วัสดุพลาสติกชนิดใหม่ได้รับการพัฒนาโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Huazhong ของจีน มันเกิดขึ้นในขณะที่ทำงานกับเซ็นเซอร์เคมีขั้นสูง โดยนักวิจัยกำลังพัฒนาฟิล์มโพลีเมอร์ที่จะเปลี่ยนสีตามระดับ pH
“สิ่งนี้เกิดขึ้นเนื่องจากโครงสร้างโมเลกุลที่เป็นเอกลักษณ์ของวัสดุ และสายโซ่ของโมโนเมอร์ทำให้ฟิล์มมีสีแดงเข้มและหายไปทันทีที่พันธะแตก”
อย่างไงก็ตาม ทีมงานสังเกตเห็นว่าสีแดงเข้มของฟิล์มจางลงอย่างรวดเร็ว โดยที่วัสดุแตกสลายหลังจากโดนแสงแดดเป็นเวลาหลายวัน มันไม่ใช่เรื่องแปลกที่พันธะดังกล่าวจะแตกหักได้ หากเป็นความพยายามในการวิจัยเพื่อให้สามารถรีไซเคิลได้ดีขึ้น
พลาสติกชนิดนี้ เมื่อสัมผัสกับแสงแดดและออกซิเจน มันจะสลายตัวอย่างสมบูรณ์ภายในหนึ่งสัปดาห์ โดยไม่ทิ้งร่องรอยของพลาสติกที่ทำลายสิ่งแวดล้อมเอาไว้เลย ในกระบวนการนี้ยังปล่อยผลพลอยได้ออกมา ซึ่งก็คือ “กรดซักซินิก” ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตามนักวิจัยเชื่อว่าสิ่งนี้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ในเชิงพาณิชย์ในยาหรืออาหาร
ด้วยโครงสร้างโมเลกุลที่เป็นเอกลักษณ์ของพลาสติกชนิดนี้ มันไม่เหมาะสำหรับขวดน้ำหรือถุงช้อปปิ้ง เนื่องจากพลาสติกจะคงความเสถียรได้เฉพาะในที่มืดโดยไม่มีออกซิเจน ในตอนนี้มันจึงเหมือนยังไม่มีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันเท่าไร
แต่อย่างไรก็ตามเมื่ออยู่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือสมาร์ทโฟนที่มักจะถูกแยกออกจากอากาศและแสง อุปกรณ์ที่ปิดสนิท ด้วยวิธีนี้นักวิจัยเชื่อว่า มันจะย่อยสลายและส่งผลให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์น้อยลงไปมาก
ในตอนนี้นักวิจัยกำลังหาวิธีที่จะทำให้พลาสติกชนิดนี้ใช้งานได้มากขึ้น มันอาจใช้ร่วมกับพลาสติกที่ย่อยสลายได้ชนิดอื่นๆ อย่างไรก็ตาม พวกเขาระบุว่าคงต้องทำการวิจัยเพิ่มเติมอีกหลายปีกว่าจะใช้กับสินค้าเชิงพาณิชย์