางตะวันออกสู่ราโรตองกาประมาณปี ค.ศ. 830

ไม่กี่ร้อยปีต่อมา ทายาทบนราโรทองกา ได้เดินทางไปตั้งรกรากในตาฮิติในปัจจุบันและหมู่เกาะทูอาโมตูที่อยู่ใกล้ออกไป และเกาะอื่นเริ่มมีประชากรเบาบางเนื่องจากพื้นที่นั้นจะเป็นพื้นที่ทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ในช่วงปี 1950

ผลการศึกษาระบุว่า หมู่เกาะที่มีที่ราบลุ่มจะมีแนวโน้มมากสุดที่จะโผล่ขึ้นจากทะเลเพียงไม่กี่ร้อยปีก่อนที่ชาวโพลินีเซียนจะไปถึงที่นั้น

“พวกเขาต้องมีวัฒนธรรมทางทะเลเพื่อไปอยู่ตามเกาะเล็กๆ ที่มีลักษณะเหมือนวงแหวนเหล่านี้ ผมคิดว่านี่อธิบายได้ในบางส่วนว่าทำไมเราถึงเห็นการเดินทางไกลไปที่แห่งนี้” Ioannidis กล่าว.. ซึ่งที่แห่งนี้จะกลายเป็นศูนย์รวมของชนชาติที่สร้างรูปปั้นขนาดใหญ่ในหมู่เกาะเหล่านี้ รวมถึงเกาะอีสเตอร์ด้วย

Advertisements
ช่วงเวลาของการขยายตัวนี้สอดคล้องกับการค้นพบจาก DNA ก่อนหน้านี้ โดย Ioannidis กับทีมงานแสดงให้เห็นว่าชนพื้นเมืองอเมริกันอาจจะมาจากชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของอเมริกาใต้ และโพลินีเซียนปะปนมาด้วยประมาณปี 1200

“จากข้อมูลที่เราพบนั้นใกล้เคียงกับการเดินทางของชาวโพลินีเซียนเหล่านี้ ที่เดินทางเพื่อตั้งรกรากบนเกาะห่างไกล” Ioannidis กล่าว ..ประชากรโพลินีเซียนในปัจจุบันมีลักษณะผสมกัน โดยมีร่องรอยของคนยุโรป แอฟริกา และสถานที่อื่นๆ

ในขณะที่การศึกษาทางพฤติกรรมของคนโบราณมักจะเน้นไปที่ตัวอย่าง DNA โบราณที่ค้นพบจากแหล่งโบราณคดี Ioannidis กล่าวว่าทีมงานของเขาสามารถศึกษาลำดับการจัดเรียง DNA แบบใหม่ได้จากที่บ้านตัวเองด้วยระบบฐานข้อมูล ..เราจะรู้อะไรมากขึ้นในอนาคตแน่นอน

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements
แหล่งที่มาtheguardian