หลักฐานใหม่ทำให้ ‘งูทะเล 4 ขา’ กลายเป็น ‘กิ้งก่าทะเล 4 ขา’

ในปี 2015 นักบรรพชีวินวิทยาได้ประกาศการค้นพบที่น่าทึ่งครั้งใหม่ ซากดึกดำบรรพ์จากยุคครีเทเชียสที่พบในบราซิลชิ้นนี้เป็นโครงกระดูกที่สมบูรณ์ของสัตว์ที่ดูเหมือนงู แต่จุดที่สะดุดตาคือขาเล็กๆ สี่ขาที่ข้างลำตัวที่เล็กมากๆ ของมัน

กิ้งก่าทะเล 4 ขา

การค้นพบครั้งนี้ไม่ต่างจากการพบ “จอกศักดิ์สิทธิ์” ทางบรรพชีวินวิทยา พวกเขาตั้งชื่อสัตว์ชนิดนี้ว่า เตตระโพโดฟิส (Tetrapodophis amplectus) เชื่อว่ามันคือตัวเชื่อมโยงที่ขาดหายไประหว่างงูและกิ้งก่า

แต่มีปัญหาเพียงอย่างเดียว จากการวิเคราะห์ซากเตตระโพโดฟิส (จากภาษากรีกแปลว่า “งูสี่ขา”) ครั้งล่าสุด พบว่ามันไม่ใช่ “งู” แต่เป็นสายพันธุ์ของกิ้งก่าทะเลที่สูญพันธุ์ไปแล้วซึ่งมีอายุมากกว่า 110 ล้านปี

Michael Caldwell นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยอัลเบอร์ตาในแคนาดากล่าวว่า “มีคำถามที่เกี่ยวกับวิวัฒนาการมากมาย ที่สามารถให้คำตอบได้จากฟอสซิลงูสี่ขาตัวนี้ เพียงแต่ถ้ามันเป็นงูจริงๆ”

“ข้อสรุปที่สำคัญของของเราคือ เตตระโพโดฟิส ไม่ใช่งูจริงๆ และมันถูกจัดประเภทผิด แต่ทุกแง่มุมของกายวิภาคศาสตร์นั้น มันสอดคล้องกับกายวิภาคของกลุ่มกิ้งก่าทะเลที่สูญพันธุ์จากยุคครีเทเชียสที่เรียกว่า โดลิโคซอรัส (dolicosaurs)”

เป็นที่ยอมรับกันมานานแล้วว่างูไม่ได้ไร้ขามาตั้งแต่แรก เรายังมีฟอสซิลอื่นๆ ที่ยืนยันเรื่องนี้ เช่น นาจาช (Najash rioegrina) ซึ่งเป็นงูที่อยู่เมื่อประมาณ 95 ล้านปีก่อน มันถูกพบในปี 2006 มันมีขาเล็กๆ ด้านหลัง 2 ข้าง ..นักบรรพชีวินวิทยาคาดหวังว่า ซากดึกดำบรรพ์ของงูสี่ขาที่แท้จริง ต้องอยู่ที่ไหนสักแห่งในเส้นทางการวิวัฒนาการอันยาวนาน

เตตระโพโดฟิส ดูเหมือนจะเป็นตัวเลือกที่มีแนวโน้มเป็นไปได้มากที่สุด การศึกษาในปี 2015 ได้ตรวจสอบและวิเคราะห์กระดูกอย่างละเอียดถี่ถ้วน แต่ Caldwell คิดว่ามีบางอย่างผิดปกติอย่างรวดเร็ว เขาและเพื่อนร่วมงานเสนอข้อโต้แย้งในเดือนตุลาคม 2016 ในการประชุม Society of Vertebrate Paleontology

หลังจากตรวจดูโครงกระดูกแล้ว พวกเขาพบว่าฟันของมันไม่ได้เกี่ยวหรือคล้ายกับฟันของพวกงูเลย กะโหลกศีรษะและโครงกระดูกของมันไม่เหมือนกับงู ทีมงานยังไม่สามารถมองเห็นร่องรอยเกล็ดที่ท้องขนาดใหญ่ที่พบในงูด้วย

ยิ่งไปกว่านั้น ในท้องของมันยังมีอาหารมื้อสุดท้ายที่ดูเหมือนจะเป็นปลา ซึ่งทำให้คิดว่ามันต้องเป็นสัตว์ที่อาศัยในน้ำเป็นหลัก ..งานวิจัยชิ้นใหม่นี้มีความละเอียดมากยิ่งขึ้น โดยหยิบเอาสิ่งที่งานวิจัยในปี 2015 มองข้ามไป นั้นก็คือ หินที่อยู่รอบๆ ฟอสซิล

“เมื่อหินที่บรรจุฟอสซิลถูกแยกออก โครงกระดูกและกะโหลกศีรษะก็ไปอยู่ด้านตรงข้ามของแผ่นหิน โดยมีแม่พิมพ์ตามธรรมชาติที่รักษารูปร่างของแต่ละชิ้นที่อยู่ฝั่งตรงข้ามไว้” Caldwell กล่าว

“งานวิจัยเดิมอธิบายเฉพาะกะโหลกศีรษะและมองข้ามราที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติไป ซึ่งยังคงไว้ซึ่งลักษณะหลายประการที่ทำให้เห็นชัดเจนว่า เตตระโพโดฟิส ไม่มีกะโหลกศีรษะแบบงู

Advertisements
นักบรรพชีวินวิทยาที่อยู่เบื้องหลังการค้นพบดั้งเดิมของการจัดประเภท เตตระโพโดฟิส เป็นงู ยังยืนหยัดตามทฤษฏีของพวกเขาหลังจากเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในปี 2016 ตอนนี้การศึกษาทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยแล้ว ต่อจากนี้ก็ขึ้นอยู่กับนักวิจัยในอนาคตที่จะลงมาโต้แย้งเพิ่มเติมต่อไป

แม้ว่าจะไม่ใช่งู แต่เจ้า เตตระโพโดฟิส ที่บางทีควรจะต้องเปลี่ยนชื่อใหม่ ในตอนนี้ยังมีเรื่องที่เราไม่รู้อีกมาก โครงกระดูกขนาดเล็กนี้ได้รับการเก็บรักษาไว้อย่างประณีต ซึ่งเป็นของขวัญชิ้นสำคัญสำหรับการศึกษาโดลิโคซอรัส ชนิดอื่นๆ เพียงแต่ถ้าสามารถเข้าถึงมันได้เท่านั้น เพราะในปัจจุบัน ฟอสซิลนี้อยู่ในมือของเอกชน ซึ่งขัดต่อกฎหมายของบราซิล

นักบรรพชีวินวิทยากล่าวว่า “ฟอสซิลถูกนำออกจากบราซิลโดยไม่มีการอนุญาตตามกฏหมาย และนับตั้งแต่ตีพิมพ์ครั้งแรก มันได้ถูกจัดเก็บไว้ในคอลเล็กชันส่วนตัวที่มีนักวิจัยเข้าถึงได้จำกัด สถานการณ์ดังกล่าวเป็นปัญหาสำคัญของชุมชนวิทยาศาสตร์” Tiago Simoes จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

“ในการอธิบายเรื่องของ เตตระโพโดฟิส เราวางสถานะทางกฎหมายที่สำคัญของตัวอย่างฟอสซิลและเน้นความจำเป็นในการส่งตัวส่งอย่างประเทศบราซิล ไม่เพียงสอดคล้องกับกฎหมายของบราซิลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสนธิสัญญาระหว่างประเทศและความพยายามระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นเพื่อลดผลกระทบของการสูญหายของฟอสซิล สำหรับทางวิทยาศาสตร์”

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements
แหล่งที่มาsciencealert