‘สะพานรากที่มีชีวิต’ ของอินเดีย ได้รับการเสนอให้เป็นมรดกโลก

ไม่ภาพด้านบนไม่ได้เป็นภาพที่สร้างขึ้นมา หรือเป็นการจัดฉากแต่อย่างใด แต่มันคือ "สะพานรากที่มีชีวิต" (Living root bridges) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอินเดีย และเพิ่งได้รับการเสนอชื่อให้เป็นมรดกโลกโดยยูเนสโก

สะพานที่แปลกประหลาดนี้ พบในรัฐเมฆาลัยทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย มันมีลักษณะเป็นสะพานแขวนประเภทหนึ่ง ที่ประกอบด้วยรากที่มีชีวิตซึ่งถูกจัดการให้เติบโตเหนือนั่งร้านไม้ไผ่

สิ่งนี้อาจใช้เวลาหลายสิบปีเพื่อให้มีความสวยงามอย่างที่เห็น มันไม่เพียงแต่สวยงาม แต่ยังใช้งานได้จริง เพราะสะพานแห่งนี้มีความสำคัญต่อการเดินทางและการขนส่งผ่านป่าทึบที่เปียกชื้น

Jing Kieng Jri คือชื่อเรียกในท้องถิ่นของสะพานแห่งนี้ มันได้รับการปลูกโดยชนเผ่า Khasi ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองมานานหลายศตวรรษ เมื่อบ้านของพวกเขาเป็นภูเขาที่เต็มไปด้วยน้ำตก หุบเหว และแม่น้ำ สะพานแห่งนี้จึงเป็นสิ่งที่พวกเขาสร้างเพื่อเดินทางไปรอบๆ ได้ง่ายขึ้น

สะพานที่มีชีวิตเหล่านี้ สร้างจากโครงสร้างไม้ไผ่ที่ทอดยาวข้ามแม่น้ำและรากของต้นยาง (Ficus elastica) ที่ถูกดัดด้วยความพยายามโดยมนุษย์ เพื่อให้มันเติบโตรอบๆ โครงสร้างไม้ไผ่ จนทำให้เกิดเป็นโครงสร้างตาข่ายที่แข็งแรง มันเป็นสะพานที่สามารถรองรับคนได้ถึง 50 คน มันแข็งแรงอย่างไม่น่าเชื่อ




“ผมตื่นเต้นที่จะประกาศว่า Jing Kieng Jri (Living Root Bridge) ของเราจะได้รวมอยู่ในรายชื่อเบื้องต้นของแหล่งมรดกโลก @UNESCO แล้ว James Sangma รัฐมนตรีกระทรวงเมฆาลัยทวีต”

สะพานรากที่มีชีวิต ไม่เพียงโดดเด่นในด้านความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกัน ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัว แต่ยังมุ่งเน้นไปที่การใช้งานแบบบุกเบิก สำหรับการเชื่อมต่อและความยืดหยุ่น ตลอดจนความจำเป็นในการนำมาตรการที่ยั่งยืนมาใช้ เพื่อสร้างสมดุลระหว่างเศรษฐกิจและนิเวศวิทยา

การจัดให้สะพานอยู่ใน “รายชื่อเบื้องต้น” ของยูเนสโก เป็นขั้นตอนแรกในการส่งสะพานเหล่านี้ เข้าสู่การพิจารณาสถานะมรดกโลก โดยมอบให้กับสถานที่ “คุณค่าสากลอันโดดเด่นสำหรับมนุษยชาติ” ที่จะได้รับการคุ้มครองสำหรับคนรุ่นต่อๆ ไป




ประวัติการสร้างสะพาน

Advertisements

สะพานที่มีชีวิตสร้างโดยชาวเผ่ากะสิ (Khasi) ซึ่งเป็นชนเผ่าพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในแถบรัฐเมฆาลัย (Meghalaya) รัฐทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ในปัจจุบันหนึ่งในสามของรัฐนี้ยังคงปกคลุมไปด้วยป่าไม้ เทคนิคการสร้างสะพานต้นไม้นี้

Advertisements




ชาวเผ่ากะสิได้รับมาจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่สั่งสมมาร่วม 500 ปี และสืบทอดกันมาแบบรุ่นต่อรุ่น สะพานในลักษณะนี้จะสร้างขึ้นจากต้นยางอินเดีย (Ficus Elastica) โดยนำไม้มาพาดระหว่าง 2 ฝั่งลำธารที่มีต้นไม้ชนิดนี้ขึ้นอยู่

จากนั้นจึงนำรากอากาศของต้นไม้พันรอบแกนไม้ที่พาด เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะใช้เวลาประมาณ 15 ปี รากไม้เหล่านี้จะเจริญเติบโตจนกลายเป็นสะพานในที่สุด

สะพานต้นไม้นี้มีความแข็งแรงเป็นอย่างมาก และที่สำคัญในกระบวนการตั้งแต่เริ่มสร้างสะพานจนถึงใช้งานได้ ไม่มีการรบกวนธรรมชาติแม้แต่น้อย ไม่ต่างอะไรกับการปลูกต้นไม้ขึ้นสักต้น




อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
แหล่งที่มาiflscience