ปลาโรนิน สัตว์เสี่ยงขั้นวิกฤติ สุดท้ายกลายเป็น เครื่องประดับ-ของขลังได้ยังไง

ถ้าพูดถึงปลาโรนิน เอาจริงๆ ผมเคยไม่แน่ใจว่ามันเป็นปลาชนิดเดียวกับปลาโรนันหรือเปล่า แต่ต้องบอกไว้ว่าคนล่ะชนิดกัน และโรนินอยู่ในสภาพที่น่าสงสารว่าโรนันเยอะ เพราะมันปลาที่อยู่ในกลุ่มสิ่งมีชีวิต "เสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์" แถมยังถูกเอาไปทำเครื่องรางของขลังอีก และในไทยเองก็เพิ่งจะประกาศเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ในวันที่ 12 มิ.ย. 2561 ..มันเป็นการคุ้มครองที่เกือบจะสายเกินไปซะแล้ว .. เดี๋ยวมาดูเรื่องราวของโรนินกันดีกว่า

ปลาโรนิน

ข้อมูลของปลาโรนิน

Advertisements

ปลาโรนิน หรือ ปลากระเบนพื้นน้ำ (Bowmouth guitarfish, Mud skate, Shark ray) ปลากระดูกอ่อน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhina ancylostoma อยู่ในวงศ์ Rhinidae จัดเป็นเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในวงศ์นี้ และสกุล Rhina

ปลาโรนิน มักถูกจำสับสนกับปลาโรนัน

โรนิน มีรูปร่างคล้าย โรนัน (Rhinobatidae) แต่มีพวกมันก็มีความแตกต่างที่ชัดเจนอยู่ โดยโรนินมีส่วนหัวขนาดใหญ่ รูปทรงแบนกลมและโค้งมน ปากกลม ครีบอกแผ่กว้าง ครีบหลังตั้งสูง เป็น 2 ตอน บริเวณเหนือตามีสันเป็นหนาม ตรงกลางหลังด้านหน้าของครีบหลังมีหนามเรียงตัวกันเป็นแถวชัดเจน พื้นผิวลำตัวด้านบนมีสีเทาอมน้ำตาล มีแต้มเป็นจุดสีขาวจางๆ กระจายอยู่ทั่วตัว ด้านท้องมีสีขาว ยิ่งโดยเฉพาะปลาวัยอ่อนจะมีลวดลายที่มากกว่าปลาตัวโต

ปลาโรนิน – ส่วนหัวมีขนาดใหญ่ ลักษณะแบนกลมและโค้งมน มีสันหนามกลางหลังช่วงหน้า
ปลาโรนัน” – ส่วนหัวมีลักษณะเรียวยาว ที่หลังไม่มีสันหนาม (ภาพ SEA LIFE Bangkok)

ปลาโรนินเมื่อโตเต็มวัยอาจโตได้ถึง 3 เมตร และหนัก 135 กิโลกรัม มันจะอาศัยอยู่บริเวณพื้นทะเลที่เป็นดินทรายปนโคลน เป็นปลาที่พบเห็นได้ยากมากในปัจจุบัน พบได้ในทะเลแดง, แอฟริกาตะวันออก, ญี่ปุ่นตอนใต้, ปาปัวนิวกินี, ในน่านน้ำไทยพบที่ฝั่งอันดามัน โดยมีชื่อที่ชาวประมงเรียกว่า “ปลากระเบนพื้นน้ำ”

เครื่องรางของขลัง และ เครื่องประดับ

อาจเป็นหนึ่งในสิ่งที่ทำให้ปลาโรนินลดจำนวนลงอย่างมาก เนื่องจากมีความเชื่อว่าหนามบนหลังของปลา ใช้เป็นเครื่องรางของขลังในทางไสยศาสตร์ โดยนิยมนำมาทำเป็นหัวแหวน หรือนำมาห้อยคอ และยังมีราคาซื้อขายที่ไม่แพง

ปลาโรนิน

โดยผู้ที่ตามหาเครื่องรางของขลังที่ทำจากชิ้นส่วนของปลาโรนิน มักจะเชื่อว่า มันจะช่วยให้ แคล้วคลาดจากคุณไสย เสริมสิริมงคล เดินทางปลอดภัย และหัวแหวนที่ทำจากหัวกระเบนท้องน้ำ เมื่อนำไปจุ่มในน้ำที่มีสารพิษ ก็จะเปลี่ยนสีทันที ป้องกันถูกวางยา

“เมื่อช่วงปี 2561 กรมประมงได้ประกาศเตือนผู้ครอบครองแหวนหัวกระเบนท้องน้ำ หรือส่วนหนามบนหัวปลาโรนินให้แจ้งครอบครองตามกฎหมายภายในวันที่ 29 พ.ย. 2561 นี้เนื่องจากปลาโรนิน ถูกบรรจุในบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองแล้ว หากไม่แจ้งมีโทษปรับ 40,000 บาท”

ก็อย่างที่เห็น “ปลาโรนิน” ตอนนี้ได้รับการประกาศเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ในวันที่ 12 มิ.ย. 2561 ซึ่งถึงแม้จะช้าไปหน่อย แต่ก็ยังดีกว่าไม่ได้ทำอะไร สุดท้ายก็หวังว่าต่อไปอีกหลายปีพวกมันจะมีมากขึ้นในน่านน้ำไทย

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements