ปลาแปลกๆ ตัวนี้ กำลังเผชิญกับอนาคตที่ไม่แน่นอน

แม่น้ำโคโลราโดได้รับการขนานนามว่า เป็นแม่น้ำที่ใช้งานหนักที่สุดในอเมริกาฝั่งตะวันตก มันส่งน้ำไปยังเมืองใหญ่ของประเทศในฝั่งตะวันตก เช่น ลอสแองเจลิสและลาสเวกัส รวมถึงพื้นที่เกษตรกรรมที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด หุบเขาอิมพีเรียลของรัฐแคลิฟอร์เนีย ผู้คนสี่สิบล้านคนในเจ็ดรัฐพึ่งพาแม่น้ำโคโลราโด และในแต่ละปีมีผู้คนมากกว่าหกล้านคนมาเยี่ยมเยียนแกรนด์แคนยอนที่ทอดยาวสุดสายตา

ปลาหลังค่อม

แต่สิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่มนุษย์จำนวนมากก็ยังต้องพึ่งพาลุ่มน้ำโคโลราโด ส่วนใหญ่เป็นปลาที่แปลกประหลาดและอาศัยอยู่ในแม่น้ำ นี่คืออาณาเขตของปลาหลายชนิดเช่น Bonytail chub, The Razorback sucker และ Colorado pikeminnow ปลานักล่ายาวได้ถึงสองเมตรที่นักตกปลายุคแรก ๆ จับได้โดยการผูกสายเบ็ดเข้ากับกันชนรถบรรทุกของพวกเขาเพื่อลากมันขึ้น

แม่น้ำโคโลราโดตอนล่างมีอัตราส่วนปลาประจำถิ่นสูงสุดในอเมริกาเหนือ ซึ่งหมายความว่า 6 ใน 8 สายพันธุ์พื้นเมืองเป็นปลาเฉพาะที่ ซึ่งไม่มีที่ไหนในโลก ถ้าเกิดอะไรขึ้นกับพวกมัน มันสามารถสูญพันธุ์ไปได้

ปลาที่นักวิจัยรู้จักดีที่สุดในระบบนิเวศที่โดดเด่นของแม่น้ำคือ “ปลาหลังค่อม (Humpback chub)” ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่แปลกประหลาด มันเป็นสมาชิกของปลาตระกูล minnow มียาวประมาณ 1 ฟุต มีครีบสีส้มขนาดใหญ่ และมีลักษณะนูนคล้ายสันเขาที่ด้านหลัง ซึ่งเป็นโหนกที่แปลกประหลาด มันคือปลาหลังค่อม

Brian Healy หัวหน้านักชีววิทยาด้านปลาของอุทยานแห่งชาติแกรนด์แคนยอนกล่าวว่า “พวกมันเป็นสัตว์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของแกรนด์แคนยอน เช่นเดียวกับหน้าผา และทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำให้สถานที่แห่งนี้มีความพิเศษ “พวกมันมีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาหลายล้านปี” ในช่วงปี 1800 นักสำรวจแร่ทองคำคนหนึ่งในหุบเขาลึกรายงานว่า “คุณสามารจับพวกมันได้เมื่อคุณเอามือจุ่มลงในน้ำ” แสดงให้เห็นว่ามันมีเยอะขนาดไหน

อย่างไรก็ตาม ศตวรรษที่ 20 เป็นช่วงเวลาที่เลวร้ายสำหรับปลาหลังค่อม ชาวประมงได้เลี้ยงปลาเทราท์และเบสที่ไม่ใช่ปลาพื้นเมือง และมีการฆ่าปลาหลังค่อมและ “ปลาไร้ค่า” อื่นๆ ที่เรียกแบบนี้เนื่องจากพวกเขามองว่า พวกมันขาดคุณค่าในฐานะปลากีฬาและไร้ประโยชน์

เขื่อนของรัฐบาลกลางขนาดมหึมา เช่น เขื่อนฮูเวอร์ ซึ่งเป็นเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ มันได้ทำลายพื้นที่ไปมาก ซึ่งปลาน้ำจืดจำเป็นต้องอยู่รอด จนในปี 1967 รัฐบาลได้ประกาศให้ปลาหลังค่อมเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งเป็นมาตรการที่ไม่สามารถหยุดยั้งการสูญพันธุ์ได้เพราะมันแทบจะสายไปแล้ว

แต่ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ จำนวนปลาเริ่มเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความพยายามในการอนุรักษ์ เช่น การย้ายปลาไปยังแม่น้ำสาขาที่ยังสะอาดและไม่มีเขื่อน ปัจจุบันมีปลาประมาณ 12,000 ตัวอาศัยอยู่ในแกรนด์แคนยอนที่ทอดยาวในโคโลราโด และอีกหลายพันตัวกระจัดกระจายไปทั่วบริเวณ …ในการศึกษาปี 2018 หน่วยงาน Fish & Wildlife Service พบว่าปลาหลังค่อมมีจำนวนเพิ่มขึ้นมา ซึ่งหมายความว่าไม่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อีกต่อไป

หลังจากตรวจสอบนานสามปี หน่วยงานได้สรุปเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2021 ให้มันเป็นสัตว์คุ้มครอง นอกจากนี้ยังเสนอให้ดำเนินการเช่นเดียวกันกับปลา Razorback sucker ซึ่งระบุว่าใกล้สูญพันธุ์ตั้งแต่ปี 1991 คำวินิจฉัยเหล่านี้ร่วมกันชี้ให้เห็นว่าระบบนิเวศที่มีปัญหาของแม่น้ำโคโลราโดกำลังมุ่งหน้าไปในทิศทางที่ถูกต้อง

Gloria Tom ผู้อำนวยการกรมประมงและสัตว์ป่าแห่งชาติของ Navajo กล่าวว่า “การได้เห็นสถานะประชากรพวกมันเพิ่มขึ้นในสถานที่สำคัญทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์นั้นถือเป็นเรื่องดี” ทว่าอนาคตของปลาหลังค่อมยังไม่ปลอดภัย

Advertisements
เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลกลางได้ประกาศการขาดแคลนน้ำครั้งแรกของลุ่มน้ำโคโลราโด ทำให้ปริมารถน้ำน้อยลงสำหรับบางรัฐ เช่น แอริโซน่า ตามการคาดการณ์ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสามารถลดกระแสน้ำของแม่น้ำโคโลราโดได้ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษ

“มันยังคงเป็นสถานการณ์ที่ล่อแหลมสำหรับปลาหลังค่อม” Taylor McKinnon นักรณรงค์สาธารณะอาวุโสที่ Center for Biological Diversity ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรในรัฐแอริโซนากล่าว

ปลาหลังค่อมได้รับผลกระทบอย่างไร?

Advertisements

ก่อนที่มนุษย์จะเข้ามา แม่น้ำโคโลราโดมีแนวโน้มที่จะผันผวนอย่างรุนแรง จากกระแสน้ำเชี่ยวกรากในช่วงฤดูใบไม้ผลิไปจนถึงฤดูร้อน ตะกอนมากถึง 65 ล้านตัน ซึ่งเป็นของเหลวจากภูเขาและทะเลทรายทางตะวันตกไหลผ่านแกรนด์แคนยอนในแต่ละปี

นักวิทยาศาสตร์หลายคนเชื่อว่าปลาหลังค่อมพัฒนาให้เจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมที่ผันผวนได้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าโหนกของมัน บางคนแนะนำว่าส่วนนูนทำหน้าที่เป็นตัวกันโคลงคล้ายกระดูกงู ซึ่งคงตัวปลาในช่วงน้ำท่วมฤดูใบไม้ผลิ คนอื่นๆ ตั้งสมมติฐานว่ามันทำให้ปลากินยากขึ้นสำหรับสัตว์อื่นที่จะกลืนกินมัน

เริ่มตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1930 เขื่อนได้เปลี่ยนแม่น้ำไปอย่างมาก กำแพงคอนกรีตขนาดมหึมาจำนวนหนึ่ง ซึ่งออกแบบมาเพื่อควบคุมน้ำท่วม กักเก็บน้ำ และผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ ได้ทำให้แม่น้ำโคโลราโดกลายเป็นแหล่งกักเก็บน้ำที่เฉื่อย ซึ่งไม่เหมาะกับปลาน้ำจืดที่ชอบกระแสน้ำที่รวดเร็วและวางไข่ในแม่น้ำที่มีก้นหินเป็นแนวยาว เขื่อนฮูเวอร์ซึ่งเลาะเลียบพรมแดนระหว่างเนวาดาและแอริโซนา และเขื่อนแฟลมิง กอร์จ ในรัฐยูทาห์ ซึ่งได้กวาดล้างประชากรปลาในบริเวณใกล้เคียงออกไป

ในเขตอนุรักษ์ของอุทยานแห่งชาติแกรนด์แคนยอน ปลาหลังค่อมยังอยู่ได้ แต่ถึงอย่างนั้น เขื่อนก็สร้างความเสียหายให้กับปลา ในปี 1963 รัฐบาลได้เสร็จสิ้นการก่อสร้างเขื่อนเกลนแคนยอนในรัฐแอริโซนา บริเวณต้นน้ำจากแกรนด์แคนยอน ทำให้เกิดทะเลสาบพาวเวลล์ขนาดมหึมา ทะเลสาบได้สร้างความเสียหายต่อสัตว์น้ำจำนวนมาก

ปลาหลังค่อมที่ต้องการน้ำอุ่น (อย่างน้อย 60 องศาฟาเรนไฮต์) เพื่อเติบโตและวางไข่ แต่น้ำที่ไหลผ่านเขื่อนเกลนแคนยอนดึงมาจากส่วนลึกที่หนาวเย็นของทะเลสาบพาวเวลล์ ซึ่งเย็นกว่าแม่น้ำธรรมชาติประมาณ 20 องศา กระแสน้ำที่เย็นยะเยือกทำให้การวางไข่ล่าช้าและทำให้การเติบโตของปลาชะงักงัน ทำให้ปลาตัวเล็กเสี่ยงต่อการเป็นเหยื่อของปลาเทราท์และปลานักล่าชนิดอื่นๆ

เขื่อนยังกำจัดพวกตะกอนอีกด้วย ครั้งหนึ่งปลาหลังค่อมได้หลบซ่อนตัวอยู่ในแอ่งน้ำนิ่งอันเงียบสงบหลังสันดอนทรายของหุบเขา ซึ่งก่อตัวและเคลื่อนตัวไปตามแม่น้ำที่ตกตะกอนในช่วงที่เกิดอุทกภัย แต่ทะเลสาบพาวเวลล์ทำให้ะตะกอนถูกดักไว้ ทำให้ไม่มีสันดอนและยังทำให้แหล่งที่อยู่อาศัยที่สำคัญสูญเสียไป

เมื่อเวลาผ่านไป ปลาหลังค่อมจะแยกออกเป็นห้ากลุ่มเล็กๆ ที่แยกตัวออกมา กลุ่มที่ใหญ่ที่สุดรวมตัวกันรอบๆ แม่น้ำลิตเติลโคโลราโด ซึ่งเป็นสาขาที่บรรจบกับแกนหลักโคโลราโดในแกรนด์แคนยอน ประชากรขนาดเล็กอีกสี่กลุ่มยังคงอยู่บนแม่น้ำโคโลราโดตอนบนและแม่น้ำกรีนของยูทาห์ แต่ปลากลุ่มนี้ยังคงลดน้อยลง ภายในปี 2002มีปลาหลังค่อมเพียง 10,000 ตัวเท่านั้นที่ยังคงอยู่ในธรรมชาติ

ฟื้นชีพอีกครั้ง

ในช่วงทศวรรษ 2000 นักชีววิทยาจาก U.S. Fish and Wildlife Service และหน่วยงานอื่นๆ เริ่มมีบทบาทอย่างแข็งขันมากขึ้นในการฟื้นฟูปลา ในปี 2003 เริ่มย้ายปลาจากแม่น้ำลิตเติลโคโลราโดไปยังแควแกรนด์แคนยอนด้วยเฮลิคอปเตอร์ โดยหวังว่าจะสร้างประชากรใหม่เพื่อป้องกันการสูญพันธุ์ ตอนนี้ปลาที่ย้ายถิ่นฐานกำลังผสมพันธุ์ในแม่น้ำลิตเติลโคโลราโดตอนบน, Havasu Creek และ Bright Angel Creek ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาที่อบอุ่นและมีสภาพเหมาะกับการเติบโตของพวกมัน

Advertisements
รัฐบาลยังได้ปรับเปลี่ยนการดำเนินงานที่เขื่อนเกลนแคนยอน เริ่มต้นในปี 1996 สำนักบุกเบิกซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดการเขื่อน เริ่มปล่อย “การทดลองการไหลสูง” เป็นระยะๆ ซึ่งเป็นจังหวะของน้ำที่มีจุดประสงค์เพื่อเลียนแบบอุทกภัยครั้งประวัติศาสตร์ กระแสน้ำที่ไหลอย่างกะทันหันและตะกอนที่สะสมไว้นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชายหาดสำหรับตั้งแคมป์ของนักล่องแพ แต่ปลาอาจได้รับประโยชน์จากสันดอนทรายและแหล่งน้ำนิ่งใหม่

บางทีการสนับสนุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดมาจากสิ่งที่ไม่คาดคิด นั่นคือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตั้งแต่ปี 2000 แม่น้ำโคโลราโดประสบภัยแล้ง ภัยพิบัติที่เกิดจากสภาพอากาศซึ่งลดการไหลของน้ำลงเกือบ 20 เปอร์เซ็นต์ และกลายเป็นโชคดีสำหรับปลาน้ำจืด ได้ทำให้น้ำจากทะเลสาบพาวเวลล์อุ่นขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น อ่างเก็บน้ำหลังเขื่อนฮูเวอร์ ได้ลดขนาดลงเหลือเพียง 34 เปอร์เซ็นต์ของความจุทั้งหมด ทำให้เกิดสันดอนทรายและกระแสน้ำที่ผุดขึ้นมาใหม่ และกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวได้ขัดขวางไม่ให้นักล่าที่รุกรานได้ จึงเป็นที่หลบภัยของปลาท้องถิ่น

แต่ภัยอื่นก็ยังมีอยู่

แม้ว่าลิสต์จากสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ เปลี่ยนเป็นถูกคุกคามดูเหมือนจะเป็นข่าวดี แต่ปัญหาก็ยังมีอยู่ อย่างแรก ปลาหลังค่อมทางเหนือของแกรนด์แคนยอนยังต้องพบกับภัยอันตราย ปลากลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ใน Black Rocks ซึ่งเป็นหุบเขาลึกในรัฐโคโลราโด ประกอบด้วยปลาที่โตเต็มวัยเพียง 450 ตัว จำนวนพวกมันยังไม่นิ่ง มันต้องเจอภัยจากปลากินเนื้ออย่าง walleye, northern pike และ smallmouth bass ซึ่งครองทางเหนือแม่น้ำ โดยกินปลาตัวเล็ก และการรุกรานเหล่านี้อาจแพร่หลายมากขึ้นเมื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้แม่น้ำอุ่นขึ้น

ในแกรนด์แคนยอน บ้านเกิดของปลาหลังค่อม ปลาเทราต์สีน้ำตาลที่ไม่ใช่ปลาดั่งเดิมและปลาซันฟิชสีเขียวได้เพิ่มขึ้นมาก กระแสน้ำอุ่นแบบเดียวกันที่ช่วยปลาหลังค่อม ยังช่วยให้ปลานักล่ารุกรานได้มากขึ้น “ถ้าเรามีช่วงเวลาที่แห้งแล้งมากขึ้น มีความเป็นไปได้สูงที่ปลาที่ไม่ใช่สัตว์พื้นเมืองจะผ่านเขื่อนและขยายพันธุ์ในอุทยาน” สถานการณ์แบบนี้ทำให้ชะตากรรมพวกมันกลับมาแย่อีกครั้ง

“เพื่อให้แน่ใจว่าปลาหลังค่อมจะมีชีวิตต่อไป ทนายความ วิศวกร และนักการเมืองจะต้องเป็นตัวกลางในการแก้ปัญหาร่วมกับนักชีววิทยาปลาและนักวิจัยคนอื่นๆ” Jack Schmidt นักวิทยาศาสตร์ด้านแม่น้ำจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐยูทาห์ ในเมืองโลแกนกล่าว

“มาตรการเพื่อส่งเสริมการอยู่รอดของพวกมัน จะต้องรวมอยู่ในข้อตกลงด้านน้ำในอนาคตด้วย และยังต้องให้ความสำคัญกับสัตว์ท้องถิ่นชนิดอื่นๆ” Schmidt กล่าว

Schmidt ยังเพิ่มอีกว่า “การตัดสินใจเชิงนโยบายที่สำคัญทั้งหมดและการเจรจางที่รออยู่ข้างหน้าจะมีนัยสำคัญต่อระบบนิเวศของลุ่มน้ำ”

นั่นอาจหมายถึงการจัดการกับการปล่อยเขื่อนเพื่อรักษาอุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสม หรือวิศวกรรมการไหลที่เสถียรยิ่งขึ้นเพื่อส่งเสริมแมลงในน้ำ แต่การกระทำเหล่านี้อาจเป็นการลำบาก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้มีการแข่งขันสูงขึ้นเพื่อแย่งชิงน้ำที่ขาดแคลนมากขึ้นในแม่น้ำโคโลราโดอย่างหนัก

“เรากำลังพยายามสร้างสมดุลระหว่างการให้พลังงาน การบริโภค กิจกรรมต่างๆ และแหล่งที่อยู่อาศัยของปลา” Mark McKinstry นักชีววิทยาจากสำนักบุกเบิกกล่าว “เมื่อคุณเริ่มทำอะไรสักอย่าง ส่วนอื่นๆ อาจได้รับผลกระทบ แต่ต้องทำให้มันมีผลน้อยสุด”

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements
แหล่งที่มาnationalgeographic