นักวิจัยชี้ ‘ห่าน’ อาจเป็นนกบ้านตัวแรกที่มนุษย์เลี้ยง

แม้ว่ามนุษย์จะเป็นเพียงเศษของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนโลกใบนี้ แต่ผลกระทบของเราที่มีต่อความหลากหลายและสัตว์ป่าก็มีมหาศาล บางกิจกรรมของมนุษย์มีส่วนทำให้สูญเสียสัตว์ป่าถึง 80% และพืชประมาณ 50% การสูญเสียส่วนใหญ่นี้จำเป็นต่อการทำฟาร์มปศุสัตว์เพื่อการบริโภคของมนุษย์

ห่าน

เพียงพิจารณาข้อเท็จจริงนี้ 70% ของนกทั้งหมดบนโลกเป็นไก่และสัตว์ปีกอื่นๆ ในขณะที่นกป่าจริงๆ จะมีเพียง 30% หากเป็นนักโบราณคดีจากต่างดาวที่มาเยือนโลกของเรา หลังจากที่มนุษย์สูญพันธุ์ไปแล้ว พวกเขาก็จะต้องพบฟอสซิลไก่ที่มีอยู่มากมายบนโลก “แต่ก่อนที่เราจะกินไข่และปีกไก่ร้อนๆ เราน่าจะเริ่มจากห่านก่อน”

นักโบราณคดีชาวญี่ปุ่นได้ทำการขุดค้นที่ Tianluoshan ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีที่มีอายุระหว่าง 7,000 – 5,500 ปีก่อน ซึ่งอยู่ในประเทศจีน จนได้พบหลักฐานมากมาย เกี่ยวกับการเลี้ยงห่าน พวกเขาอ้างว่านี่เป็นหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดของรายงานการเลี้ยงนกของมนุษย์ที่พวกเรารู้ตอนนี้

ทีมงานระบุว่า กระดูกห่าน 232 ชิ้น ซึ่งได้วาดภาพที่น่าเชื่อถือว่า Tianluoshan อาจเป็นแหล่งกำเนิดของสัตว์ปีกสมัยใหม่ อย่างแรกและสำคัญที่สุด นักวิจัยทำการแสดงเรดิโอคาร์บอนที่กระดูกด้วยตัวเอง แทนที่จะเป็นตะกอนที่ปกคลุมซาก สิ่งนี้ทำให้มั่นใจได้ว่ากระดูกห่านนั้นมีอายุถึง 7,000 ปีจริงๆ

กระดูกอย่างน้อยสี่ชิ้นเป็นห่านที่มีอายุไม่เกิน 16 สัปดาห์ นี่แสดงให้เห็นว่า พวกมันต้องฟักไข่ที่โรงเลี้ยง เพราะคงเป็นไปไม่ได้ที่พวกมันจะบินมาจากที่อื่นด้วยวัยของพวกมัน กรณีนี้น่าจะเป็นกรณีของห่านที่โตเต็มวัยที่พบที่นั่นเช่นกัน เนื่องจากห่านป่าไม่ได้ผสมพันธุ์ในพื้นแถบนี้ และอาจไม่ได้เกิดเมื่อ 7,000 ปีก่อนเช่นกัน

แต่เพื่อความแน่ใจ ทีมที่นำโดยมาซากิ เอดะ ที่พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยฮอกไกโดในซัปโปโร ประเทศญี่ปุ่น ได้ตรวจสอบส่วนประกอบทางเคมีของกระดูกโบราณอย่างละเอียด และแสดงให้เห็นว่าน้ำที่พวกมันดื่มเป็นของท้องถิ่น ขนาดที่สม่ำเสมออย่างน่าทึ่งของห่านยังบ่งบอกถึงการผสมพันธุ์ของห่านเลี้ยงอีกด้วย

แม้ว่าตอนนี้จะไม่มีทางสรุปเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจน แต่หลักฐานทั้งหมดเหล่านี้มาบรรจบกันเป็นข้อสรุปเดียวกัน “ห่านอาจเป็นนกตัวแรกที่มนุษย์เคยเลี้ยงไว้ และสิ่งนี้เกิดขึ้นเมื่อกว่า 7,000 ปีก่อนในประเทศจีน”

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements