มูนฟิช ‘ปลาเลือดอุ่น’ ตัวแรกและอาจเป็นตัวเดียวในโลก

พอดีมีน้าแชร์หน้าตาของปลาที่เรียกว่า ปลามูนฟิช หรือ ปลาพระจันทร์ มันเป็นปลาทีหน้าตาประหลาด จริงๆ ผมคิดอยู่ว่าเจ้านี่คล้ายปลาแสงอาทิตย์ แต่ที่ประหลาดไม่ใช่หน้าตาเท่านั้น มันเป็น "ปลาเลือดอุ่นชนิดแรกของโลก" อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีความสามารถพิเศษที่ปลาอื่นไม่มีอีก แต่หากเทียบกับปลาแสงอาทิตย์ ดูมันมีชะตากรรมไม่ค่อยดีเท่าไร เพราะมันดันเป็นปลาเนื้อดี "เนื้ออร่อย" ด้วยเหตุนี้มันจึงเป็นปลาที่มักโดนจับมากิน โดยเฉพาะเมนูญีปุ่น เดี๋ยวมาดูเรื่องราวของปลาพระจันทร์กันดีกว่า ถ้าชอบยังไงก็ฝากแชร์กันหน่อยนะครับ

“ปลามูนฟิช หรือ ปลาพระจันทร์ หรือ ปลาโอปาห์ ( Moon fish, Opah) ชื่อวิทยาศาสตร์ Lampris guttatus ปลาทะเลกระดูกแข็งขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลามูนฟิช (Lampridae)”

เป็นปลาที่มีรูปร่างกลมแป้น แบนข้างมาก ตามผิวหนังจะมีจุดกลมสีขาวที่เมื่อสะท้อนกับแสงเมื่ออยู่ใต้น้ำ แล้วจะมีความแวววาวดุจแสงจันทร์ จึงเป็นที่มาของชื่อสามัญ ครีบทุกครีบเป็นสีแดงสด มีขนาดใหญ่สุดได้ถึง 2 เมตร และมีน้ำหนักกว่า 270 กิโลกรัม แต่ขนาดโดยทั่วไปจะมีน้ำหนักประมาณ 40–80 กิโลกรัม

ปลาเลือดอุ่นชนิดแรกของโลก

Advertisements

ตามข้อมูลปลาชนิดนี้เป็น “ปลาเลือดอุ่นชนิดแรกของโลก” มันได้รับการยืนยันจากทีมนักวิทยาศาสตร์จากสำนักงานสมุทรศาสตร์และชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) ค้นพบว่าปลา Opah หรือ ปลาพระจันทร์ เป็นปลาเลือดอุ่นสายพันธุ์แรกของโลก มันเหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์จำพวกนก

เลือดอุ่นแล้วดียังไง?

ในฐานะปลาแล้ว การที่เลือดอุ่นย่อมดีกว่าเลือดเย็น เพราะมันจะสามารถรักษาอุณภูมิของร่างกายได้ดีกว่า โดยปลาชนิดนี้จะรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้อบอุ่นกว่าสภาพแวดล้อมในน้ำลึกประมาณ 5 องศาเซลเซียส ตัวอย่างเช่น ถ้าน้ำเย็น 5 องศาเซลเซียส ร่างกายของปลาจะอยู่ที่ 10 องศาเซลเซียส ซึ่งช่วยทำให้สามารถว่ายลงไปได้ลึกกว่าปลาทั่วไปและอยู่ใต้ทะเลลึกได้นานกว่า

กระบวนการแลกเปลี่ยนความร้อน

“ที่ความลึกในสภาพเย็น ปลาจะมีวิธีการพิเศษ “แลกเปลี่ยนความร้อน” โดยอาศัยกล้ามเนื้อพิเศษบริเวณอก ผ่านการโบกครีบอกด้วยความเร็วสูงอย่างต่อเนื่อง ความร้อนที่เกิดขึ้นจะคงอยู่ในร่างกายของมัน โดยชั้นไขมันใกล้ผิวหนังและกระบวนการจะเป็นดังต่อไปนี้”

จากผลการวิจัยที่เคยถูกตีพิมพ์ลงในวารสารวิทยาศาสตร์ ระบุว่า เนื้อเยื่อในเหงือกของปลาจะนำเลือดแดง (เลือดที่ยังไม่ใช้งาน) ที่มีอุณหภูมิต่ำ (เย็น) เข้าสู่ร่างกาย ไหลเวียนผ่านกล้ามเนื้อที่สร้างความร้อน จากนั้นเลือดที่ใช้งานแล้ว (เลือดดำ) จะนำความร้อนและคาร์บอนไดออกไซด์ จากร่างกายมาเข้าสู่กระบวนการแลกเปลี่ยนที่เหงือกอีกครั้ง

ผลคือเลือดแดงชุดใหม่ที่กำลังจะเข้าสู่ร่างกาย จะได้รับการถ่ายเทความร้อนจากเลือดดำที่ไหลเวียนออกมา ทำให้ความร้อนในร่างกายไม่หายไปไหน นักวิจัยเรียกกระบวนการนี้ว่า Counter-current heat exchange

ความโชคไม่ดีของปลาพระจันทร์

Advertisements

ข้อแรกเลย ไม่ต้องไรมาก มันดันเป็นปลาที่อร่อย ข้อสองคือ เพราะมันเป็นปลาน้ำลึก พวกมันจะเคลื่อนที่ช้ามาก ด้วยความความเร็วประมาณ 25 เซนติเมตร/วินาที หรือถ้าหนีตายก็เร่งได้เป็น 4 เมตร/วินาที จึงไม่แปลกที่มันจะหนีนักล่าไม่ได้ ด้วยเหตุนี้มันจึงเป็น “ปลาหายาก” และแพงมาก ตามข้อมูลเห็นเคยมีขายในไทย 2500 บาทต่อกิโล

Advertisements

เป็นยังไงบ้างครับกับความสามารถของปลาชนิดนี้ ถ้าเป็นคนรู้จักระบบความเย็นของตู้เย็นหรือแอร์อยู่บ้าง คงคิดคล้ายผมว่า ปลาตัวนี้มันคล้ายตู้เย็นเลยแหะ เพียงแต่ตรงข้ามกัน

“แทนที่จะดึงความร้อนออกจากตู้ เพื่อภายในตู้เย็นอยู่ตลอดเวลา มันกลับดึงความเย็นออกจากตู้แทน นั้นหมายความว่าภายในตู้จะร้อนตลอดเวลา” และด้วยกระบวนการนี้ปลาพระจันทร์จึงรักษาความร้อนให้กับร่างกายได้ตลอดเวลา จึงไม่ต้องกลัวเรื่องแข็งตายเท่าไร ..เอาล่ะขอลาไปตรงนี้ถ้าชอบอย่าลืมแชร์ให้น้าๆ ท่านอื่นอ่านกัน

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements