ที่ตั้งเขื่อนไซยะบุรี อาจเป็นที่ๆ ปลาบึกใช้วางไข่ในอดีต?

ว่ากันว่าเขื่อนไซยะบุรี เป็นจุดเริ่มต้นของหายนะสิ่งแวดล้อมลุ่มแม่น้ำโขง การสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงตอนล่างจะกลายเป็นภัยคุกคามเลวร้ายต่อการอยู่รอด ของปลาบึกในแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นหนึ่งในปลาน้ำจืดที่ตัวใหญ่ที่สุดและหายากที่สุดในโลก

ปลาบึก

การศึกษาแสดงให้เห็นถึงสัตว์สายพันธุ์ที่หาได้ยาก ที่ยังไม่ทราบถึงจำนวนประชากรที่ชัดเจน แต่เป็นไปได้ว่าอาจมีปลาบึกในแม่น้ำโขงตัวเต็มวัยเหลืออยู่เพียง 200 – 300 ตัว ..หรืออาจน้อยกว่านี่อีก

ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า เขื่อนไซยะบุรีบนแม่น้ำโขงทางตอนเหนือของประเทศลาว เป็นปราการที่ไม่สามารถฝ่าได้ สำหรับการอพยพของปลาบึก โดยธรรมชาติปลาบึกสามารถเติบโตจนมีลำตัวยาวได้ถึง 3 เมตรและหนักได้ถึง 300 กิโลกัรม

เขื่อนไซยะบุรี

“ปลาที่มีขนาดเท่าปลาบึกแม่น้ำโขง จะไม่สามารถว่ายน้ำข้ามกำแพงขนาดใหญ่ เช่น เขื่อน เพื่อไปยังพื้นที่วางไข่บริเวณต้นน้ำได้”
“ปลาแม่น้ำขนาดยักษ์นี้ ต้องการผืนน้ำที่กว้างใหญ่ และไม่ถูกปิดกั้นเส้นทางอพยพ พวกมันต้องการน้ำที่มีความจำเพาะเจาะจง รวมทั้งสภาพการไหล เพื่อขับเคลื่อนวงจรชีวิตของการวางไข่ หาอาหาร และผสมพันธุ์”

จำนวนของปลาบึกในแม่น้ำโขง ลดลงอย่างมากอยู่แล้ว เนื่องจากการประมงที่มากเกินไป การทำลายสถานที่อาศัย และการสร้างเขื่อนตามลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขงในแม่น้ำมูล ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาที่ใหญ่ที่สุดของแม่น้ำโขง

ปลาบึก มีการสร้างเขื่อนปิดกั้นเส้นทางอพยพของปลาบึก และตัดขาดแม่น้ำมูลออกจากแม่น้ำโขงในระยะทางที่เหลืออยู่ รายงานยังอ้างด้วยว่า เขื่อนไซยะบุรีที่เป็นประเด็นถกเถียงนี้จะขัดขวางหรือกระทั่งปิดกั้นการวางไข่ และเพิ่มอัตราการตาย หากปลาว่ายผ่านไปยังกังหันของเขื่อน

“มีความเป็นไปได้ว่า ปลาบึกแม่น้ำโขงใช้ผืนน้ำที่เป็นที่ตั้งของเขื่อนไซยะบุรีเป็นเส้นทางอพยพ โดยปลาตัวเต็มวัยจะ อพยพผ่านพื้นที่นี้ จากเขตอนุบาลปลาบริเวณที่ราบน้ำท่วมถึง ไปยังจุดวางไข่ทางต้นน้ำ”
“และยังมีความ เป็นไปได้ว่าปลาบึกอาจวางไข่ในพื้นที่ๆ เป็นที่ตั้งของเขื่อนในตอนนี้!”

บริษัท Pöyry ของฟินแลนด์ ซึ่งเป็นที่ปรึกษารัฐบาลลาวในการสร้างเขื่อน โต้แย้งว่าสามารถสร้าง ”บันไดปลาโจน” เพื่อให้ปลา สามารถว่ายผ่านกังหันเขื่อน และว่ายน้ำขึ้นลงตามลำน้ำได้ แต่ข้อกล่าวอ้างนี้ ไม่เคยประสบความสำเร็จในการใช้งานจริงมาก่อน

ปลาบึก “คุณไม่สามารถคาดหวังให้บันไดปลาโจนทำงานได้ ถ้าหากไม่มีความเข้าใจปลาที่เป็นสายพันธุ์เป้าหมาย ความสามารถในการว่ายน้ำของปลา และกระแสน้ำที่จะเป็นตัวดึงดูดปลาให้ว่ายผ่านช่องทางนี้”

ครั้งหนึ่งปลาบึกเคยอาศัยอยู่ทั่วแม่น้ำโขง และเป็นไปได้ว่าพวกมันเคยอยู่ไกลถึงพม่าและทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และมี ประชากรปลาอยู่มากมายจนกระทั่งช่วงปี 2443 นับตั้งแต่นั้นมาปลาบึกก็ลดจำนวนลง กระทั่งตอนนี้พบปลาบึกได้เพียงแถบ แม่น้ำโขงและลำน้ำสาขาในประเทศกัมพูชา ลาว และไทย

ปลาบึก

Advertisements
ปริมาณของการจับปลายังเป็นหลักฐานที่ชัดเจนถึงการลดจำนวนลงของปลาสายพันธุ์นี้ เนื่องจากตัวเลขที่จับได้ ลดลงจาก หลายพันตัวในช่วงประมาณปี 2423 เหลือไม่กี่สิบตัวในปีช่วงปี 2533 และปัจจุบันก็จับได้เพียงไม่กี่ตัว และยังลดลงอย่างต่อเนื่อง

“ควรมีการสังเกตการจับปลาเพื่อให้แน่ใจว่าปลาบึกจะไม่ตกเป็นเป้า ของพวกลักลอบจับปลา”

การศึกษายังชี้ให้เห็นถึงมาตรการหลักเพื่อป้องกันการสาบสูญของปลาแม่น้ำยักษ์ ไม่ว่าจะเป็นความพยายามอย่างเร่งด่วน เพื่อปกป้องเส้นทางอพยพของปลา และแหล่งดำรงชีวิตที่สำคัญ จนถึงการเพิ่มความร่วมมือระหว่างประเทศ เช่น แผนบริหารจัดการตลอดลำน้ำ เนื่องจากปลาสายพันธุ์นี้อยู่ในแม่น้ำสากล และการดำเนินวงจรชีวิตของมัน ยังต้องว่ายน้ำผ่านหลายประเทศ

อ่านเรื่องอื่น
Advertisements
แหล่งที่มาwwf