เลือกสีเหยื่อปลอมยังไงดี หากไม่เข้าใจอาจทำให้ไม่ได้ปลา

นักตกปลาหลายคนถือว่าการใช้เหยื่อปลอมนั้นท้าทายมากกว่าเหยื่อจริง บางคนก็บ่นว่ามันแพงเกินไป และส่วนใหญ่ที่สุดแล้วก็ใช้เหยื่อทั้งสองประเภทสลับกัน ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เหยื่อปลอมนับเป็นอุปกรณ์ ตกปลาอย่างหนึ่งที่เราคงปฏิเสธได้ยาก อย่างน้อยสุดมันก็สะดวกในการพกพา และมีประสิทธิภาพเหนือกว่าเหยื่อสดหรือเหยื่อหมักในบางสถานการณ์

ปัญหาคือ นักตกปลาน้อยคนจะมีหลักเกณฑ์ในการเลือกซื้อเหยื่อปลาปลอมอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักเกณฑ์ในการเลือกสีเหยื่อปลอม ไม่ว่าจะเป็นปลั๊ก สปูน สปินเนอร์ หรือจิ๊ก ก็ตามส่วนมากแล้วจะซื้อตามใจชอบหรือไม่ก็ว่าตามกันไป แต่ตามทฤษฏีแล้วปลามองเห็นสีอะไรได้ดีที่สุดไปดูกันเลย

การปรากฏของสีเหยื่อปลอมใต้น้ำ

Advertisements

อันที่จริงการปรากฏของสีเหยื่อปลอมใต้น้ำแตกต่างจากสีที่เราเห็นบนบกมาก น้ำเป็นตัวกรองแสงที่มีประสิทธิภาพยอดเยี่ยม และคลื่นแสงของดวงอาทิตย์เจาะทะลุทะลวงน้ำได้ไม่เท่ากัน

แสงอาทิตย์ประกอบด้วยสี 7 สีดังที่รู้ๆ กัน คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดง ในบรรดาคลื่นแสงเหล่านี้ สีแดงเจาะทะลุน้ำได้น้อยที่สุดไม่ว่าจะเป็นน้ำจืดหรือน้ำเค็ม และในความลึกเกินร้อยผุดลงไปก็จะมีเพียงคลื่นแสงสีน้ำเงินและเขียวเท่านั้นที่ลงไปถึงสภาพดังกล่าว มีผลต่อสีเหยื่อปลอมใต้น้ำมาก สีของเหยื่อปลอมจะไม่เหมือนสีที่เราเห็นในร้านขายเครื่องมือตกปลา

นักวิทยาศาสตร์ได้มีการวิจัยสีเหยื่อปลอม

สีแดงนั้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลในความลึกแค่สิบฟุตอันเป็นความลึกที่เหยื่อตกปลาน้ำเค็มเกือบทุกชนิดร่อนลงถึง ฉะนั้นถ้าใครคิดว่าสีเหยื่อปลอมของตัวเองเย้ายวนใจปลาเพราะมันมีหัวแดงโร่ ต้องปรับความเข้าใจใหม่

เหยื่อปลอมอยู่ในน้ำระดับ 20 ฟุต

– สีแดงกลายเป็นสีดำสนิทไปเลย
– สีส้มกลายเป็นสีน้ำตาลเข้ม

เหยื่อปลอมอยู่ในน้ำระดับ 60 ฟุต

– สีส้มก็หลายเป็นสีดำ
– สีเหลืองนั้นกลายเป็นขาว
– สีน้ำเงินกับเขียวเปลี่ยนไปเพียงเล็กน้อย

บริษัทผลิตเหยื่อนั้นรู้เรื่องนี้มาหลายปีแล้ว จึงใช้ สีสะท้อนแสง หรือที่เรียกว่าฟลูออเรสเชนท์มาทาเหยื่อบางรุ่น จากนั้นก็ขายให้นักตกปลาในราคาที่แพงกว่าเหยื่อที่ทาสีธรรมดา

สีของเหยื่อปลอม ไม่ได้เป็นสิ่งเดียวที่ทำให้สามารถตกปลาได้ดี หากอยากที่จะตกปลาได้ดีจะต้องดูเหยื่อปลอมที่เหมาะด้วย ไปดูเหยื่อดำน้ำลึกกันได้เลยที่นี่ เหยื่อดำน้ำลึก เหยื่อ Rapala Risto

สีฟลูออเรสเซนท์นั้นสามารถคงสีเดิมได้ถึงในระดับความลึก 150 ฟุต อย่างน้อยนักวิทยาศาสตร์ก็ลงไปพิสูจน์มาแล้วด้วยตาตนเอง แต่สำหรับความลึกที่มากกว่านี้ ยังเป็นเรื่องอันตรายที่จะดำน้ำลงไปทดสอบ

การใช้เหยื่อฟลูออเรสเชนท์นั้นทำให้ปลาเห็นเหยื่อง่ายขึ้นอย่างแน่นอน แต่ต้องอยู่ในระยะไม่ไกลเกินไป นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบอีกว่าน้ำมันไม่ได้กรองแสงในแนวดิ่งอย่างเดียว

แม้แต่ในแนวราบก็กรองแสดงและลบสีชนิดต่างๆ ทิ้งไปด้วย พูดอีกนัยหนึ่งก็คือยิ่งเหยื่ออยู่ไกลสายตาเท่าใด สีของมันก็ยิ่งถูกบิดเบือนเท่านั้น ข้อนี้บริษัทผู้ผลิตเหยื่อไม่เคยเอ่ยถึง

สรุป: การทดลองในเรื่องนี้กับเหยื่อปลอมสีส้ม สะท้อนแสง

ซึ่งเป็นสีที่นิยมกันมากที่สุดสีหนึ่ง เมื่อมองจากระยะประมาณ 50 ฟุต สีของมันกลายเป็นน้ำตาลเข้มแบบช็อคโกแลตใกล้เข้ามาระยะ 15 ถึง 30 ฟุต เหยื่อจึงเปลี่ยนเป็นสีส้มตามเดิม และสว่างขึ้นเรื่อยๆ เมื่อใกล้เข้าไปอีกสภาพเช่นนี้เกิดขึ้นในความลึกทุกระดับ และเหมือนกันทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม

น้าๆ หลายคนคงเคยพบกันกับสภาพที่ปลาตามเหยื่อมาจากมุมไหนก็ไม่รู้ แต่พอเข้ามาถึงระยะสี่ห้าฟุตก็แฉลบหนีออกไปทันที เป็นไปได้ไหมว่าตอนที่ปลาเห็นเหยื่อครั้งแรกจากที่ไกลนั้นมันเห็นเป็นสีดำหรือน้ำตาลพอไล่กวดมา จะทันดันกลายเป็นสีแสดส้มสว่างโร่ จึงตกใจเผ่นหนีเกือบไม่ทัน

ในทางตรงกันข้าม ลักษณะเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นกับเหยื่อสีคล้ำๆ ธรรมดา หรือเหยื่อที่ไม่สะท้อนแสงทั้งหลาย แม้ว่าในระดับความลึกเกินสิบฟุตไปแล้วสีของมันจะเปลี่ยนไป แต่ไม่ว่าปลาจะอยู่ไกลหรืออยู่ใกล้ก็จะเห็นเหยื่อเป็นสีเดิม ครั้งต่อไปลองใช้เหยื่อขี้เหร่ดูบ้าง

นอกจากสีของเหยื่อปลอมแล้วก็ยังมีสไตล์ของเหยื่อปลอมอีกมากมาย หากน้าๆ อยากรู้ว่าสไตล์ไหนจะเข้ากับน้าๆบ้างไปดูกันเลยที่นี่ 5 เหยื่อตกปลาและวิธีตกปลาระดับโลก ควรค่าแก่การเรียนรู้

Advertisements