ตอนนี้เท่าที่ทราบกัน จนถึงตอนนี้ “ปลาม้าลาย” (Zebrafish) ที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรม เพื่อให้พวกมันเรืองแสงดูเหมือนจะสร้างความเสียหายได้น้อยกว่าสายพันธุ์ที่รุกรานอื่นๆ มาก มันอาจไม่เลวร้ายไปกว่าปลาม้าลายแบบดั้งเดิม
สำหรับบางคน แม้แต่สีที่สวยงามของปลาที่อยู่ตามแนวปะการังเขตร้อนก็ยังไม่สว่างพอ ดังนั้นปลาม้าลายที่มียีนสำหรับการผลิตโปรตีนเรืองแสงจึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม และเราก็พบพวกมันได้ตามตู้ปลาในบ้าน
น่าเสียดายที่ทั้งเจ้าของและผู้ขายปลาตู้ มักปล่อยปลาที่ไม่ต้องการลงในแหล่งน้ำธรรมชาติใกล้บ้าน จนในตอนนี้เจ้าหน้าที่พบปลาดัดแปลงพวกนี้ อย่างน้อย 70 ตัว ในลำธารเพียงแห่งเดียว และดูเหมือนพวกมันจะอยู่รอดในธรรมชาติได้ด้วย
ปลาม้าลายเป็นสัตว์ต้นแบบ ที่นักวิทยาศาสตร์นิยมใช้กันมาก เพราะเลี้ยงง่ายในห้องแล็บ ตัวอ่อนของพวกมันโปร่งใส และเราก็รู้เรื่องของปลาชนิดนี้มาก โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับพันธุกรรมของพวกมัน
ในช่วงปลายทศวรรษ 1990 มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์แสดงให้เห็นว่า หากคุณเพิ่มยีนจากแมงกะพรุนและดอกไม้ทะเลลงในปลาม้าลาย ยีนเหล่านี้จะเรืองแสงสีแดงและสีเขียวตามลำดับ
และความจริงในบราซิล ปลาดัดแปลงพันธุกรรมถูกห้ามในบราซิลมาตั้งแต่ปี 2017 แต่กฎหมายไม่ได้บังคับใช้ .. มันจึงถูกเลี้ยงและยังเพาะพันธุ์อย่างจริงจังอยู่
ในตอนนี้ยังไม่หลักฐานว่า ปลาดัดแปลงพวกนี้ จะส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อมมากกว่าปลาดั้งเดิมหรือไม่? และจากการศึกษาในปี 2015 ชี้ว่าโปรตีนเรืองแสงจะส่งผลเสียต่อสัตว์ป่า อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ยังต้องใช้เวลาในการศึกษาอีกหน่อย