ทำไม ‘สัตว์ทะเล’ จึงมีชีวิตในน้ำจืดไม่ได้

ถ้าเราเอาปลาทะเลลงไปในน้ำจืด มันจะเริ่มดูดซับน้ำจำนวนมากผ่านไปในเหงือกของมัน ไม่นานนักพวกมันจะมีปัญหากับความสมดุลของน้ำและเกลือในร่างกาย และสุดท้ายมันจะตาย

เนื่องจากร่างกายของพวกมันมีความเค็มมากกว่าน้ำจืด ดังนั้นจึงดูดซับน้ำผ่านขั้นตอนออสโมซิส (Osmosis) และไม่ใช่แค่ปลาน้ำเค็มที่ต้องเจอเรื่องแบบนี้ ปลาน้ำจืดก็ประสบปัญหาเดียวกันนี้ แต่พวกมันอาจจะดีกว่าหน่อย เพราะจะถูกปรับให้กำจัดน้ำได้อย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่จะทำให้มันฉี่บ่อย .. แต่สุดท้ายก็อยู่ไม่ได้อยู่ดี

การรักษาความสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในปลาทะเล

ปลาบางชนิด เช่น ปลาไหลและปลาแซลมอน เคลื่อนที่ไปมาระหว่างทะเลกับน้ำจืดโดยการเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยาของพวกมัน แต่ต้องใช้เวลาและพลังงานเป็นจำนวนมาก ในการเปลี่ยนจากการใช้ชีวิตในทะเลและในน้ำจืด

สรุป.. ถ้าเราเอาปลาทะเลไปใส่ในน้ำจืด จะทำให้น้ำจากภายนอกตัวปลาไหล (ออสโมซิส) เข้าไปในร่างกายของตัวปลาทำให้ปลาบวมน้ำ เซลล์ร่างกายหลายส่วนบวมน้ำจนแตกเสียหายทำงานไม่ได้และทำให้ปลาตายในที่สุด

และถ้าเราเอาปลาน้ำจืดไปเลี้ยงในน้ำเค็มจะเป็นอย่างไรบ้าง ก็จะเกิดกระบวนการออสโมซิสของน้ำในตัวปลาเหมือนกันแต่ตรงกันข้ามกับปลาทะเล คือน้ำในตัวปลาไหลออกนอกตัวและเซลล์ร่างกายเหี่ยวจนเสียสมดุลและตายในที่สุด

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements