เนื้อหาข่าว
นายมูฮัมหมัด บิสนุน อายุ 35 ปี ชาวบ้าน ต.ตันหยงโป ออกไปทำประมงและได้พบปลากระโทงลอยตายอยู่บริเวณปากร่องน้ำห่างจากฝั่งประมาณ 1000 เมตร
อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง
ปลากระโทงดาบ หนึ่งเดียวที่โจมตีเรือดำน้ำ
นายมูฮัมหมัด บอกว่า ขณะที่ตนเองขับเรือหางยาวออกไปทำประมงอยู่ก็ได้เจอปลาขนาดใหญ่ลอยตายอยู่จึงเข้าไปดูพบเป็นปลากระโทง ลำตัวมีขนาดใหญ่มากซึ่งตนเป็นชาวประมงมาตลอดชีวิต แทบจะไม่เคยเห็นปลาชนิดนี้ในพื้นที่ ต.ตันหยงโป เนื่องจากปลาชนิดนี้เป็นปลาที่อาศัยในทะเลลึก ตนเองจึงได้นำเชือกมาผูกและลากเข้าฝั่งมาเพื่อให้ลูกหลานและเด็กๆ ได้ดูของจริง
ทั้งนี้ปลากระโทงดังกล่าวน่าจะเป็นกระโทงเทง ด้านบนของลำตัวมีสีน้ำเงินเข้ม ใต้ท้องมีสีเทาออกขาว มีความยาวประมาณ 4 เมตรและน้ำหนักประมาณ 200 กิโลกรัม คาดว่าน่าจะตายมาจากที่อื่นแล้วลอยมาที่ร่องน้ำบ้านหาดทรายยาว หรืออาจจะมาวางไข่
เกี่ยวกับปลากระโทงสีน้ำเงิน
ปลากระโทงสีน้ำเงิน หรือ ปลากระโทงแทงสีน้ำเงิน หรือ ปลาอินทรีช้าง (Blue marlin) ชื่อวิทยาศาสตร์ Makaira nigricans เป็นปลาทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จำพวกปลากระโทง
มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 5 เมตร (16.4 ฟุต) และหนักได้ถึง 818 กิโลกรัม (1,803 ปอนด์) ในตัวเมีย โดยปลาตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ จัดเป็นปลากระโทงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย
มีพฤติกรรมหากินตามผิวน้ำในเขตร้อนหรือเขตอบอุ่นตามทะเลเปิด หรือมหาสมุทรขนาดใหญ่ทั่วโลก มีการอพยพย้ายถิ่นที่อยู่ในแต่ละฤดูกาล โดยล่าปลาและสัตว์น้ำชนิดต่างๆ เป็นอาหาร เช่น ปลาแมคเคอเรล, ปลาทูน่า หรือหมึก ขณะเดียวกันก็อาจตกเป็นอาหารของปลาล่าเหยื่อขนาดใหญ่ได้เช่นกัน เช่น ปลาฉลามมาโกครีบสั้น และปลาฉลามขาว
ปลากระโทงสีน้ำเงินถูกจำแนกออกเป็น 2 ชนิด
ปลากระโทงสีน้ำเงินแอตแลนติก ที่พบในมหาสมุทรแอตแลนติก กับ ปลากระโทงสีน้ำเงินอินโด-แปซิฟิก ที่พบในมหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย แต่จากการศึกษาล่าสุดพบว่า แม้ประชากรของ 2 จำพวกนี้แยกออกจากกัน แต่ก็จัดเป็นชนิดเดียวกัน เพราะมีสายพันธุกรรมเหมือนกัน เชื่อว่าประชากรของปลากระโทงสีน้ำเงินทั้ง 2 ถิ่นนี้มีการแลกเปลี่ยนสายพันธุกรรมซึ่งกันและกัน
บอกเล่าผ่านนิทาน การต่อสู้ของมนุษย์และปลากระโทงดาบ
ปลากระโทงดาบ สัตว์ที่เกิดมาเพื่อเป็นกลาดิเอเตอร์แห่งท้องทะเล