ทำไม? สัตว์มีพิษ จึงไม่ตายเพราะพิษของตัวเอง

เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า ทำไมสัตว์มีพิษจึงไม่ถูกพิษของตัวเองจนตาย? เรื่องนี้ได้รับการศึกษามานาน แต่จนถึงทุกวันนี้คำตอบก็ยังไม่แน่ชัด เพราะพิษจากสัตว์ก็มีหลายชนิด และเรื่องที่สัตว์ไม่ตายเพราะพิษที่ผลิตขึ้นมาเองยังพอจะเข้าใจได้ แต่หากเป็นสัตว์ที่รวบรวมพิษจากสัตว์หรือพืชชนิดอื่นล่ะทำไมพวกมันจึงไม่เป็นอะไร?

ในป่าฝนของนิวกีนีมีนกตัวเล็กๆ ที่ภายนอกดูธรรมดา แต่มันมีความลับอันน่าสะพรึงกลัว ปิโตฮุยมีฮู้ด (Hooded Pitohui) มันมีขนสีส้มและดำซึ่งมีพิษ เพียงแค่สัมผัสขนของมันก็ทำให้รู้สึกเหมือนโดนไหม้

“พิษพวกนี้เป็นกลไกในการป้องการตัวของสัตว์ จากสิ่งมีชีวิตที่จะมากินมัน” – Daniel Minor นักชีวฟิสิกส์จาก สถาบันวิจัยหัวใจของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่านกปิโตฮุยมีฮู้ดไม่ได้ผลิตสารพิษด้วยตนเอง แต่อาจจะได้จากด้วงที่มันกินเป็นอาหาร กลไกพิษนี้สงสัยว่าอาจจะมีในกบพิษอเมริกาใต้ที่โด่งดังด้วย ซึ่งทั้งหมดนี่นำไปสู่คำถามว่า … สัตว์มีพิษพวกนี้ทำไมถึงไม่ได้รับผลจากพิษของตัวเอง?

นกปิโตฮุยมีฮู้ด (Hooded Pitohui) อาจเป็นนกชนิดเดียวในโลกที่มีพิษถึงตาย ..กดเพื่ออ่าน

ฟองน้ำพิษ?

Advertisements

เป็นเวลาหลายทศวรรษที่ทฤษฏีที่ว่านกและกบพิษพวกนี้ สามารถพัฒนาช่องโซเดียม (Sodium channel) ในร่างกายให้สามารถต้านทานสารพิษได้ มีสัตว์หลายชนิดที่ร่างกายมีกลไกป้องกันสารพิษ เช่น พังพอน

แต่ผลการศึกษาที่เพิ่งตีพิมพ์ลงในวารสาร Journal of General Physiology ได้เปลี่ยนทุกสิ่งไป ..นักวิจัยพบหลักฐานว่าปิโตฮุยมีฮู้ดและกบพิษมีสิ่งที่เรียกว่า “ฟองน้ำพิษ” หรือโปรตีนที่กำจัดพิษ ซึ่งสามารถดูดซับสารพิษที่อันตรายให้สลายไปได้

หลักฐานของฟองน้ำพิษ

ในห้องทดลอง Minor และเพื่อนร่วมงานได้จำลองยีนที่เกี่ยวข้องกับปิโตฮุยมีฮู้ดและกบพิษขึ้นมา และใส่เข้าไปในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่สัมผัสกับพิษ BTX ซึ่งมีผลต่อระบบประสาท เซลล์พวกนี้ถูกสารพิษ BTX เล่นงานทำให้พบว่าระบบโซเดียมของสัตว์พวกนี้ไม่สามารถต้านทานได้ และเมื่อฉีด BTX เข้าไปในกบ มีเพียงกบพิษเท่านั้นที่รอดชีวิต

กบพิษ

“นั้นทำให้เราได้ข้อมูลว่ามีบางอย่างที่ป้องกันสารพิษพวกนี้ไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย” Minor กล่าว ทฤษฎีของเขาคือโปรตีนของฟองน้ำ ให้ภูมิคุ้มกันกับพวกกบพิษ ถึงแม้ว่าเขาจะไม่พบสิ่งที่คล้ายคลึงกันในนกปิโตฮุยมีฮู้ดกับกบพิษ แต่นี่คือสิ่งที่ใกล้เคียงกับที่เขาสงสัย

กบพิษเป็นหนึ่งในสัตว์ที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก

Rebecca Tarvin นักชีววิทยาด้านการวิวัฒนาการจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ได้ทำการวิจัยกบพิษและพบว่า พวกมันสามารถทนต่อพิษที่ส่งผลต่อระบบประสาทอีกชนิดที่เรียกว่า Epibatidine ได้ และผลค่อนข้างน่าประทับใจ

“จากการวิจัย ฉันรู้สึกประหลาดใจมีที่ระบบโซเดียมของกบพิษ ไม่ไวต่อสาร BTX ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่เราคาดการณ์ไว้” Tarvin กล่าว .. แต่เธอก็ได้เตือนว่า อย่าเพิ่งเชื่อผลลัพธ์นี้ “นี่เป็นเพียงหนึ่งในสารพิษจำนวนมากที่กบชนิดนี้มี แต่สำหรับเคสที่ทดสอบแล้ว ฉันมั่นใจ”

การศึกษาพิษที่อาจจะนำไปสู่การคิดค้นยารักษาโรค

Advertisements

แม้ว่านกในเกาะที่อยู่ห่างไกลและกบพิษเหมือนจะเป็นหัวข้อเฉพาะในการศึกษา แต่พวกมันอาจจะประยุกต์ใช้กับผู้คนทั่วไปได้โดยเฉพาะในด้านการรักษา

“สารพิษเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการช่วยกำหนดโปรตีนที่เฉพาะเจาะจง และค้นพบหน้าที่ของโปรตีน และยังเป็นพื้นฐานในการผลิตยาด้วย” Tarvin กล่าว พิษพวกนี้อาจจะช่วยชีวิตคุณได้ในอนาคต

ตัวอย่างเช่น สารประกอบหนึ่งของพิษในกบพิษ พบว่ามีผลในการต้านมะเร็ง สารพิษ BTX ที่มีในสิ่งมีชีวิตต่างๆ ตั้งแต่ปลาปักเป้าจนถึงตัวนิวท์ สามารถใช้เป็นยาชาชนิดใหม่ได้

“สำหรับฉัน คำถามที่น่าสนใจที่สุดคือ ทำไมสัตว์พวกนี้ไม่ตายด้วยพิษตัวเอง” Minor กล่าว แต่นี่ก็ยังจะเป็นสิ่งสำคัญที่เกี่ยวกับระบบทางชีววิทยาที่ต้องค้นหาต่อไป ..เพราะตอนนี้พวกเรารู้เรื่องพวกนี้เพียงเล็กน้อย

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
แหล่งที่มาnationalgeographic