จิ้งเหลนน้อยหางยาว ‘สางห่า’ กับความเชื่อว่าเป็นสัตว์ร้าย

จริงๆ สัตว์อย่างสางห่า ผมเองก็ไม่เคยเห็นหรืออาจเพราะไม่ได้สังเกตุก็ไม่รู้ เพราะเจ้าสางห่า จิ้งเหลนน้อยหางยาวที่ตัวไม่ค่อยใหญ่เท่าไร ว่ากันว่าสามารถพบเห็นได้แม้แต่ในกรุงเทพ แต่ด้วยความแปลกประหลาดของมัน เลยทำให้เกิดความเชื่อแปลกๆ ตามมาด้วย อย่างเช่นมันเป็นสัตว์มีพิษ หรือจริงๆ แล้วมันคืองูมีขา เอาล่ะเดี๋ยวเรามาทำความรู้จัก "สางห่า" กันดีกว่า

สางห่า หรือ จิ้งเหลนน้อยหางยาว (Six-striped grass lizard) ชื่อวิทยาศาสตร์ Takydromus sexlineatus) เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่จัดอยู่ในอันดับ Squamata เช่นเดียวกับงูและกิ้งก่า จัดอยู่ในวงศ์จิ้งเหลนน้อยหางยาว (Lacertidae)

ความเชื่อเกี่ยวกับสางห่า

Advertisements

ยังไงก็ขอเข้าเรื่องนี้ก่อน กับความเชื่อของสางห่าในไทยในหลายภาค โดยเฉพาะภาคอีสาน จะมีความเชื่อว่าสัตว์เลื้อยคลานชนิดนี้เป็นสิ่งมีชีวิตลึกลับ ที่ชอบอาศัยอยู่ตามแอ่งน้ำหรือในถ้ำ เป็นสัตว์เลื้อยคลาน “มีพิษอยู่ที่เขี้ยว” หรือบางความเชื่อว่า “มีพิษอยู่ที่เล็บ”

หรือแม้แต่อยู่ที่หาง ..ว่ากันว่าหากถูกหางของมันฟาดเข้า จะจะเกิดเป็นรอยแผลไหม้จนถึงแก่ความตายได้

ส่วนทางแถบภาคกลางก็ไม่น้อยหน้า เชื่อว่า สางห่าเป็นงูขนาดเล็กชนิดหนึ่งที่มีขา อาศัยอยู่ตามยอดหญ้า พอหญ้าเหี่ยวเฉา ก็จะย้ายไปหาหญ้าใหม่ บางท้องที่เชื่อว่า สางห่าเป็นคางคกป่าชนิดหนึ่ง และมีเสียงร้องคล้ายเสียงสุนัขเห่า .. “ความจริงแล้ว สางห่าไม่มีพิษ และไม่มีภัยอะไรต่อมนุษย์เลย”

ซึ่งจากความเชื่อนี้ ทำให้สางห่าได้ถูกอ้างอิงถึงในวรรณกรรมเรื่อง “เพชรพระอุมา” ของพนมเทียน เป็นสัตว์ประหลาดหรือธิดาของพญานาค นอกจากนี้แล้ว สางห่ายังมีชื่อเรียกอื่นๆ อีก เช่น งูคา, กิ้งก่าน้อยหางยาว หรือ กระห่าง

สางห่า

เรื่องน่ารู้เพิ่มเติมของสางห่า

สางห่า ก็คล้ายกับ จิ้งเหลนในวงศ์ Scincidae หรือจิ้งเหลนทั่วไป แต่ความพิเศษของมันคือ มีขนาดลำตัวเรียวยาวเล็กกว่า และยังมีหางที่ยาวเรียวมากอีกด้วย โดยปกติแล้ว หางจะยาวเป็น 5 เท่าของลำตัว เกล็ดของสางห่า จะปกคลุมลำตัวด้านหลังและด้านท้องรูปร่างกลมและเรียบเป็นมัน

Advertisements

สางห่าจะมี หางยาว หลายชนิดปล่อยหางหลุดจากลำตัวได้เช่นเดียวกับ จิ้งจก ทั้งนี้ก็เพื่อเอาตัวรอดจากศัตรู ลำตัวมีสีน้ำตาลหรือสีเทาหรือเทาอมเขียว ขาหน้าและขาหลังค่อนข้างยาว นิ้วตีนยาว นิ้วตีนทุกนิ้วมีเล็บและตัวเล็บโค้งลงทางด้านล่าง ตัวผู้ที่ข้างลำตัวมีจุดกลมสีขาวอมเขียว 10 -12 จุด

สางห่ามีขนาดความยาวจากปลายปากถึงรูก้น 65 มิลลิเมตร และหางยาว 300 มิลลิเมตร พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทวีปเอเชียในหลายประเทศ เช่น อินเดีย, ตอนใต้ของจีน, เกาะไหหลำ, ภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ทั้งแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะ ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค แม้แต่พื้นที่กรุงเทพมหานคร

สัตว์ชนิดนี้มีพฤติกรรมการหากินในเวลากลางวัน โดยหาออกหากินตามพื้นดิน อาหารก็เป็นพวกแมลง ไส้เดือนดิน มันเป็นสัตว์สัตว์เลื้อยคลานที่ว่องไว มักพบบริเวณที่เป็นทุ่งหญ้า รวมทั้งบนไม้พุ่มที่กระจายอยู่ในป่าโปร่ง หรือป่าเต็งรัง สามารถวิ่งไปบนต้นหญ้าได้เร็วมาก จึงพบเห็นตัวได้ยาก ในเวลากลางคืนจะเกาะพักนอนอยู่ในพุ่มหญ้า ในตอนเช้ามักจะนอนผึ่งแดด และเหวี่ยงหางไปมา

Advertisements

และนี่ก็คือเรื่องราวเล็กน้อยของ สางห่า จิ้งเหลนน้อยหางยาว ที่มีความประหลาดที่หางยาวสุดๆ ถ้าใครไปเจอมันก็อย่าไปรังแก หรือกลัวมันนะครับ เพราะมันไม่ได้เป็นสัตว์ที่มีพิษมีภัยกับมนุษย์เลยแม้แต่น้อย ..สุดท้ายหากชอบเรื่องนี้ ก็ฝากแชร์ให้น้าๆ ท่านอื่นได้อ่านกันครับ

อ่านเพิ่มเติม

Advertisements