ความหวังคืนชีพสัตว์โบราณ หลังนักวิจัยสกัดจีโนมของ ‘ลีเมอร์โคอาล่า’ ได้สำเร็จ

ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติได้ประสบความสำเร็จในการสกัดเอาจีโนมของตัวลีเมอร์ยักษ์โบราณที่สูญพันธุ์ไปเมื่อ 1,200 ปีก่อนได้สำเร็จ โดยลีเมอร์ยักษ์ตัวนี้มีอีกชื่อคือ ลีเมอร์โคอาล่า (Megaladapis edwardsi) มันเป็นสัตว์โบราณที่ยาวได้ถึง 1.3 เมตร

ลีเมอร์โคอาล่า (Megaladapis edwardsi) เป็นหนึ่งในลีเมอร์ขนาดใหญ่ที่เคยอยู่บนเกาะมาดากัสการ์ มันมีความยาว 1.3 เมตร และหนักได้มากถึง 85 กิโลกรัม ลีเมอร์โคอาล่าต่างจากญาติมันในปัจจุบันมาก ร่างกายของมันหนาเหมือนหมีโคอาล่า มีแขนที่ยาวและมีนิ้วกับเท้าที่ออกแบบมาสำหรับจับและปีนป่ายต้นไม้โดยเฉพาะ

“ในปัจจุบันมีลีเมอร์มากถึง 100 สายพันธุ์บนเกาะ แต่ในอดีตที่ผ่านมามีพวกมันที่มีลักษณะแปลกและน่าสนใจมากมาย” Dr.George Perry หัวหน้าทีมวิจัยจากสถาบันสิ่งมีชีวิตและวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัฐเพนซิเวเนีย สหรัฐอเมริกา

“จากกระดูกที่เหลือและการตรวจคาร์บอน ทำให้เราทราบว่ามีลีเมอร์ 17 ชนิดที่สูญพันธุ์ไปแล้ว และเพิ่งเกิดไม่นานนี้เอง และสิ่งที่น่าสนใจคือพวกที่สูญพันธุ์ไปแล้วนั้นล้วนมีแต่ขนาดใหญ่กว่าญาติๆ ในปัจจุบันมาก”

ในการหาจีโนมของลีเมอร์โคอาล่า ดร. George และทีมงานได้สกัด DNA จากฟอสซิลขากรรไกรอายุ 1,475 ปีของพวกมัน โดยตัวอย่างนี้ขุดพบในทางใต้ของเกาะ

เดิมนั้นคิดว่าลีเมอร์โคอาล่าใกล้เคียงกับลีเมอร์จุด (Weasel Sportive Lemur) ที่ยังมีชีวิตในปัจจุบัน แต่จากการตรวจสอบ DNA ทำให้พบว่ามันนั้นใกล้ชิดกับพวกลีเมอร์หน้าแดง (Red-Fronted Lemur) มากกว่า ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการตรวจสอบเทียบ DNA ของลีเมอร์โคอาล่าและลีเมอร์ที่ยังมีชีวิตอยู่ รวมถึงสัตว์ชนิดด้วย

กระโหลกของลีเมอร์โคอาล่า (Megaladapis edwardsi)

สิ่งที่น่าสนใจคือมันมีการปรับตัวเพื่อกินใบไม้ เหมือนกับพวกม้าและลิงบางกลุ่ม เพียงแต่การปรับตัวเพื่อกินใบไม้นี้เกิดขึ้นอย่างอิสระ ไม่ได้เป็นผลจากการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ หรือที่เรียกว่า “วิวัฒนาการเบนเข้า” (convergent evolution) นั่นเอง

จากที่ได้ข้อมูลจาก DNA ทำให้เราทราบถึงนิสัยและสายพันธุ์ของมัน และในอนาคตอาจจะไขปริศนาหลายอย่างได้ แต่การที่จะนำลีเมอร์โคอาล่ากลับมานั้น ถึงแม้จะมี DNA ของมันแล้ว แต่หนทางในการคืนชีพมันยังคงต้องพยายามกันต่อไป

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements