ไกค์ไลน์ ตกปลา บ่อ Pilot 111 อัพเดทปี 2020

บ่อตกปลากระพงรอบๆ กรุงเทพแบบตกปล่อย มีอยู่เพียงไม่กี่แห่ง โดยที่ชื่อดังและเปิดมานานแล้ว เท่าที่ผมนึกออกก็มีบ่อตกปลากะพง บางปะกง (บ่อหนุ่ม) , บ่อมงคล , ไพรอท 111, VIP ประมาณนี้ ซึ่งจริงๆ ก็มีอีกหลายบ่ออยู่ แต่ในเรื่องนี้ผมจะมาพูดถึงบ่อตกปลา Pilot 111 เพียงอย่างเดียว เพื่อเป็นไกค์ไลน์ แนวทางให้กับน้าๆ ลดอาการแห้ว หรือไม่สนุกไปได้บ้าง

บ่อตกปลาไพรอท

ไพรอท 111 เป็นบ่อตกปลาที่มีชื่อเสียงค่อนข้างมาก โดยเฉพาะกับต่างชาติ มันถือเป็นหนึ่งในจุดหมายที่คนต่างชาติอย่างเช่นญีปุ่น ที่เดินทางมาไทยเพื่อตกปลา คนพวกนี้ก็จะมาที่ Pilot 111 (ชื่อให้ Google Map คือ Pilot Fishing Pool)

ไกค์ส่วนนี้ผมตั้งใจทำไว้ให้น้าๆ
ทั้งที่เคยไปหรือไม่เคย
ได้อ่านศึกษามัน อาจจะยาวหน่อย
และไกค์ส่วนนี้ใช้เป็นแนวทางเท่านั้น

สำหรับพิกัดของ Pilot 111 กดลิงค์นี้ได้เลย (Google Map)

ข้อควรรู้เกี่ยวกับ Pilot 111

Advertisements

ค่าตก : 500 บาท (คนไทย-ต่างชาติเท่ากัน)
ปลาที่ให้ตก : ปลาล่าเหยื่อหลายชนิด เด่นๆ กะพง, เทพา, ชะโด, เรดเทล
จำนวนบ่อ : 10 บ่อ
การให้อาหาร : ปกติให้ปลาเป็นวันเสาร์ (หรืออาจไม่ให้) , อาหารเม็ดเป็นบางวัน
ขนาดปลา : เล็ก – ใหญ่มาก

แผนที่ภายในบ่อ Pilot 111

แผนที่บ่อไพรอท

จากภาพบนจะเห็นว่า Pilot 111 มีบ่อมากถึง 10 บ่อ ถ้าไม่เคยไปบอกเลยไม่รู้จะเริ่มบ่อไหนก่อน แน่นอนว่าผมไม่ขอพูดถึงทุกบ่อนะครับ แต่จะเลือกเน้นเฉพาะบ่อที่จะเป็นจุดเริ่มต้นเมื่อไปถึง

บ่อหลัก หมายเลข 6 (กะพง)

บ่อ #6 (ตามภาพบน) เป็นบ่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของบ่อตกปลา Pilot 111 บ่อนี้จริงๆ เป็นปลารวมนะครับ แต่ที่มีเยอะสุดคือ กะพง, เรดเทล, เทพา, ชะโดหลงๆ ก็มี และปลาอื่นๆ นิดหน่อย

จากภาพแผนที่บ่อ #6 สีดำคือจุดที่ยืนตีได้ , สีแดงคือจุดดีๆ สำหรับตี (A ดีที่สุด, B รองลงมา)

จริงๆ แล้วบ่อ 6 ถือเป็นบ่อที่มีปลาแน่นมากๆ มันมีทั่วบ่อนั้นละ แต่ต้องบอกว่า “จุด A” มีโอกาสได้ตัวมากที่สุด ในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของวัน ปลาจะกระจุกอยู่แถวนั้นเยอะ โดยวิธีตีก็ตีจากฝั่งออกข้างนอกตรงๆ หรือ ชิดขอบบ่อ และไม่จำเป็นต้องตีไกล แค่ 5 – 10 เมตรก็เหลือๆ แล้ว

ส่วน “จุด B” จะเป็นจุดที่น้าๆ สามารถย้ายมาทดสอบได้ เมื่อ “จุด A” เงียบๆ ปกติจุดนี้มักจะมีปลาวนเข้ามาเสมอ ..พื้นที่สีฟ้า ไม่ได้หมายความว่าไม่มีนะครับ เพราะบ่อ 6 มีปลาทั่วบ่ออยู่แล้ว แค่จุด A-B ถือเป็นจุดที่ดีเท่านั้น

เหยื่อ-วิธีที่ใช้ (โอกาสได้ตัว)

Advertisements

ต้องบอกไว้ก่อนว่าบ่อนี้ปลามีตั้งแต่ไซต์จาน – ไซต์เกือบ 10 โล (กะพง) หรือถ้าโดนเทพา อาจเกิน 10 โล แต่ด้วยความที่บ่อมีขนาดค่อนข้างใหญ่ น้าๆ สามารถใช้ UL เพื่อตกบ่อนี้ได้ แต่ก็มีโอกาสขาดสูง (ระวังให้ดี)

บ่อนี้เท่าที่ผมลอง กินปลั๊กขนาด เล็ก-กลาง 4 – 7 cm ค่อนข้างดี บางวันไซต์ 7 จะกินดีมาก เหยื่อที่ใช้ควรเป็นปลั๊กทรงยาว มีลิ้นอย่างเช่น Duo Spearhead Ryuki , B’Freeze หรือจะเป็น D-Contact ทรงประมาณนี้ .. ไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นพวกนี้นะครับ แค่คล้ายก็ได้ ของเลียนแบบก็เอามาลองได้

เวลาส่วนใหญ่ปลาชอบกินแบบ S-SP หรือก็คือ จม – กลางน้ำ ถ้าเน้นกะพง ให้เน้นเหยื่อกลางน้ำ ถ้าอยากโดนเรดเทลให้เน้นจม ลาก-เคาะถูพื้นมาช้าๆ มีโอกาสได้ตัวสูง ..ปลายางก็กินเช่นกันต้องติดมาไว้ บางทีมันกินดี เรื่องสีมีทั้งโทนมืด – สว่างจะดี

Advertisements

บ่อหมายเลข 10 (เทพา)

บ่อ #10 บ่ออยู่ไกลทางเข้ามากที่สุด แต่ถือเป็นบ่อที่น่าตกมากเป็นอันดับ 2 สำหรับคนที่จะมาตามล่าสัตว์ประหลาดอย่างเทพา สำหรับบ่อนี้มีขนาดค่อนข้างใหญ่ จริงๆ แล้วถึงจะเป็นเทพา ไซต์ 10+ น้าๆ สามารถใช้อุปกรณ์ขนาดเล็ก ระดับ 10-17 สาย PE1 ตกได้ เพราะบ่อนี้มีระยะปลอดภัยเยอะ แต่ไม่แนะนำ เพราะจะเหนื่อยและอุปกรณ์อาจเสียหาย

วิธีตกเทพา..!!

จริงๆ เทพา บางทีก็ตกง่าย บางทีก็ยากมาก มันเป็นปลาที่ฉลาดมาก น้าๆ ต้องเข้าใจนิสัยมันก่อน ปลาเทพาเป็นปลาที่ล่าเหยื่อเป็นฝูง ประมาณว่า พวกมันชอบไปไหนไปด้วยกันเยอะๆ ชนิดที่ว่าเป็นจากผิวน้ำเลย

บริเวญสีแดงคือจุดที่น้าๆ ตั้งหลักล่ามันก่อนเป็นอันดับแรก ปกติใช้วิธีตีให้ไกลที่สุดครับ แล้วเก็บสายช้าๆ ระหว่างนั้นสังเกตุช่วงปลารวมฝูง โดยวันๆ นึงมันจะรวมฝูงล่าเหยื่อหลายรอบแล้วแต่ดวง ถ้ามาแบบโหดๆ ก็ให้นึกภาพจะฝูงโลมาปิดล้อมปลาเหยื่อแล้วรุมกินนั้นล่ะ .. ถ้าเจอแบบนั้นรีบตีลงกลางวงได้เลย รับประกันมีเฮ

Advertisements

เหยื่อ-วิธีที่ใช้ (โอกาสได้ตัว)

Advertisements

เทพามักจะล่าเหยื่อระยะกลางน้ำ – ผิวน้ำ ถามว่ากินอะไรดีกว่ากัน ผมว่าแล้วแต่วัน น้าควรเตรียมไปทั้ง 2 แบบ โดยเหยื่อที่มันชอบ ถ้าเป็นผิวน้ำ ต้องตัวใหญ่ใหญ่ 10cm+ จะดี ให้เป็นเหยื่อแบบ “ลอยโง่ๆ” (แอคชั่นน้อยๆ) จะดีมาก เท่าที่สังเกตุมันชอบหลงกลเหยื่อพวกนี้ หรือจะเป็น NorthCraft Air Ogre F, SLM ไซต์ 70+ ก็ได้

แต่ปกติผมใช้เหยื่อของผมเองตกอะนะ พวก Toyger หรือ SnowShoe แบบกลางน้ำ – ผิวน้ำ ก็ได้ตัวประจำ ลากมาเงียบๆ แต่..! ไม่ว่าจะใช้เหยื่ออะไร สำหรับเทพาบ่อนี้ ต้องสังเกตุการรวมฝูง และพยายามตีเข้าไปนะครับ ..สุดหรับพื้นที่สีฟ้าถ้ามันไปรวมล่าแถวนั้นเราก็ต้องตามไปตีอะนะ

อ่านเรื่อง : ปลาเทพา เจ้าแห่งแม่น้ำเจ้าพระยา

บ่อหมายเลข 9

บ่อ #9 บ่อนี้เป็นบ่อชะโดหลักของ Pilot 111 มีปลาชะโดแน่นมากๆๆ โดยเฉพาะพื้นที่สีแดง มันแน่นซะจนลากมาชนตัวบ่อยๆ เลย แต่ไม่ได้หมายความว่าจะได้ตัวง่ายนะ บางวันก็แย่

เหยื่อ-วิธีที่ใช้ (โอกาสได้ตัว)

จริงๆ บ่อนี้ผมว่าค่อนข้างได้ตัวง่าย ถ้าน้าๆ ไม่เจอวันซวยจริงๆ เพราะปลาชะโดค่อนข้างเยอะมาก หากถามว่าผมเคยไม่ได้ตัวหรือเปล่า ก็คงต้องบอกว่าไม่เคยนะ ปลาบ่อนี้กินเหยื่อ ทุกระดับ ทั้งผิวน้ำ – กลางน้ำ – พื้น กินเหยื่อทั้งใบพัด ปลายางหัวจิ๊กตัวโตนิดนึง ปลั๊ก เพนซิล เจิร์กเบท คล้ายๆ กับที่ใช้บ่อ 6 นั้นล่ะได้หมด

สิ่งที่น้าๆ ต้องทำคืออ่านว่าพวกมันกินเหยื่อช้า-เร็วแค่ไหน หรือกินไกล และระดับน้ำที่กินบ่อยคือยังไง ถ้าเจอเมื่อไรล่ะก็เพลินแน่นอน อย่าลืมชุดปลายสายก็ใช้ช็อคใหญ่นิดนะครับ เพราะยังไงก็เป็นการชะโด

ไซต์ชะโดในบ่อ..? บอกเลยว่าบ่อนี้มีไซต์สัตว์ประหลาดนะ แต่ผมว่าไม่ได้ตัวง่ายๆ หลอก มันไม่กินเบ็ดอะ ส่วนใหญ่ก็ไซต์เล็ก – กลาง ตามภาพเลย

บ่ออื่นขอพูดรวมๆ

สำหรับบ่ออื่นๆ ผมขอพูดรวมๆ เอานะครับ เพราะมันเป็นเหมือนบ่อประกอบ แต่ก็มีสัตว์ประหลาด และข้อดีอยู่ อย่างบางทีในช่วงเวลาที่บ่อทั้ง 3 เงียบ ก็สามารถไปลองได้ อาจเจอดีเช่นกัน

บ่อหมายเลข 4 (กะพงใหญ่)

จริงๆ บ่อนี้ถ้าไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนไปในช่วงโควิด (ปีนี้ผมยังไม่ได้ลองบ่อนี้) มันเป็นบ่อที่มีกะพงใหญ่อยู่ จริงๆ ก็พอๆ กับบ่อ 6 นั้นละ เพียงแต่บ่อนี้ไม่ค่อยมีตัวเล็ก ถ้าบ่ออื่นเงียบแนะนำให้มาลองบ่อนี้ก่อน

Advertisements

บ่อหมายเลข 3, 5 (กะพงทั่วไป)

บ่อ 3 และ 5 เป็นบ่อกะพงเช่นกัน บางวันกินดีนะบอกไว้เลย ตัวเล็กจะเยอะหน่อย แต่ถึงงั้นก็ยังเป็นไซต์ที่สนุก เขตที่ตก ฝั่งถนนอะจะดีครับ เหยื่อใช้เหมือนบ่อ 6

บ่อหมายเลข 7 (?)

จริงๆ บ่อนี้เคยเป็นบ่อกะพง-ชะโดค่อนข้างดีเลย แต่ล่าสุดเห็นเปลี่ยนให้เป็นบ่อปลาเกล็ด หรือเลี้ยงพวกปลานิล ปลาเกล็ด แต่อาจจะกลายเป็นปลากะพงอีกก็ได้ เพราะบ่อนี้ถูกเปลี่ยนบ่อยเหลือเกิน 555+

บ่อหมายเลข 8 (?)

ปกติบ่อนี้เคยเป็นที่อยู่ของเทพา แต่มันก็ถูกย้ายไปย้ายมาระหว่าง 8 และ 10 โดยล่าสุดเทพาก็ไป 10 ซะแล้ว สำหรับบ่อ 8 เป็นบ่อขนาดค่อนข้างเล็ก มันยากที่จะสู้กับเทพา ผมว่าดีแล้วที่ย้ายไปนะ ส่วนล่าสุดมีปลาอะไรไม่ใจ 555+ แต่ที่แน่ๆ บ่อนี้มีกะพงใหญ่แอบอยู่

สรุป

ไพรอท 111 (Pilot 111) ถือเป็นบ่อตกปลาที่ค่อนข้างแพง สำหรับการตกปล่อย แต่สิ่งที่ได้คือความปลอดภัย ค่อนข้างดี มีกล้องติดตั้งอยู่หลายจุด สะอาด เรื่องอาหารถือว่าอร่อยครับ ถึงจะแพงเมื่อเทียบกับบ่อหนุ่ม ปลาที่ไพรอท มีให้ตกหลากหลาย และมีหลายบ่อ เลยทำให้มีโอกาสให้เราเดินหาปลาได้ เพราะหากมีแค่ 1 – 2 บ่อ ถ้าวันที่ปลาไม่กิน น้าจะแห้วยาว ไม่สามารถดิ้นรนได้  ..สรุปคือถ้าอยากสบาย ปลอดภัย ปลาตัวใหญ่ ใกล้กรุงเทพ ก็เป็นตัวเลือกที่ดี

อ่านเรื่อง : เคาะปลั๊กคืออะไร เรียนรู้พื้นฐานการเคาะ และสิ่งที่เรียกว่าปลั๊ก

Advertisements