ไดโนเสาร์คอยาว ‘2 สายพันธุ์ใหม่’ ถูกพบที่จีน มันมีขนาดเท่าวาฬสีน้ำเงิน

เมื่อไม่นานมานี้ได้มีการค้นพบไดโนเสาร์ซอโรพอด (Sauropod) ยักษ์ใหญ่ชนิดใหม่ทางภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน ฟอสซิลซอโรพอดชนิดนี้ยังเป็นฟอสซิลสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังชนิดแรกที่พบในพื้นที่นี้ โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการค้นพบฟอสซิลจำนวนมากจากแหล่งต่างๆ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน พื้นที่ๆ มีซากฟอสซิลมากมายคือซินเจียงโดยเฉพาะแถบลุ่มน้ำทูปัน-ฮามี

ไดโนเสาร์คอยาว

ตัวอย่างฟอสซิลที่ขุดได้ในพื้นที่เดียวกัน ยังมีสัตว์อีกหลายชนิด อย่างเช่นพวกเทอโรซอร์หรือสัตว์เลื้อยคลานที่บินได้ ยังมีไข่และตัวอ่อนของไดโนเสาร์อื่นๆ อีกด้วย และจากการตรวจสอบล่าสุดพบว่าฟอสซิลของพวกซอโรพอดพวกนี้แบ่งได้ออกเป็นสองสายพันธุ์ที่แตกต่างกัน

นักบรรพชีวินวิทยาได้ตรวจสอบตัวอย่างฟอสซิลชนิดใหม่นี้และตั้งชื่อพวกมันว่า Silutitan sinensis และ Hamititan xinjiangensis ซึ่งมาจากเส้นทางสายไหมในภาษาจีน ซึ่งเป็นที่ที่มันถูกค้นพบและภาษากรีกสำหรับคำว่ายักษ์ Silutitan มีความยาวถึง 17 เมตร และเจ้า Hamitian มีความยาวมากถึง 20 ฟุต ทั้งสองมีขนาดใกล้เคียงกับปลาวาฬสีน้ำเงิน แต่มันก็ยังเล็กกว่าญาติซอโรพอดชนิดอื่นๆ

ฟอสซิลไดโนเสาร์ในประเทศจีนสองชนิดนี้ถูกค้นพบโดยความร่วมมือระหว่างสถาบันวิทยาศาสตร์จีนและพิพิธภัณฑ์แห่งชาติบราซิล ผลงานการวิจัยจากซากดึกดำบรรพ์ของจีนได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร Scientific Reports ในหัวข้อ “The First Dinosaurs from the Early Cretaceous Hami Pterisaur Fauna,China”

ในมุมมองด้านซ้าย สี่เหลี่ยมแสดงถึงรายละเอียดทางกายวิภาคที่เกี่ยวข้อง ( A ) กระดูกสันหลังส่วนคอหลังสุด โดยมี pcdl สองแฉก (แผ่นหลัง centrodiapophyseal lamina) และ podl (postzygodiapophyseal lamina) ( B ) ข้อต่อของปากมดลูก 14 และ 15 แสดง epiphophysis (epi) และ epipophyseal–prezygapophyseal lamina (eprl) ( C ) กระดูกสันหลังส่วนคอ 13 แสดงรายละเอียดของ eprl, podl และ pcdl ( D ) กระดูกสันหลังส่วนคอ 12 แสดงรายละเอียดของ podl, pcdl และ fl (flange) ( E ) กระดูกสันหลังส่วนคอ 12 และ 13 ที่มี “pre-epipophysis” (prepi), eprl ที่มองเห็นได้ และ epipopophysis ที่เด่นชัด (epi) ( F) กระดูกสันหลังส่วนคอ 13 แสดงปีกด้านข้างที่พัฒนาอย่างดีใกล้กับปลายด้านหลังตรงกลาง ( G ) กระดูกคอ 11 ที่มี “pre-epipopophysis” (prepi) อย่างชัดเจนร่วมกับ epipophysis ที่พัฒนาแล้ว

ไดโนเสาร์คอยาวในประเทศจีน

Advertisements

ฟอสซิลของซอโรพอดสองชนิดนี้จากการตรวจสอบพบว่ามันมีอายุ 120 ถึง 130 ล้านปีก่อนในช่วงต้นยุคครีเทเชียส Silutitan และ Hamititan จัดอยู่ในกลุ่มพวกไททันโนซอร์ (Titanosaurs)

ซอโรพอดเป็นสัตว์กินพืชที่มีลักษณ์พิเศษ โดยเฉพาะคอและหางที่ยาวรวมถึงร่างกายขนาดใหญ่ นักบรรพชีวินวิทยาเชื่อว่าพวกมันเป็นสัตว์บกที่ใหญ่ที่สุดที่เคยมีมาบนโลก

ในบรรดาฟอสซิลไดโนเสาร์ที่เพิ่งค้นพบใหม่ นี่เป็นตัวชนิดที่สามที่ถูกค้นพบ แต่อย่างไรก็ตามซากดึกดำบรรพ์ชิ้นล่าสุดได้รับการตรวจสอบแล้ว ตามรายงานจาก CNN พบว่าอีกชนิดหนึ่งนั้นเป็นกลุ่มซอโรพอดพวก ซอมพอสปอนดีแลน (Somphospondylan) ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงยุคจูราสสิคตอนปลายจนถึงสิ้นยุคครีเทเชียส

ไดโนเสาร์ซอโรพอดในประเทศจีนยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบเพื่อระบุการจำแนกประเภททางอนุกรมวิธานและแผนผังสายพันธุ์ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้มีการค้นพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่ๆในประเทศจีนจำนวนมาก และนอกจากไดโนเสาร์แล้วยังมีสัตว์ชนิดอื่นอีกด้วย

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements