สัตว์ป่า 17 ชนิดที่ประกาศการสูญพันธุ์ ในช่วงร้อยปี

ก่อนอื่นต้องบอกว่าในช่วงร้อยปีที่ผ่านมา ไม่ได้มีเพียงแค่สัตว์ 17 ชนิดนี้ที่ถูกประกาศการสูญพันธุ์ไปแล้ว แน่นอนว่ายังมีอีกหลายสายพันธุ์ที่ไม่ได้พบเจอมาหลายสิบปี และพวกมันเองก็รอการประกาศเช่นเดียวกัน หลายชนิดสูญพันธุ์ไปเพราะภัยธรรมชาติ แต่ส่วนมากพวกมันต้องสูญพันธุ์ไปเพราะผลกระทบจากมนุษย์ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม และนี่คือ สัตว์ป่า 17 ชนิดที่สูญพันธุ์ไปแล้ว

ชนิดที่ 1 – นกเป็ดผีอเลโอทรา (Alaotra Grebe)

Advertisements

นกเป็ดผีอเลโอทราเป็นนกน้ำท้องถิ่นในมาดากัสการ์ เมื่อโตเต็มวัย มีความยาวเพียง 25 เซนติเมตร มันได้รับผลกระทบจากการล่า และการใช้ตาข่ายจับปลา และในขณะที่ยังเป็นลูกเป็ด พวกมันก็ตกเป็นเหยื่อของปลาช่อนมาคูลาต้า (Channa maculata) สุดท้ายเมื่อประชากรเหลือน้อยลง ก็เริ่มมีการผสมกับเป็ดผีชนิดอื่น จนในที่สุดก็ถูกประกาศว่าสูญพันธุ์อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2553 (2010)

นกเป็ดผีอเลโอทรา (Alaotra Grebe)

ชนิดที่ 2 – เต่ายักษ์เกาะพินต้า (Pinta Tortoise)

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ปี พ.ศ. 2555 (2012) เต่ายักษ์แห่งเกาะพินต้าในหมู่เกาะกาลาปากอส ที่มีชื่อว่า “George” ได้ตายลง มันมีอายุมากถึง 100 ปี และยังเป็นเต่ายักษ์แห่งเกาะพินต้าตัวสุดท้ายของโลก มันถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2515 (1972) และได้นำไปเลี้ยงในสถานที่เพาะพันธุ์ เพื่อที่จะหาตัวเมียมาเพิ่มประชากร ..แต่ก็ไม่มี

เต่ายักษ์เกาะพินต้า (Pinta Tortoise)

ชนิดที่ 3 – เสือลายเมฆฟอร์โมซา (Formosan Clouded Leopard)

เสือลายเมฆฟอร์โมซา หรือ เสือลายเมฆแห่งเกาะไต้หวัน พวกมันถูกคุกคามทั้งจากการทำลายแหล่งที่อยู่อาศัย ตายโดยอุบัติเหตุ และการล่าของมนุษย์ ทำให้ประชากรพวกมันลดลงอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ภายหลังจะมีความพยายามจะอนุรักษ์ แต่ก็สายไปซะแล้ว

เสือลายเมฆฟอร์โมซา (Formosan Clouded Leopard)
Advertisements

ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2543 (2000) ได้มีการตั้งกล้องเพื่อตามหาพวกมัน แต่ก็ไม่พบเห็นแม้แต่ตัวเดียว หลังจากแปดปีในการค้นหาที่ล้มเหลว เสือลายเมฆไต้หวันก็ได้รับการประกาศว่าสูญพันธุ์อย่างสมบรูณ์ ถึงแม้ในปัจจุบันยังมีรายงานคนพบเห็น แต่ก็ไม่มีหลักฐานที่เป็นชิ้นเป็นอัน

ชนิดที่ 4 – ปลาหวีเกศ (Siamese schilbeid catfish)

Advertisements

ปลาหวีเกศ หรือ เกด หรือ สายยู เป็นปลาที่พบได้เฉพาะในลุ่มน้ำเจ้าพระยาของไทย และในปี พ.ศ. 2554 มันก็ถูกประกาศการสูญพันธุ์ และยังเป็นปลาเพียงชนิดเดียวของไทยที่ถูกประกาศว่าสูญพันธุ์ โดยปลาหวีเกศมีความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร เป็นปลาไม่มีเกล็ด มีลักษณะของปลาสังกะวาดและปลาเนื้ออ่อนผสมกัน ลำตัวเรียวยาว มีลักษณะเด่นคือ มีหนวดยาวแต่จะแบน ดูไม่เป็นเส้น แต่คล้ายกับเส้นผมของผู้หญิง จึงเป็นที่มาของชื่อ “หวีเกศ”

ปลาหวีเกศ (Siamese schilbeid catfish)

ชนิดที่ 5 – แมวน้ำแคริเบียน (Caribbean monk seal)

แมวน้ำหน้าตาน่ารัก อัธยาศัยดีที่อาศัยอยู่ในทะเลแคริบเบียน มีรายงานการค้นพบมาเนิ่นนานตั้งแต่สมัยคริสโตเฟอร์โคลัมบัสเดินเรือมายังอเมริกาในปี พ.ศ. 2037 (1494) ประมาณการว่ามีมากมายนับพันนับหมื่นตัว นอนอาบแดดบนชายหาดกันเป็นกลุ่มใหญ่

จนกระทั่งปี พ.ศ. 2231 (1688) เริ่มมีการทำเกษตรกรรมบนเกาะเล็กเกาะน้อย และมีการล่าแมวน้ำชนิดนี้เพื่อนำเอาไขมันใต้ชั้นผิวหนังมาหล่อลื่นเครื่องจักร และใส่ตะเกียงสำหรับเดินเรือ แล้วเพราะพวกมันไม่กลัวมนุษย์แถมยังเป็นสัตว์ที่อยากรู้อยากเห็น ทำให้พวกมันถูกล่าได้ง่าย เป็นเหตุให้ประชากรของพวกมันลดลงอย่างรวดเร็วและกลายเป็นสัตว์หายากสุดๆ

แมวน้ำแคริเบียน (Caribbean monk seal)
Advertisements

มีรายงานการพบเห็นแมวน้ำชนิดนี้ครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2495 (1952) และแม้จะมีการสำรวจอย่างจริงจัง แต่กลับไม่พบร่องรอยของมันอีกเลย จนเมื่อปี พ.ศ. 2551 (2008) พวกมันก็กลายเป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปจากโลกตลอดกาล

ชนิดที่ 6 – นกพิราบลิเวอร์พูล (Liverpool pigeon)

นกพิราบลิเวอร์พูล เป็นนกที่สวยงาม มันมีสีดำเขียวอันเป็นเอกลักษณ์ เป็นนกที่มีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร พบในแปซิฟิคใต้และมหาสมุทรอินเดีย พวกมันถูกล่าอย่างหนักจนกระทั้งโดนประกาศการสูญพันธุ์อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2551 (2008)

นกพิราบลิเวอร์พูล (Liverpool pigeon)

ชนิดที่ 7 – แรดดำแอฟริกาตะวันตก (West African Black Rhinoceros)

Advertisements

ในอดีตพวกมันเคยมีจำนวนนับล้านตัว แต่ไม่นานนักพวกมันก็ถูกล่าอย่างหนัก ในช่วงปี พ.ศ. 2503 (1960) จนถึงปี พ.ศ. 2538 (1995) ประชากรของพวกมันก็ตายไปถึง 98% สาเหตุหลักของการถูกล่าคือการเอานอไปขาย

จนในปี พ.ศ. 2540 (1997) แรดดำก็ไม่เหลือให้เห็น และจากความพยายามค้นหาอยู่หลายปี แต่ก็ไม่พบแม้แต่ตัวเดียว จนในปี พ.ศ. 2554 (2011) แรดดำแอฟริกาตะวันตก ซึ่งเป็นชนิดย่อยของแรดดำ ก็ถูกประกาศการสูญพันธุ์อย่างเป็นทางการ

แรดดำแอฟริกาตะวันตก (West African Black Rhinoceros)

ชนิดที่ 8 – ค้างคาวเกาะคริสต์มาส (Christmas Island Pipistrelle)

ค้างคาวจิ๋วที่หนักไม่เกิน 4.5 กรัม เป็นค้างคาวที่มีขนสีเหลือง จัดเป็นค้างคาวชนิดที่เล็กที่สุดในออสเตรเลีย ถูกประกาศว่าสูญพันธุ์ในปี พ.ศ. 2552 (2009) สาเหตุการสูญพันธุ์ของมันนั้นมาจากการใช้ยาฆ่าแมลงเพื่อการเกษตรบนเกาะ รวมถึงบินมาติดตะข่ายที่ชาวสวนทำไว้

ค้างคาวเกาะคริสต์มาส (Christmas Island Pipistrelle)
Advertisements

ชนิดที่ 9 – โลมาแม่น้ำแยงซีเกียง (Yangtze River Dolphin)

แม่น้ำแยงซีที่มีความยาว 6,300 กิโลเมตร ซึ่งแต่เดิม โลมาไบจิ หรือ โลมาแม่น้ำแยงซีเกียง เป็นสัตว์ประจำแม่น้ำแยงซีเกียงของจีน พวกมันได้รับผลกระทบจากมลภาวะ และยังมีปัญหาจากการสร้างเขื่อน ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนำทางของพวกโลมา ทำให้มันหาเหยื่อยากขึ้น โดยโลมาแม่น้ำแยงซีเกียง ถูกพบครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2537 (1994) หลังจากนั้นก็มีรายงานการพบเห็นอยู่บ้างแต่ไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ จนมันได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการว่าสูญพันธุ์ในปี พ.ศ. 2549 (2006)

โลมาแม่น้ำแยงซีเกียง (Yangtze River Dolphin)

ชนิดที่ 10 – ฉลามปากเป็ดจีน (Chinese Paddlefish)

ฉลามปากเป็ด หนึ่งในปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ตัวโตเต็มวัยจะยาวได้ถึง 7 เมตร เป็นสายพันธุ์ปลาโบราณที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่คร่าชีวิตไดโนเสาร์และสัตว์เลื้อยคลานทางทะเลขนาดใหญ่มาได้ โดย ฉลามปากเป็ดจีน ถูกพบเห็นครั้งสุดท้ายปี พ.ศ. 2546 (2003) จนในปี พ.ศ. 2563 (2020) ปลาหายากชนิดนี้ก็ถูกประกาศการสูญพันธุ์อย่างเป็นทางการ

ฉลามปากเป็ดจีน (Chinese Paddlefish)

ชนิดที่ 11 – นกพิราบแพสเซนเจอะ (Ectopistes migratorius)

พวกมันอาศัยอยู่บินอยู่ที่อเมริกาเหนือ ฝูงของพวกมันเคยมี 3 พันล้านตัว เมื่อพวกมันบินพร้อมกัน ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงกว่าจะบินผ่านท้องฟ้าเหนือหัวคุณไปได้

สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้นกชนิดนี้สูญพันธุ์ก็คือ “มนุษย์” พวกมันถูกล่าในช่วงศตวรรษที่ 19 ทั้งเพื่อเป็นอาหาร กีฬา และเพื่อปกป้องพืชไร่ของพวกเขา นั้นเพราะนกชนิดกินพืช และด้วยจำนวน 3 พันล้านตัว พวกมันก็คล้ายกับฝูงตั๊กแตน

นกพิราบแพสเซนเจอะ (Ectopistes migratorius)

นกพิราบแพสเซนเจอะ ฝูงสุดท้ายถูกพบเมื่อปี พ.ศ. 2439 (1896) พวกมันมีเหลืออยู่ประมาณ 250,000 ตัว และถูกฆ่าเกือบทั้งหมดภายในวันเดียว คงเหลือประมาณ 5 พันตัวที่รอดไปได้

ต่อมาในปี พ.ศ. 2443 (1900) นกพิราบแพสเซนเจอะ ที่อยู่ในป่าตัวสุดท้ายก็ถูกยิงตายที่ทางตอนใต้ของรัฐโอไฮโอ จนมาถึงปี พ.ศ. 2457 (1914) นกพิราบแพสเซนเจอะ ตัวสุดท้ายของโลกที่ชื่อว่า “มาร์ธา” ก็ตายที่สวนสัตว์ซินซินนาติ และมันก็เป็นการสูญพันธุ์โดยสมบรูณ์ของนกพิราบชนิดที่เคยมีประชากรมากที่สุดในโลก

ชนิดที่ 12 – สมัน (Schomburgk’s deer)

สมัน หรือ เนื้อสมัน มีขนาดประมาณ 180 เซนติเมตร ลักษณะเด่น ตัวผู้จะมีเขาแตกแขนงออกไปมากมายเหมือนกิ่งไม้ แลดูสวยงาม จึงได้ชื่อว่าเป็นกวางที่มีเขาสวยที่สุดในโลก เป็นสัตว์เฉพาะถิ่นที่อาศัยอยู่บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทยเท่านั้น พวกมันเคยมีอยู่มากมายแม้ในพื้นที่กรุงเทพ

สมัน (Schomburgk’s deer)

แต่น่าเสียดายที่ถิ่นที่อยู่ของพวกมันเต็มไปด้วยมนุษย์ ด้วยความที่สมันเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในทุ่งโล่งกว้าง พวกมันไม่สามารถหลบหนีเข้าป่าทึบได้ เนื่องจากเขาที่มีกิ่งก้านสวยงามของมัน จะไปติดพันกับกิ่งไม้ จึงเป็นจุดอ่อนที่ทำให้ถูกล่าได้อย่างง่ายดาย

สมันตัวสุดท้ายของโลก เท่าที่มีการบันทึก คือสมันตัวผู้ที่ถูกเลี้ยงดูในสวนสัตว์เบอร์ลิน ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2442 และตายลงไปในวันที่ 7 กันยายน ปี พ.ศ. 2454 ส่วนสมันตัวสุดท้ายที่ตายในไทย ตามบรรทึกระบุว่า ถูกขี้เมาตีจนตายในปี พ.ศ. 2481

ชนิดที่ 13 – ตั๊กแตนภูเขาร็อกกี (Rocky Mountain locust)

ตั๊กแตนภูเขาร็อกกี คือฝูงตั๊กแตนที่มีมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งจนถึงทุกวันนี้ ก็ไม่เคยมีฝูงตั๊กแตนที่ไหนรวมตัวได้มากเท่ากับพวกมัน โดยครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2418 (1875) มีบันทึกการพบตั๊กแตนภูเขาร็อกกี รวมตัวกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งกินพื้นที่มากกว่า 510,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ใหญ่กว่ารัฐแคลิฟอร์เนีย ฝูงของพวกมันคุมท้องฟ้าของไทยตั้งแต่ใต้สุดจนถึงเหนือสุดเลยทีเดียว และมีการคำนวนน้ำหนักรวมของพวกมันเอาไว้ที่ 27.5 ล้านตัน ประกอบด้วยตั๊กแตนจำนวน 12.5 ล้านล้านตัว

ตั๊กแตนภูเขาร็อกกี (Rocky Mountain locust)

เป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อที่ตั๊กแตนที่ได้ชื่อว่า มีมากที่สุดในตั๊กแตนทุกสายพันธุ์บนโลก จะสูญพันธุ์ไปอย่างสมบรูณ์ภายในเวลาไม่กี่ปี โดยตามบันทึกระบุว่า มีการพบเห็นครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2445 (1902) ทางตอนใต้ของแคนาดา จากนั้นก็ไม่เคยเจอพวกมันอีกแม้แต่ตัวเดียว

และในตอนนี้สามารถพบเห็นฝูงของพวกมันในสภาพถูกแช่แข็งในธารน้ำแข็ง กราส’ฮอพเพอะ กลาเซียร์ (Grasshopper Glacier) ตั้งอยู่เหนือระดับน้ำทะเล 3,350 เมตร และเพราะนักวิจัยพบพวกมันถูกแช่แข็งอยู่นับพันล้านตัว พวกเขาจึงสันนิษฐานได้ว่าพวกมันอาจอพยพในช่วงเวลาที่ผิด หรืออาจบินผิดทิศ หรืออาจเพราะสภาพอากาศรุนแรงจนเกินไป จนสุดท้ายพวกมันก็ต้องยอมจำนน ขณะที่บินอยู่เหนือยอดเขาที่เย็นยะเยือกของธารน้ำแข็งที่มีหิมะตกหนัก และสุดท้ายธารน้ำแข็งก็เก็บพวกมันเอาไว้

ชนิดที่ 14 – หนูเมโลมิส (Bramble Cay melomys)

หนูเมโลมิส หรือ หนูหางโมเสก หนูขนาดเล็กชนิดนี้พบได้เฉพาะบนเกาะขนาดเล็กที่ห่างไกลของออสเตรเลีย มันเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดแรกที่ถูกประกาศการสูญพันธุ์เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มนุษย์เป็นต้นเหตุ

