เมื่อสะดุ้งเจอกับปลาบึก 200 โล

ปกติพวกเราตกปลา จะไม่ค่อยได้ใช้แห หรืออุปกรณ์จับปลาอื่นๆ หรืออาจจะไม่เคยใช้เลยด้วยซ้ำ บางทีอาจเรียกว่าคนล่ะเส้นทางเลย แต่บอกเลยดูไปก็สนุกดี คลิปนี้เป็นการจับปลาด้วย “สะดุ้ง” ซึ่งต้องไปเจอกับปลาบึกยักษ์ขนาด 200 กิโล ลองดูครับ

สะดุ้ง อุปกรณ์หาปลาฤดูน้ำหลาก ชนบทอีสาน

Advertisements

สะดุ้ง ลักษณะเป็นตาข่ายสี่เหลี่ยมจัตุรัสและตาข่ายจะผูกติดกับไม้ไผ่ทั้ง 4 มุมของสะดุ้ง (ขาสะดุ้ง) ที่เหลาเรียบร้อย 4 ลำ หรือ 4 มุม ยาวประมาณ 2-3 เมตร ซึ่งแล้วแต่สะดุ้งจะมีความกว้างมากน้อยเพียงใด ถ้าสะดุ้้งผืนใหญ่เราก็เหลาไม้ไผ่ให้ยาวและได้ขนาด และขนาดของลำไม้ไผ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว ไว้เป็นขาหลักของตัวสะดุ้งเพื่อยกสะดุ้งขึ้นจับปลาหรือกุ้งแล้วแต่จะได้

สะดุ้ง
ความสำคัญของสะดุ้ง :

เป็นเครื่องมือสำหรับดักกุ้ง,ปู,ปลา ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่จะหาได้ไม่ยากมีจำหน่ายตามร้านขายของชำ แต่สำหรับขาสะดุ้งเราต้องจัดหาไม้ไผ่มาทำเองทั้ง 4 ด้าน พร้อมด้วยขาหลักของสะดุ้งในการยกสะดุ้งขึ้น

ประโยชน์ของสะดุ้ง :

ใช้สำหรับหาปลาในห้วย,หนอง,คลอง,บึง เป็นเครื่องมือที่ใช้ง่าย โดยเฉพาะพี่น้องที่อยู่ตามชนบท จะมีเครื่องมือหาปลาหรือสะดุ้งไว้ประจำบ้าน ในการหาอาหารการกิน โดยเฉพาะในช่วงฤดูน้ำหลาก เราจะเห็นคนยกสะดุ้ง

วัสดุที่ใช้ทำสะดุ้ง :

1. ตาข่ายใช้เชือกไนล่อนขนาดเล็ก
2. ไม้ไผ่ที่เหลา 2 ลำ เหมือนกากบาท, ลำไม้ไผ่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว ไว้เป็นขาหลักของสะดุ้ง เวลาเรายกขึ้นเพื่อนำปลาหรือกุ้งใส่ในข้องลอย

หลังจากฝนตกหนักทั้งคืนเพราะฤทธิ์พายุอาวญายทำให้น้ำโพงเอ่อไหลทะลักเข้าทุ่งนาทำให้น้ำท่วม สิ่งที่ขาดไม่ได้เมื่อมีน้ำปลาคือการหาปลาอุปกรณืหาปลาที่นิยมในช่วงน้ำหลาก เอ่อล้น ก็คือ สะดุงดักปลา ภาพที่เห็นคือบริเวณสะพานข้ามลำน้ำโพงบ้านหนองซ่งแย้ อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร

ที่มา : ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม

ตกหมึก การใช้อุปกรณ์ และเทคนิคเจิร์กโยตกหมึกสเต็ปโปรญี่ปุ่น

Advertisements