อยากล่าแล้ว? รัฐไวโอมิงขอให้รัฐบาลสหรัฐ ‘เลิกคุ้มครองหมีกริซลี’ หลังอนุรักษ์มา 50 ปี

หากการเพิกถอนสำเร็จ การล่าหมีกริซลีจะกลับมา และจะทำให้หมีชนิดนี้กลับไปอยู่จุดต่ำสุดอีกครั้ง ทั้งนี้รัฐไวโอมิงวางแผนที่จะส่งคำขออย่างเป็นทางการไปยัง US Fish and Wildlife Service (USFWS) เพิกถอนหมีกริซลีออกจากสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ โดยมีเป้าหมายจำกัดจำนวนกริซลีที่อยู่ในธรรมชาติ (เหมือนตอนหมาป่าสีเทา)

เนื่องจากในตอนนี้ระบบนิเวศ Yellowstone มีหมีกริซลีจำนวนมาก พวกมันได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ (ESA) หลังจากส่งคำขออย่างเป็นทางการ .. USFWS จะมีเวลา 90 วัน เพื่อพิจารณาว่าการเพิกถอนสามารถทำได้หรือไม่

หากหมีถูกถอดออกจาก ESA การจัดการหมีกริซลี่จะกลับไปเป็นการควบคุมของรัฐ เป็นการปูทางให้การล่าหมีกริซลี่ทำได้ง่ายขึ้น การเพิกถอนนี้จะส่งผลกระทบต่อหมีกริซลี่ในมอนแทนาและไอดาโฮ เช่นเดียวกับไวโอมิง แต่ไม่ใช่ในรัฐอื่นๆ

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่รัฐไวโอมิงพยายามเพิกถอนหมีกริซลี่ออกจากคุ้มครอง เมื่อ 15 ปีก่อนพวกเขาเคยทำมาแล้ว แต่ถูกยกเลิกในศาลรัฐบาลกลาง หลังจากถูกฟ้องร้องจากองค์กรพิทักษ์สัตว์และองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม คาดว่าจะมีการตอบสนองที่คล้ายกันหาก USFWS ดำเนินการตามคำร้องขอของไวโอมิง

แต่เดิมหมีกริซลีอยู่ในรายชื่อของ ESA ตั้งแต่ปี 1970 พวกมันได้รับการคุ้มครองตั้งแต่นั้นมา ในตอนนั้นหมีกริซลีมีเพียง 100 ตัว ในตอนนี้เฉพาะในไวโอมิง พวกมันมี 1,000 ตัว

“สำหรับผู้สนับสนุนแนวคิดของรัฐไวโอมิงได้กล่าวว่า เราได้บันทึกการเพิ่มขึ้นของความขัดแย้งระหว่างหมีกับมนุษย์ในพื้นที่ เช่น ระบบนิเวศใน Yellowstone ซึ่งพวกมันได้ขยายขอบเขตของมันประมาณสามเท่าในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมา และครอบครองพื้นที่ๆ มนุษย์ใช้และมีอิทธิพลต่อภูมิทัศน์โดยรวม

เราผ่านเกณฑ์มาหลายปีแล้ว สิ่งที่หยุดชะงักในการเพิกถอนคือความกังวลเกี่ยวกับปัจจัยอื่นๆ แต่เราได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดการกู้คืนแล้ว ด้วยมาตรการป้องกันที่เรามีไว้เพื่อให้แน่ใจว่าประชากรจะไม่ประสบปัญหาและพังทลายอีก ใช่! หมีกริซลี่ควรถูกเพิกถอน ..ผู้สนับสนุนกล่าว”

Advertisements

“หมีกริซลี จัดเป็นหมีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน และถือเป็นสัตว์กินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกด้วย เมื่อตัวผู้ที่มีขนาดโตเต็มที่อาจมีน้ำหนักได้ถึง 180-980 กิโลกรัม หรือ 1 ตัน และยืนด้วยสองขามีความสูงถึง 2.5 เมตร หรือ 3 เมตร .. กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในทวีปอเมริกาเหนือและอะแลสกา ความใหญ่โตของร่างกายขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของแหล่งอาหาร ทำให้หมีกริซลีที่อยู่ในประเทศแคนาดาและอะแลสกาจะตัวใหญ่กว่าในสหรัฐอเมริกา”

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements
แหล่งที่มาwyomingnewsnow