หนูเมโลมิส พบอาศัยอยู่บนเกาะขนาดเล็กแห่งเดียว ซึ่งเกาะแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของสันดอนทรายของแนวปะการัง Great Barrier Reef ในพื้นที่ของออสเตรเลีย โดยจากการสำรวจล่าสุดพบเกาะแห่งนี้ก็มีความสูงจากระดับน้ำทะเลเพียง 3 เมตร

หนูเมโลมิส (Bramble Cay melomys)

ด้วยน้ำทะเลที่ท่วมเกาะทำให้ดินเค็ม ต้นไม้ขึ้นได้น้อย จนเกาะเกือบจะเป็นพื้นที่แห้งแล้งโดยสมบูรณ์ และสัตว์ฟันแทะอย่างหนูก็มีพืชกินน้อยลง สุดท้ายสูญเสียแห่งอาหาร สูญเสียที่อยู่อาศัย บางตัวต้องจมน้ำตาย จนทำให้ประชากรของพวกมันล่มสลาย โดยหนูชนิดนี้ถูกพบครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2552 (2009) และถูกประกาศการสูญพันธุ์ในปี พ.ศ. 2558 (2015)

ชนิดที่ 15 – เสือแทสเมเนีย (Tasmanian tiger)

เสือแทสเมเนีย หรือ ไทลาซีน เป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์โดยฝีมือมนุษย์อย่างแท้จริง และเพราะมันถูกตั้งค่าหัว จึงเป็นเหตุให้พวกมันสูญพันธุ์อย่างรวดเร็ว ซึ่งการล่าเริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2383 (1840) จนในปี พ.ศ. 2423 (1880) รัฐบาลออสเตรเลียก็เข้ามาสนับสนุนการล่า กว่าจะรู้ว่ามันเป็นสัตว์ที่หายากและพบได้เพียงแห่งเดียวบนโลกก็สายไปแล้ว ในขณะที่เสือแทสเมเนียตัวสุดท้ายของโลก ตายในปี พ.ศ. 2479 (1936) ที่สวนสัตว์โฮบาร์ตในรัฐแทสเมเนีย

เสือแทสเมเนีย (Tasmanian tiger)

ชนิดที่ 16 – นกคาไวอิโอโอ (Kauaʻi ʻōʻō)

นกคาไว (Kauaʻi ʻōʻō) เป็นนกขนาดเล็ก ที่พบได้เฉพาะบนเกาะคาไว (island of Kauaʻi) ซึ่งเป็นเกาะใหญ่เป็นอันดับสองของหมู่เกาะฮาวาย ในอดีตนกชนิดนี้พบได้ทั่วไปบนเกาะ จนในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ทุกอย่างก็เปลี่ยนไป เมื่อสภาพของเกาะเสื่อมโทรมลง เนื่องจากการเพิ่มจำนวนของสัตว์ผู้ล่าชนิดใหม่ เช่น หนู พังพอน โรคที่มากับยูง และการตัดไม้ทำลายป่า

นกคาไวอิโอโอ (Kauaʻi ʻōʻō)

ด้วยเหตุนี้นกคาไวจึงลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว จนมีการพบเห็นครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2528 (1985) และได้ยินเสียงของนกคาไวอิเป็นครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2530 (1987) และนี่นับเป็นครั้งแรกที่มีนกสูญพันธุ์ทั้งสกุลในรอบ 500 ปี

ชนิดที่ 17 – นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (White-eyed River-Martin)

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรถูกพบในปี พ.ศ. 2510 (1967) โดยนักวิจัยจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย พวกเขาได้ดักจับนกนางแอ่นจากบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อศึกษาเรื่องการอพยพย้ายถิ่นของสัตว์ต่างๆ

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (White-eyed River-Martin)

เป็นนกเฉพาะถิ่นที่พบได้เฉพาะที่บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ มีรายงานการพบครั้งสุดท้ายปี พ.ศ. 2523 (1980) และถูกจัดให้อยู่ในสถานะ “สูญพันธุ์” แต่บางแหล่งข้อมูลให้อยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ขั้นวิกฤติ และนอกจากนี้นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรยังจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนของประเทศไทยอีกด้วย

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements