นางเงือกมีจริงหรือไม่? ผู้เชี่ยวชาญเริ่มตรวจสอบซากมัมมี่ญี่ปุ่น ‘หัวมนุษย์หางเป็นปลา’

ทีมนักวิชาการจากประเทศญี่ปุ่น เพิ่งเริ่มสำรวจซากสิ่งมีชีวิตที่ไม่รู้จัก ซากนี้มีอายุถึง 300 ปี และมีลักษณะเหมือนนางเงือก ความสนใจของการศึกษานี้คือการติดตามประวัติและที่มาของ 'มัมมี่นางเงือก' ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า มัมมี่นี้อาจจะมีคุณค่าสำหรับการส่งออกในอนาคต โดยซากมัมมี่นี้ต้องสงสัยว่า เป็นผลของการค้าขายกับชาติตะวันตกในช่วงต้นทศวรรษ 1700 ..คลิปท้ายเรื่อง

นางเงือก

มัมมี่นางเงือกมีขนาดความยาว 30 เซนติเมตร ลักษณะทางกายภาพของสิ่งมีชีวิตที่ไม่รู้จัก ได้แก่ ใบหน้าที่เหมือนกรีดร้อง มือปิดปาก และหางเหมือนปลาแทนที่จะเป็นขา

ศพมัมมี่ถูกเก็บรักษาไว้ที่วัดในจังหวัดโอคายาม่า สัตว์ที่ดูเหมือนนางเงือกก็ถูกเก็บไว้ที่ใจกลางเกาะฮอนชูของญี่ปุ่นในเวลาเดียวกัน แม้ว่าจะตั้งอยู่ที่นี่มาหลายปี แต่แหล่งกำเนิดการผลิตที่แน่นอนและเหตุผลเบื้องหลังการมีอยู่ยังคงเป็นปริศนา

มัมมี่นั้นมีส่วนของมนุษย์ เช่น เส้นผมและเล็บ แม้ว่ารูปร่างของสิ่งมีชีวิตจะคล้ายกับมนุษย์ แต่ผู้เชี่ยวชาญก็ยังสับสนว่าทำไมมีเกล็ดอยู่ที่ร่างกายส่วนล่างของมัน

การตรวจเบื้องต้นของมัมมี่นางเงือกนั้น ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และศิลปะคุราชิกิ รูปภาพของร่างกายถูกรวบรวมผ่านการใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) ที่โรงพยาบาลสัตวแพทย์ของสถาบัน

ตามรายงานของ Asahi Shimbun ของญี่ปุ่น กล่องที่บรรจุมัมมี่นั้นถูกค้นพบพร้อมกับโน้ต รายละเอียดระบุว่าสิ่งมีชีวิตนี้ถูกจับได้โดยอวนจับปลาในวันที่ไม่ระบุระหว่างปี 1736 – 1741 หลังจากนั้นนางเงือกก็ถูกเก็บไว้โดยครอบครัวหนึ่งซึ่งส่งต่อไปยังคนรุ่นหลัง จนกระทั่งมันถูกเก็บรักษาไว้ที่วัดโอคายามะ ตั้งแต่นั้นมาซากมัมมี่ก็ถูกจัดแสดงมาเป็นเวลาสี่ทศวรรษจนถึงปัจจุบัน

ศึกษาซากมัมมี่

Advertisements

ด้าน Hiroshi Kinoshita ผู้เชี่ยวชาญของสมาคมนิทานพื้นบ้านโอคายามะ สะดุดกับวัตถุลึกลับนี้ในระหว่างที่เขาศึกษาเกี่ยวกับ Koyoaki Sato นักประวัติศาสตร์ธรรมชาติยอดนิยมของญี่ปุ่น เป็นที่รู้กันว่า Sato เชี่ยวชาญในการค้นคว้าสิ่งมีชีวิตที่เป็นเรื่องเล่าและตำนาน

Advertisements

Kinoshita ตั้งทฤษฎีว่าสิ่งมีชีวิตนี้ไม่ใช่นางเงือกตัวจริง แต่กลับเป็นเพียงของที่ระลึกธรรมดาๆ ที่ทำขึ้นเพื่อส่งออกไปยังยุโรปหรือประเทศอื่นๆ

ในการศึกษาต่อเนื่อง นักวิชาการจากประเทศญี่ปุ่นได้ร่วมมือกันตรวจสอบที่มาของสิ่งมีชีวิต ผลประโยชน์ของการสอบสวนคือการระบุวิธีที่ใช้ในการรักษาร่างกาย ตัวอย่างดีเอ็นเอจะได้รับการตรวจสอบเพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับสารประกอบที่สร้างขึ้นจากซากศพ

โดยบันทึกบางฉบับบอกว่านางเงือกที่ทำเป็นมัมมี่ ถูกใช้เป็นวัตถุทางศาสนาเพื่อบูชาในอารยธรรมญี่ปุ่นโบราณ เจ้าอาวาสวัดโอคายาม่า อธิบายว่าพวกเขาบูชาสิ่งมีชีวิตเพื่อบรรเทาปัญหาทั่วโลก รวมถึงที่เกิดจากการระบาดใหญ่ของโคราน่าไวรัส แม้จะได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อย พวกเขาหวังว่าการวิจัยอย่างต่อเนื่องจะสามารถให้รายละเอียด และรับข้อมูลในอดีตของวัตถุชิ้นนี้กับคนรุ่นต่อไป

“ผลการวิจัยจากมัมมี่นางเงือกคาดว่าจะได้รับการเปิดเผยในปลายปี 2022 นี้”

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements