ด้วงคราม ‘แมลงเฉพาะถิ่นไทย’ ราคาแพงแต่ห้ามจับเด็ดขาด

ด้วงคราม (Enoplotrupes sharpi) หนึ่งในด้วงหายาก แม้แต่ข้อมูลเกี่ยวกับด้วงชนิดนี้ก็ยังมีไม่มากนัก จัดเป็นหนึ่งในด้วงสวยงามที่สุดที่พบได้เฉพาะในประเทศไทย มันเป็นด้วงตัวเล็กกลมๆ มีสีคราม มีขนาดประมาณ 29 - 34 มิลิเมตร

ด้วงคราม

ด้วงคราม (Enoplotrupes sharpi Jordan & Rothschild, 1893) เป็นแมลงชนิดเดียวในสกุล Enoplotrunes วงศ์ Geotrupidae ที่พบในประเทศไทย จัดเป็นแมลงห้ามนำเข้า-ส่งออก เว้นแต่ได้รับอนุญาต จากอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และ พ.ศ. 2562

ในประเทศไทยมีรายงานพบเพียง 2 แห่ง ได้แก่ที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ตั้งแต่กิ่วแม่ปานขึ้นไปจนถึงยอดดอย และที่อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก ตั้งแต่ที่ระดับความสูง 1,000 เมตรขึ้นไปจนถึงยอดดอย

ด้วงครามจึงมีถิ่นอาศัยตามธรรมชาติที่จํากัดและมีลักษณะโดดเด่นจําเพาะ เป็นที่นิยมของนักสะสมแมลงจากต่างประเทศ จึงทำให้ด้วงครามถูกลักลอบเก็บ จากป่า นํามาขายออนไลน์ราคาสูงถึงตัวละ 1,800-16,000 บาท

การศึกษาด้วงคราม

Advertisements

เพื่อให้ทราบข้อมูลทางชีววิทยา สถานภาพด้าน ประชากร และการกระจายพันธุ์ของด้วงคราม วิชัย ศรีสุขา ชญานิศวร์ สุรินทร์, สิรภัทร ยศคำ และฐาปนัท พันธุ์แก่น จากส่วนพิพิธภัณฑ์แมลง องค์การสวนพฤกษศาสตร์

Advertisements
ได้ทำการสํารวจโดยใช้กับดักหลุม (pitfill trap) ดักจับด้วงครามในพื้นที่ป่าอนุรักษ์อื่นๆ ที่มีสภาพแวดล้อมคล้ายคลึงกันกับบริเวณเดิมที่เคยพบ เพื่อยืนยันเขตการแพร่กระจายตัวที่แท้จริง

ได้แก่ บริเวณ ช่องเย็น อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จังหวัดกำแพงเพชร และบริเวณหน่วยพิทักษ์ป่าโกกนกกระบา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย และศึกษาการเปลี่ยนแปลงพลวัตทางด้านประชากร ของด้วงครามที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

ผลการศึกษาพบว่า ..ไม่พบด้วงครามที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ส่วนที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ พบด้วงครามตั้งแต่หน่วยจัดการต้นน้ำแม่อวมถึงบริเวณยอดดอยที่ระดับความสูง 1,600-2,565 เมตร

โดยพบมากที่สุดที่บริเวณยอดดอย ส่วนบริเวณกิ่วแม่ปาน ด่านสกัดที่ 2 และหน่วยจัดการต้นน้ำแม่อวมพบน้อยมาก และไม่พบที่บริเวณที่ทําการอุทยานฯ

Advertisements
การเปลี่ยนแปลงประชากรด้วงคราม พบได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม (ฤดูฝน) จนถึงเดือนมกราคม (ฤดูหนาว) พบประชากรของด้วงครามมากที่สุดในช่วงเดือนธันวาคม หลังจากนั้นจะลดลง การแพร่กระจายตัวที่แท้จริงในถิ่น

และไม่พบเลยในเดือนมีนาคมและเมษายน (ฤดูแล้ง) การศึกษา ครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ด้วงครามมีการกระจายพันธุ์ในพื้นที่จํากัด มีความจําเพาะต่อแหล่งอาศัยตามธรรมชาติ และมีความเปราะบาง เสี่ยงต่อการถูกทําลายสูง

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
แหล่งที่มาประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช