ฟอสซิล ‘แรดยักษ์’ หนักกว่าช้างสี่เท่าและสูงกว่ายีราฟ

ปัจจุบันบริเวณแถวที่ราบสูงธิเบตนั้นคือหนึ่งในบริเวณที่สูงที่สุดของโลก ซึ่งเมื่อราวๆ 26.5 ล้านปีที่แล้วบริเวณนั้นเป็นเขตป่าร้อนชื้นที่เป็นบ้านของหนึ่งในสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดบนโลก

แรดยักษ์

เมื่อไม่นานมานี้มีการค้นพบญาติที่สูญพันธุ์ไปแล้วของแรดที่มีชื่อว่า Paraceratherium linxiaense เจ้าสัตว์ยักษ์นี้มีน้ำหนักมากถึง 24 ตัน มากกว่าช้างแอฟริกาถึง 4 เท่าและมีกะโหลกที่ยาวเหมือนสมเสร็จ

Paraceratherium linxiaense เป็นสายพันธุ์ล่าสุดของแรดยักษ์ไร้นอที่อาศัยอยู่ในเอเชียกลางในช่วง 50 ถึง 23 ล้านปีที่แล้ว เมื่อโตเต็มที่มันจะมีขนาดสูงถึง 7 เมตรจากพื้นถึงไหล่ และยังมีคอที่ยาวและแข็งแรง

“อาหารหลักของแรดยักษ์พวกนี้คือใบไม้ที่อยู่ในระดับสูง” Pierre Oliver Antoine ผู้เชี่ยวชาญแรดจากฝรั่งเศสที่ได้ศึกษาได้บรรยายเกี่ยวกับอาหารของมัน

Paraceratherium linxiaense จัดเป็นชนิดท้ายๆ ของสายพันธุ์ของพวกมันที่มีชีวิตอยู่ในช่วง 26.5 ล้านปีที่แล้ว ต้องขอบคุณอายุของพวกมันและสถานที่เหล่านั้น ฟอสซิสใหม่และกระโหลกที่สมบรูณ์ช่วยเติมเต็มลำดับสายพันธุ์และการวิวัฒนาการของพวกมันได้ และยังช่วยเทียบการแยกตัวจากสายพันธุ์แรดมีนอที่ได้แพร่ไปทั่วโลกรวมถึงในเอเซียอีกด้วย

ยักษ์ใหญ่ยุคก่อนประวัติศาสตร์

Advertisements

Paraceratherium ฟอสซิลนั้นหายากและมักจะอยู่ในสภาพไม่สมบรูณ์ ทำให้ยากต่อการจัดสายพันธุ์และการวิวัฒนาการของพวกมัน พวกมันพบในเอเซียกลาง สายพันธุ์แรกนั้นค้นพบในภาคตะวันตกของปากีสถาน พวกมันมาถึงอินเดียได้อย่างไร?

การศึกษาที่นำโดย ดร.เติ้ง เทา จากสถาบันการศึกษาซากดึกดำบรรพ์สัตว์มีกระดูกสันหลังและการศึกษาทางบรรพมานุษยวิทยา (Institute of Vertebrate Paleontology and Paleoanthropology) ในกรุงปักกิ่งของจีน ได้ค้นพบ Paraceratheriumสายพันธุ์ใหม่ที่มีความใกล้ชิดกับสายพันธุ์ปากีสถาน

Advertisements
การค้นพบครั้งใหม่จากตอนกลางของประเทศจีน พื้นที่บริเวณนั้นสามารถย้อนกลับไปได้ถึง 30 ล้านปี และทำให้ทราบถึงสัตว์ที่เคยอยู่ในพื้นที่นั้นอีกด้วย

ย้อนกลับไปในปี 1950 ชาวนาในบริเวณนั้นได้พบสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า “กระดูกมังกร” สมัยนั้นกระดูกพวกมันถูกส่งขายไปทำเป็นยาแผนโบราณ ในปี 1980 นักบรรพชีวิทยาได้เข้าตรวจสอบพื้นที่แถบนั้นทำให้ได้พบกับสิ่งมีชีวิตยุคโบราณที่มีอายุระหว่าง 28 – 23 ล้านปีก่อน

ในเดือน พฤษภาคม 2015 ดร.เติ้ง และทีมงานได้พบซากที่เกือบสมบรูณ์ของแรดไร้นอยักษ์ จากการตรวจสอบมันมีอายุท่ 26.5 ล้านปี มีกะโหลกที่ยาวถึง 3.8 ฟุต สำหรับ ดร.เติ้งแล้ว นี่คือการค้นพบที่ยิ่งใหญ่

จากที่เทียบกับ Paraceratherium ที่พบในปากีสถาน ทำให้พบว่าแรดยักษ์พวกนี้ย้ายถิ่นฐานไกลนับพันไมล์จากเอเซียกลางสู่อินเดียในช่วง 30 ถึง 35 ล้านปีที่แล้ว สภาพแวดล้อมตอนนั้นที่เป็นป่าทำให้พวกมันสามารถอาศัยอยู่ในเอเซียกลางได้ และในเวลานั้นพื้นทวีปยังไม่ยกตัวสูงด้วย ทำให้เป็นไปได้ว่าบริเวณนี้เคยมีพวกไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มาก่อน

ปริศนาของแรดยักษ์

จากการค้นพบครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าเจ้าแรดยักษ์พวกนี้ไม่เคยข้าไปยังยุโรปเลย เป็นไปได้ว่าเทือกเขาคือแนวกั้นธรรมชาติที่แบ่งพวกมันออกจากโซนั้น ในการวิจัยนี้ยังช่วยอธิบายว่าสัตว์พวกนี้ยังไปถึงตุรกี ที่ซึ่งมีการค้นพบซากของพวกมันด้วย เป็นไปได้ว่าพวกมันเคลื่อนผ่านบริเวณอย่างอัฟกันนิสสถานและอิหร่าน

แต่น่าเสียดายที่ตัวอย่างฟอสซิลจำนวนมากถูกทำลายในปี 2006 เมื่อกองทัพปากีสถานทิ้งระเบิดเมือง Dera Bugti ที่อยู่ทางตะวันตกระหว่างสงครามกับพวกอัลไคดา

ส่วนฟอสซิลของ Paraceratherium linxiaense ได้รับการเก็บรักษาไว้ที่ประเทศจีน ดร.เติ้ง มีความหวังว่าในอนาคตเราสามารถรู้ข้อมูลของมันได้มากกว่านี้ทั้งขนาดที่แท้จริงและน้ำหนักของมัน

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
แหล่งที่มาnationalgeographic