เหตุผลที่จระเข้ มักจะถูกฮิปโปรังแก

วันนี้มาคุยเรื่อง "ฮิปโปโปเตมัส" กันอีกซะหน่อย แต่จะขอจับประเด็นที่ว่าทำไม "ฮิปโปจึงชอบรังแกจระเข้จัง" แต่เหตุผลแรกเลยที่ทาง National Geographic เคยอธิบายเอาไว้คือ สัตว์ป่ามีสัญชาตญาณที่ยอดเยี่ยม มันรู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควร จระเข้จะรู้ได้ด้วยตัวเองว่า มันมีโอกาส "ตาย" หากต้องสู้กับฮิปโปที่อยู่ตรงหน้ามัน ในทางกลับกันฮิปโปเองก็เห็นว่าจระเข้น่าแกล้งเพราะมันแทบจะไม่ตอบโต้กลับ ..เดี๋ยวมาอ่านเรื่องนี้กัน มีคลิปฮิปโปรังแกจระเข้ท้ายเรื่อง

เทียบพลังจระเข้ และ ฮิปโป

Advertisements

เดี๋ยวมาดูข้อมูลคร่าวๆ ของสัตว์ทั้ง 2 ก่อน “ฮิปโปเป็นสัตว์กินพืช มีภาวะด้านอารมณ์ดุร้ายฉุนเฉียวมาก พร้อมสู้ตลอดเวลา” ส่วน “จระเข้เป็นสัตว์กินเนื้อ มีภาวะด้านอารมณ์ดุร้าย จะสู้เมื่อจำเป็น”

จากภาพเป็นตัวเต็มวัย และเป็นฮิปโปกับจระเข้ที่อยู่แม่น้ำไนล์ทั้งคู่ ถ้าวัดในเรื่องแรงกัด จระเข้กัดได้แรงกว่ามาก แต่มันจะมีแรงกัดที่มากก็ต่อเมื่อมัน “กัดลงมา” แต่มันมีแรงน้อยมากในขั้นตอนที่มันจะเปิดปาก (เชือกหรือมือคนก็เพียงพอจะป้องกันจระเข้เปิดปาก) นี่เป็นจุดอ่อนที่ทำให้จระเข้น่ากลัวน้อยลงมาก ในขณะที่ฮิปโปมีแรงกัดน้อยกว่า แต่มันอ้าปากได้มีพลังกว่า และยังกว้างด้วย แน่นอนมันกัดแรง

การแบกรับน้ำหนักตัว ผมว่าฮิปโปเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่ค่อยสมเหตุสมผลเท่าไร นั้นเพราะมันมีน้ำหนักตัว 2 – 4 ตัน แต่มันดันว่ายน้ำได้เร็วพอๆ กับจระเข้ และยังวิ่งบนบกได้เร็วอีกด้วย มีบางข้อมูลมันสามารถวิ่งได้เร็วถึง 20 – 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะเรียกมันว่า “อ้วนพริ้ว” ก็ยังได้ (ดูเรื่องที่ฮิปโปวิ่งหนีช้างจากลิงค์ท้ายเรื่อง)

อ้วนพริ้ว! สัตว์ที่เร็วทั้งบกและในน้ำ ในโลกนี่มีไม่กี่ชนิด (วิ่งหนีช้างบนบกได้ล่ะกัน)

ในทางกลับกันจระเข้เดินบนบกด้วยความลำบาก มันอาจเดินได้เร็วพอๆ กับมนุษย์เดินเร็ว นี่แสดงให้เห็นความแตกต่างด้านพลังโดยรวมของทั้งคู่

ฮิปโปมีผิวหนังหนา 2 นิ้ว! กับเขี้ยวยาวเกือบ 20 นิ้ว

สมัยเด็กๆ คงคิดเหมือนผมเวลาไปเจอฮิปโปที่สวนสัตว์ ว่าเจ้านี่น่ารักดี แต่จริงๆ แล้วมันเป็นสัตว์ที่ทรงพลังดุร้าย และน่าเหลือเชื่อ ด้วยตัวอ้วนเป็นหมู หนังที่ดูบอบบาง แต่ต้องบอกว่าแม้แต่สิงโตก็กัดมันเข้ายากมากๆ จริงๆ แล้ว สิงโตกัดจระเข้เข้าง่ายกว่ากัดฮิปโปด้วยซ้ำ

ตามรายงานของ National Geographic เขียนไว้ว่า “ฮิปโปมีผิวหนังหนา 5 เซ็นติเมตร หรือก็คือเกือบ 2 นิ้ว” คิดดูล่ะกันว่าหนังหนา 2 นิ้ว จะไปกัดให้ถึงเนื้อได้ง่ายเหรอ?

อาวุธร้ายแรงของฮิปโปอีกอย่างคือ “เขี้ยว” จากแหล่งข้อมูลเดียวกันระบุว่า ฮิปโปตัวเต็มวัย มันมี “เขี้ยวล่างยาวประมาณ 50 เซ็นติเมตร หรือเกือบ 20 นิ้ว” .. ลองนึกถาพเขี้ยวที่แหลมๆ ยาวเกือบ 2 ไม้บรรทัด มันคืออาวุธเจาะเกราะดีๆ นี่เอง กัดทีเดียวทะลุถึงตับจระเข้ได้เลย

สัตว์ก็เหมือนคนที่ตระหนักถึงผลของการกระทำ

เมื่อจระเข้ตัดสินใจโจมตีฮิปโป “ที่มีสุขภาพสมบูรณ์ (เหตุการณ์ที่พบยากมาก)” โอกาสที่จระเข้จะรอดชีวิตนั้นแทบจะไม่มีเลย หากเทียบกับโอกาสของฮิปโป นั้นหมายความว่าฮิปโปตัวเต็มวัยจะฆ่าจระเข้ ได้มากกว่าที่จระเข้ตัวเต็มวัยจะฆ่าฮิปโปสำเร็จ

ยิ่งไปกว่านั้นฮิปโปเป็นสัตว์ที่ชอบอาศัยรวมกันเป็นฝูงใหญ่ๆ บางทีมันอาจจะมีมากกว่า 30 ตัว มันจะยากมากที่จระเข้จะรอดจากฮิปโป หากต้องสู้กันจริงๆ โดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเพราะ จระเข้หาโอกาสกินลูกของฮิปโป

นานๆ จะมีจระเข้บางตัวที่หลงเข้าไปในฝูงฮิปโป

จระเข้และฮิปโปมักจะอยู่ใกล้กัน

Advertisements

จริงๆ แล้วฮิปโป และจระเข้ มักอาศัยอยู่ในบริเวณที่ใกล้กัน แต่พวกมันจะไม่ยุ่งกันเท่าไร โดยเฉพาะจระเข้จะไม่อยากยุ่งกับฮิปโปเลย แต่ฮิปโปวัยรุ่นมักจะมายุ่งกับจระเข้อยู่บ่อยๆ อาจเพราะอยากรู้อยากเห็น จนบางครั้งมันก็แย่งเหยื่อของจระเข้ ทั้งๆ ที่มันไม่กินด้วยซ้ำ

คลิปฮิปโปเข้าแย่งเหยื่อของจระเข้

 

สรุปคือ บางคนบอกว่า “ฮิปโปจะไม่ยุ่งกับจระเข้ก่อน” อันนี่ผมว่าผิดแล้ว เพราะมีหลักฐานมากมายที่ฮิปโปเข้าโจมตี หรือแย่งเหยื่อจระเข้ หรือแม้แต่เข้าไปเล่นเฉยๆ (เล่นแรง) แต่สุดท้ายการต่อสู้กับถึงตายไม่ค่อยเกิดขึ้น เพราะสัตว์ทั้งสองถือเป็นนักล่าที่แข็งแกร่ง

อีกเหตุผลคือเพราะสัตว์ตัวใหญ่ที่อยู่ใกล้ฮิปโปมีเพียงจระเข้ที่แกล้งได้ง่ายแถมไม่ค่อยสู้ตอบอีกต่างหาก หรือก็คือแกล้งง่ายดี ..ถ้าชอบเรื่องนี้อย่าลืมแชร์ให้น้าๆ ท่านอื่นอ่านกันนะ

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
แหล่งที่มาnationalgeographic