มรดกจากการทดสอบนิวเคลียร์ปี 1960 กลับมาหลอกหลอนฝรั่งเศสแล้วในปี 2021

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และหลังจากนั้น ประเทศต่างๆ พยายามสร้างระเบิดนิวเคลียร์ของตัวเอง แล้วฝรั่งเศสก็เป็นหนึ่งในนั้น โดยในตอนนั้นยังไม่มีกฎที่ว่าห้ามทดสอบระเบิดนิวเคลียร์บนพื้น-ชั้นบรรยากาศ แล้วในปี 1960 ทางฝรั่งเศสได้เริ่มทดสอบระเบิดในซาฮารา มันเป็นการทดสอบที่ถูกตั้งชื่อโปรแกรมว่า Gerboise Bleue (Blue Desert Rat) และยังถูกสอบต่อเนื่องรวม 4 ครั้งในชื่อโปรแกรมที่ต่างกัน แต่แล้วในปี 2021 ผลกระทบจากระเบิดครั้งนั้นได้กลับมาหลอกหลอนฝรั่งเศส เดี๋ยวมาดูกันว่าเรื่องเป็นยังไงกันแน่

ปี 2021 ฝุ่นกัมมันตภาพรังสีจากซาฮารากลับมาหลอกหลอนฝรั่งเศส

Advertisements

แม้ผ่านมามากกว่า 60 ปี กัมมันตภาพรังสีจากการทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ปี 1960 ก็ยังคงอยู่ ลมที่เต็มไปด้วยฝุ่นจากทะเลทรายซาฮาราลอยไปทางเหนือ ผ่านสเปน ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และไอร์แลนด์ ในเดือนกุมภาพันธ์

นอกเหนือจากจะทำให้ท้องฟ้ายามเย็นที่แต่งแต้มด้วยสีทองแดง ยังส่งผลให้รังสีพุ่งสูงขึ้นอีก และจากข้อมูลของ ACRO (Association for Control of Radioactivity in the West) ฝุ่นกัมมันตภาพรังสีล่าสุดนี้ สามารถเชื่อมโยงอย่างแน่นหนากับอดีตอาณานิคมของฝรั่งเศสและการทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ในยุคสงครามเย็น

ก่อนที่แอลจีเรียจะได้รับเอกราชจากการตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสในปี 1962 ผืนทะเลทรายซาฮาราถูกใช้เป็นสนามเด็กเล่นสำหรับการทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ของฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 1960 ฝรั่งเศสได้ทำการทดสอบในชั้นบรรยากาศเป็นครั้งแรกโดยมีชื่อรหัสว่า “Gerboise Bleue” (Blue Desert Rat) และมีการทดสอบใต้ดินอีกจำนวนหนึ่งตามมา การทดสอบดังกล่าวทำให้รังสียังคงแฝงตัวอยู่ ในทะเลทรายจนถึงทุกวันนี้

การวิเคราะห์โดย ACRO ชี้ให้เห็นว่าการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของการแผ่รังสีในฝรั่งเศส เชื่อมโยงโดยตรงกับการทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ครั้งประวัติศาสตร์นี้ นักวิจัยได้เก็บตัวอย่างของ Saharan Dust จากกระจกหน้ารถ แล้วนำไปที่ห้องปฏิบัติการเพื่อทำการวิเคราะห์

จนทำให้เห็นถึงการมีอยู่ของซีเซียม -137 (cesium-137) ซึ่งเป็นไอโซโทปกัมมันตภาพรังสีที่ไม่พบตามธรรมชาติของทรายของทะเลทรายซาฮารา แต่โดยทั่วไปจะผลิตโดยการฟิชชันนิวเคลียร์ของยูเรเนียม -235 ในอาวุธนิวเคลียร์

“นี่เป็นมลพิษกัมมันตภาพรังสี ซึ่งเป็นผลที่ยาวนานแม้จะผ่านมาแล้วถึง 60 ปี หลังจากการทดสอบครั้งนั้น”

Kathum El-Abodi นักวิทยาศาสตร์ชาวแอลจีเรียกล่าวว่า การทดสอบนิวเคลียร์ในแอลจีเรียยังส่งผลให้เกิดความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมอย่างหนัก เช่นการเคลื่อนตัวของเนินทรายในพื้นที่ นอกจากนี้การกระจายของรังสียังนำไปสู่การลดลงของสัตว์และความหลากหลายทางชีวภาพรวมถึงการหายไปของสัตว์เลื้อยคลาน รวมทั้งนกอพยพและนกเฉพาะถิ่นจำนวนมาก ..และเรื่องนี้ไม่มีการชดเชยใดๆ จากฝรั่งเศส

เกาะ Bikini Atoll ซึ่งมีการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์อย่างน้อย 23 ครั้ง โดยสหรัฐฯ

นอกจากการทดสอบในทะเลทรายซาฮารา ยังมีหลายพื้นที่ๆ ได้รับผลกระทบอย่างหนัก เช่นใน เกาะ Bikini Atoll ซึ่งมีการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์อย่างน้อย 23 ครั้ง โดยสหรัฐฯ ระหว่างปี 1946-1958 รวมทั้ง Castle Bravo ซึ่งเป็นอาวุธนิวเคลียร์ที่ทรงพลังที่สุดเท่าที่สหรัฐฯเคยทดสอบมา และด้วยเหตุนี้รอบๆ บริเวณเกาะ Bikini Atoll จะยังมีกัมมันตภาพรังสีมากกว่าเชอร์โนบิลซะอีก

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements