ปลาถ้ำหายากที่สุดในโลก ภัยพิบัติด้วงน้ำกับหลุมปีศาจจำลอง

ปัจจุบันสัตว์หลายชนิดนั้นมีจำนวนที่ลดลงอย่างมาก และบางชนิดถึงขั้นหายนะเกือบสูญพันธุ์ บางครั้งอาจจะมีอะไรมาซ้ำเติมพวกมันให้จำนวนน้อยลงไปอีก นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับปลาเดวิลส์โฮล (Devils Hole pupfish) ซึ่งเป็นปลาที่หายากที่สุดในโลก

ปลาเดวิลส์โฮลเป็นปลาที่มีขนาดเล็กเพียงหนึ่งนิ้ว พวกมันติดอยู่ในถ้ำหินปูนที่จมอยู่ใต้น้ำ ในทะเลทรายรัฐเนวาดาตั้งแต่ยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้าย ปลาพวกนี้มีอายุขัยเพียงหนึ่งปี และด้วยเหตุนี้ประชากรจึงมีแนวโน้มที่จะแกว่งตัวสูงมาก โดยในปี 2013 ประชากรทั้งหมดลดลงเหลือเพียง 35 ตัว

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หน่วยงานประมงและสัตว์ป่าของสหรัฐฯ ได้เปิดศูนย์อนุรักษ์ปลา Ash Meadows ซึ่งเป็นที่ตั้งของถ้ำ Devil’s Hole จำลองขนาดยักษ์ที่มีความจุน้ำ 100,000 แกลลอนที่สามารถควบคุมและป้องกันได้ เป้าหมายคือการสร้าง “เรือชูชีพ” ของปลาที่สามารถเสริมหรือแทนที่ปลาที่อยู่ในธรรมชาติได้หากพวกมันสูญพันธุ์

ขณะที่ Olin Feuerbacher นักชีววิทยาด้านปลา กำลังดูภาพอินฟราเรด ซึ่งสามารถมองเห็นวัตถุในความมืดได้ ตัวอ่อนของลูกปลาตัวเล็กๆ ที่เล็กกว่าเมล็ดพริกไทยก็ว่ายเข้าไปในกรอบของกล้อง นี่เป็นข่าวใหญ่ เมื่อจำนวนประชากรลดลง นั้นหมายความว่าจำนวนปลาทุกตัว ไม่ว่าจะเป็นปลาในธรรมชาติหรือที่เลี้ยง ตัวอ่อนหรือตัวเต็มวัย ล้วนมีความสำคัญต่อการอยู่รอดของสายพันธุ์

“ฉันรู้สึกตื่นเต้นมากที่ได้เห็นการสืบพันธุ์เกิดขึ้นในตู้ปลา และฉันแค่เฝ้าดูมันสักหน่อย” Feuerbacher กล่าว “แล้วฉันก็เห็นด้วงน้ำว่ายผ่านมา และเริ่มวนเข้าใกล้ลูกปลาพวกนั้น จากนั้นมันก็เจาะเข้าไปและกินลูกปลาตัวนั้นในขณะที่ฉันกำลังดูอยู่” ..มันกลายเป็นฉากที่ฉันไม่อยากเห็น

จากความสยองขวัญสู่ความหวัง

Advertisements

นักวิทยาศาสตร์ทราบมาเป็นเวลาสองสามทศวรรษแล้วว่า มีด้วงดำน้ำอยู่ในถ้ำหินปูน Devil’s Hole ร่วมกับพวกปลาเดวิลส์โฮล ด้วงชนิดนี้มีมากกว่า 4,300 สายพันธุ์ มีพวกมันอยู่ทุกทวีปยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา Feuerbacher กล่าวว่าเมื่อเขาและนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ ลงไปในถ้ำเพื่อนับจำนวนปลา พวกเขามักจะรู้สึกว่าด้วงน้ำพวกนี้กัดที่ขาของพวกเขา

และเมื่อพวกเขาสร้างศูนย์อนุรักษ์ Ash Meadows นักวิทยาศาสตร์พยายามสร้างระบบนิเวศของ Devil’s Hole ซึ่งหมายถึงการนำน้ำ สารตั้งต้น และสาหร่ายมาจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติมาด้วย ดังนั้นความจริงที่ว่าด้วงดำน้ำพวกนี้บางตัวได้ติดมาด้วย ตอนแรกดูไม่เลวร้ายนัก แต่เมื่อเวลาผ่านไป นักวิทยาศาสตร์เริ่มสงสัยว่าด้วงอาจกำลังกินไข่ของลูกปลา แต่การที่มันสามารถกินตัวอ่อนที่ใหญ่กว่ามันสองเท่าได้ มันไม่ธรรมดา

Advertisements
แต่ก็ยังโชคดี เพราะความพยายามในการเพาะพันธุ์ลูกปลา ตั้งแต่เปิดศูนย์แห่งนี้มา มันยังไปไม่ค่อยดีและไม่มีใครสามารถเข้าใจได้ว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่ แต่ตอนนี้พวกเขารู้ว่าต้องทำอะไร

สงครามกับด้วงน้ำ

ในเดือนมีนาคมปี 2018 นักวิทยาศาสตร์เริ่มเอาด้วงดำน้ำออกจากถัง โดยใช้กับดักจับแมลงในขณะที่พวกมันขึ้นมาหายใจ ในระหว่างการรวบรวมด้วงครั้งแรก ผู้จัดการสถานที่ Jennifer Gumm กล่าวว่าพวกเขาจับด้วงได้ 500 ตัวในสามชั่วโมง และยังพบเศษไข่ปลาจำนวนมาก

นักวิจัยสรุปว่าด้วงพวกนี้กินไข่ปลา และเมื่อกำจัดแมลงออกไปมากขึ้น ลูกปลาก็สามารถอยู่รอดได้มากขึ้น น่าเสียดายที่เรากำลังพูดถึงด้วงขนาดเท่าเมล็ดงาดำในถังขนาด 100,000 แกลลอน ซึ่งหมายความว่าการกำจัดทั้งหมดมันแทบเป็นไปไม่ได้ ..ทีมงานไม่ได้กำจัดด้วงออกจากถ้ำ Devil’s Hole (ของจริง) ด้วยเหตุผลบางประการ

ประการแรก นักวิจัยไม่ทราบว่าสิ่งนี้จะส่งผลกระทบต่อด้านอื่นๆ ของระบบนิเวศอย่างไร Gumm กล่าว ประการที่สอง ยังไม่พบด้วงกินไข่ปลาในธรรมชาติ ประการที่สาม ดูเหมือนด้วงในถ้ำ Devil’s Hole น้อยกว่าในที่เพาะเลี้ยง และอาจเป็นไปได้ว่าในสภาพแวดล้อมที่ประดิษฐ์ขึ้น ทำให้พวกมันจะมีอาหารน้อยกว่าและมีแนวโน้มที่จะกินไข่

ตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิที่แล้ว ทีมงานสามารถนำไข่ที่ผลิตในศูนย์อนุรักษ์และเลี้ยงพวกมันจนโตเต็มวัย ในห้องปฏิบัติการที่แยกจากกัน ต้องขอบคุณการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพแบบใหม่ที่ป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อราที่เป็นอันตรายกับไข่ “มันคือสิ่งที่ผู้คนพยายามทำมานานกว่า 40 ปี” Feuerbacher กล่าว

Gumm ยังกล่าวว่าขณะนี้มีปลาอยู่ประมาณ 50 ตัวในศูนย์อนุรักษ์ และอีกสิบถึงยี่สิบตัวที่กำลังเติบโตในห้องปฏิบัติการขยายพันธุ์ ซึ่งบางตัวได้เริ่มผลิตไข่แล้ว ซึ่งหมายความว่าขณะนี้นักวิทยาศาสตร์กำลังรวบรวมไข่จากสามแหล่ง ยิ่งไปกว่านั้น ทีมนับจำนวนปลาได้ถึง 187 ตัวในธรรมชาติ

แม้ว่าการค้นพบครั้งใหม่เมื่อเร็วๆ นี้จะเป็นข่าวที่น่าตื่นเต้นสำหรับสปีชีส์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ แต่พวกมันก็อาจให้ผลการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญได้ด้วยเช่นกัน

“เมื่อปลาวิวัฒนาการอย่างโดดเดี่ยว พวกมันสามารถพัฒนาการปรับตัวที่แปลกประหลาด” Prosanta Chakrabarty นักวิทยาด้านสัตว์น้ำจากมหาวิทยาลัยรัฐลุยเซียนากล่าว

ปลาเดวิลส์โฮล (Cyprinodon diabolis) ไม่มีครีบอก และพวกมันได้วิวัฒนาการมาเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ในแหล่งอาศัยที่อุ่นกว่าและมีออกซิเจนต่ำกว่าที่ปลาส่วนใหญ่สามารถรับได้

Advertisements

“พวกมันอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีขนาดเล็กกว่าออฟฟิศของผู้คนได้อย่างไร” Chakrabarty พูดว่า “สัตว์ส่วนใหญ่จะไม่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมที่จะอยู่ร่วมกันในพื้นที่เล็กๆ ด้วยจำนวนที่น้อยเช่นนี้ ดังนั้น การค้นหาว่าพวกมันมีชีวิตรอดได้อย่างไร จึงมีความสำคัญต่อนักชีววิทยาด้านวิวัฒนาการ”

ในระหว่างนี้ การต่อสู้กับด้วงจะดำเนินต่อไป และมันจะเป็นแบบนี้ไปอีกหลายปี ทีมงานได้นำด้วงที่กินไข่และลูกปลาหลายพันตัวออกจากที่เพาะพันธุ์ในศูนย์อนุรักษ์ “ช่างเทคนิคของเราทำงานอย่างหนักการเอาพวกมันออกมา” มันเป็นความพยายามเพื่อปลาถ้ำหายากที่สุดในโลก

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements