พื้นฐานตกปลาแหล่งน้ำนิ่งด้วยทุ่นลอย ให้เข้าใกล้โปร

ไม่ว่าจะผ่านมานานแค่ไหน เทคนิคตกปลา ด้วยรอกและคันเบ็ด ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนัก ซึ่งโดยหลักการแล้ว มันก็ขึ้นอยู่กับหมายที่เราจะไปตก ถ้าเข้าใจน้ำ พื้นที่ ความลึก รวมทั้งปลาที่อยู่บริเวณนั้น เราจะใช้เทคนิคที่เหมาะสม และสุดท้ายจะประสบความสำเร็จแบบพวกมือโปร

ตกปลา ด้วยทุ่นลอย แหล่งน้ำนิ่ง

Advertisements

ในแหล่งน้ำนิ่งตามธรรมชาติทั่วๆไป ไม่ว่าจะเป็นบ่อบึงขนาดเล็กหรือที่กว้างใหญ่เป็นทะเลสาบน้ำจืด และตามอ่างเก็บน้ำทุกแห่ง เป็นเรื่องง่ายและยากกว่าการตกปลาด้วยทุ่นลอยในแหล่งน้ำจืด ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะตามแม่น้ำลำคลองต่างๆ แม้ฝูงปลาจะอาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจาย แต่เราก็สามารถกำหนดหาหมายปลาได้อย่างไม่ยาก โดยอาศัยความแรงของกระแสน้ำ และสภาพลักษณะของแนวชายตลิ่งเป็นตัวช่วยพิจารณา

เมื่อตกปลาด้วยทุ่นลอย ตัวทุ่นจะพาเหยื่อลอยตามน้ำเป็นระยะทางไกล ทำให้เหยื่อครอบคลุมพื้นน้ำเป็นบริเวณกว้าง แต่การตกปลาในแหล่งน้ำนิ่ง ตัวทุ่นจะลอยอยู่กับที่ทำให้ก้อนเหยื่อมีรัศมีเรียกร้องความสนใจจากฝูงปลาในระยะใกล้ๆ เพียงไม่กี่เมตร ดังนั้นการค้นหาหมายจึงเป็นเรื่องค่อนข้างยากกว่า เพราะจะต้องกำหนดเกือบให้ตรงจุดพอดี และในลักษณะสภาพแวดล้อมที่เหมือนกัน บางแห่งบางจุดอาจมีฝูงปลาชุมนุมกันอยู่อย่างมากมาย แต่กับอีกแห่งหนึ่งอาจะไม่มีตัวปลาเลย

เมื่อน้าๆ มีประสบการณ์ มากขึ้นก็ย่อมทำให้สามารถกำหนดหาหมายปลาได้ง่ายขึ้นตามไปด้วย อย่าพยายามสรุปเอาว่าบริเวณชายตลิ่งที่มีพื้นหญ้าราบเรียบน่านั่งน่านอนเป็นจุดตกปลาที่ดีที่สุด เพราะนักตกปลาคนอื่น ก็มักคิดเช่นนี้เหมือนกัน และคงไม่มีปลาตัวไหนที่ชอบเข้ามาว่ายอยู่บริเวณที่มีคนมาป้วนเปี้ยนกันอยู่บ่อยครั้ง พวกมันต่างก็พยายามเลือกหามุมสงบอยู่เป็นการส่วนตัวทั้งนั้น นักตกปลาบางคนก็ขี้เกียจเดินไกลๆ มักจะนั่งตกยืนตกอยู่บริเวณริมตลิ่งใกล้ๆ สุดทางรถเข้าไปถึง ถ้าน้าๆ รักที่จะเป็นพรานธรรมชาติแล้วก็ต้องยอมลำบาก ย่ำน้ำลุยหญ้ากันบ้าง

ในทางกลับกันที่บอกว่าการตกปลาในแหล่งน้ำนิ่งนั้นง่ายกว่าแหล่งน้ำไหลก็เพราะเราสามารถควบคุมอุปกรณ์ที่ใช้ได้ง่ายกว่า โดยเฉพาะในเรื่องของสายเบ็ดที่มักจะหย่อนอยู่เสมอเมื่อถูกกระแสน้ำ กระแสลมพัดพา ซึ่งเราต้องคอยแก้ไขควบคุมให้ตึงอยู่ตลอด ดังที่ได้แนะนำเอาไว้ในฉบับที่แล้ว

 

เมื่อหาตำแหน่ง ตกปลา ได้แล้ว

ควรเตรียมประกอบอุปกรณ์ให้พร้อมก่อนที่จะเดินไปยังริมตลิ่งเช่นกัน เพื่อที่จะได้ไม่เป็นการไปรบกวนฝูงปลาที่เข้ามาหากินอยู่ใกล้ๆ เมื่อประกอบอุปกรณ์เสร็จแล้ว ก็อย่างเพิ่งรีบร้อยเกี่ยวเหยื่อตีสายออกไป ควรผูกกระชังแช่น้ำเตรียมไว้ก่อนแล้วจึงมานั่งเกี่ยวเหยื่อเพราะแรงกระเพื่อมของน้ำที่เราหย่อนกระชังลงไปจะได้เงียบสงบพอดีเมื่อเกี่ยวเหยื่อเสร็จและตีออกไปยังหมาย

อย่ารอจนกว่าตกปลาตัวแรกได้แล้วจึงหยิบกระชังขึ้นมาใส่ปลาแช่น้ำ บางทีแรงดินของปลาตัวนั้นอาจะทำให้ฝูงปลาที่เหลือแตกตื่นหนีไป พึงระลึกอยู่เสมอว่าสิ่งผิดปกติเพียงเล็กๆ น้อยๆ ที่ทำลายความเงียบตามธรรมชาติ ย่อมทำให้ปลาหวาดระแวงได้เสมอ

การหาระดับความลึกของน้ำในการ ตกปลา

การตกปลาแบบทุ่นลอยในเรื่องนี้ไม่ใช่วิธีการตกแบบที่เพื่อนนักตกปลาทุกคนใช้ตกตามบ่อบริการต่างๆ กันจนชินแล้ว  คือการตั้งระยะของทุ่นให้พยุงเหยื่อลอยอยู่ในระดับความลึกของพื้นน้ำตามที่ต้องการ แต่เทคนิคที่จะแนะนำนี้เป็นการตกแบบหน้าดินโดยใช้ทุ่นลอยประกอบ

ดังนั้นขั้นตอนแรกที่สำคัญคือ เราจะต้องรู้ระดับความลึกตรงหมายนั้นเสียก่อน อุปกรณ์ช่วยก็คือ ทุ่นลอยแบบดินสอ ที่มีห่วงยางรัดหัวท้าย หรือทุ่นที่ใกล้เคียงกัน ให้ประกบติดกับสายเบ็ดตามระดับความลึกที่คาดเอาไว้ ปลายสายเบ็ดผูกกับตะกั่วทรงหยดน้ำที่มีลูกหมุนติดอยู่ด้วย พยายามคัดเลือกใช้ขนาดเล็กที่สุดแต่สามารถดังตัวทุ่นให้จมลงได้ พื้นน้ำบริเวณหมายจะได้เกิดแรงสะเทือนน้อยที่สุด

เมื่อตีสายลงตรงหมาย แล้วทุ่นจมหายไปทั้งอัน แสดงว่าระดับน้ำลึกกว่าที่กะเอาไว้ ก็ให้เลื่อนระยะทุ่นไปจนกว่าทุ่นจะตั้งตรงโดยโผล่เฉพาะส่วนปลายด้านบนขึ้นมาเหนือผิวน้ำ ซึ่งแสดงว่าระยะของทุ่นเท่ากับระดับลึกของน้ำ ถ้าเป็นไปได้ควรตรวจหาระดับลึกของน้ำในบริเวณนั้นให้ทั่วโดยตลอด เพราะในบริเวณพื้นใต้น้ำใกล้เคียงกันอาจจะมีร่องน้ำหลุมขนาดใหญ่อยู่ ระดับลึกที่แตกต่างกันเพียงไม่กี่เซนติเมตรอาจเปลี่ยนแปลงความสำเร็จให้กลายเป็นความล้มเหลวได้ และเพื่อเป็นการช่วยเตือนความจำ หรือไม่ต้องเสียเวลามายืนเหวี่ยงตะกั่วอีก ก็ควรจดระดับความลึกไว้ในสมุดบันทึก เพื่อนำมาใช้ในโอกาสหน้าที่ได้มาเยี่ยมเยือนแหล่งนี้อีก

เทคนิคและอุปกรณ์ประกอบ เพื่อใช้ในการตกปลา

Advertisements

ทุ่นลอยที่เหมาะสำหรับ ให้ตกปลาในแหล่งน้ำนิ่งมากที่สุดคือ ทุ่นลอยแบบเสาอากาศ หรือเรียกอีกอย่างว่า ทุ่นชิงหลิว ซึ่งมีลำตัวเป็นกระเป๋าและมีก้านยาวเรียวโผล่ขึ้นมาด้านบน เมื่อร้อยสายเบ็ดผ่านรูปด้านล่างของตัวทุ่นและจัดระยะทุ่นให้เท่ากับระดับลึกของน้ำแล้ว

ใช้ตะกั่วหนีบสองลูกหนีบติดกับสายเบ็ดขนาบทุ่นทั้งสองด้านห่างกันเล็กน้อย ถ้าเหยื่อมีขนาดเล็กหรือน้ำหนักเบาก็เพิ่มตะกั่วหนีบขนาดเล็กกว่าสองลูกแรกหนีบติดกับสายด้านล่าง ของทุ่นอีก เพื่อถ่วงให้ตัวทุ่นจมลงใต้น้ำโผล่ขึ้นมาเฉพาะก้านเสาอากาศเท่านั้น ห่างจากตัวเบ็ดประมาณ 4 ซม. ให้ติดตะกั่วหนีบลูกเล็กๆ ลงบนสายอีกลูกหนึ่ง

เมื่อตีเหยื่อตกลงพื้น ตะกั่วลูกนี้จะนอนอยู่กับพื้นใต้น้ำเช่นเดียวกัน ส่วนลูกอื่นๆ จะอยู่สูงขึ้นไปตามแนวสายเบ็ด ถ้าผิวน้ำพริ้วเป็นระลอกมาก จนทุ่นไหวตัวตามก็ควรเพิ่มตะกั่วหนีบลงไปอีกจะช่วยทำให้เราสังเกตอาการของปลายทุ่นได้ง่ายขึ้น

ในกรณีที่มีลมพัดค่อนข้างแรงหรือหมายอยู่ห่างจากฝั่งมากต้องเปลี่ยนมาใช้ทุ่นลอยแบบต้านลม (WINDBEATER) ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับทุ่นแบบ ANTENNA แต่ส่วนก้านทุ่นหรือเสาอากาศมีขนาดยาวใหญ่กว่าและมีสันสดใสมองเห็นได้ชัดในระยะไกลความยาวและสีของก้านทุ่นที่จะเลือกใช้ต้องขึ้นอยู่กับปฏิกิริยาจากแสงสะท้อนบนผิวน้ำด้วย

มีหลักง่ายๆ อยู่ว่าถ้าสภาพลมแรงมากเราก็ต้องเลือกใช้ทุ่น WINDBERTER ที่มีก้านเสาอากาศยาวมากด้วย และเลือกใช้สีที่ตัดกับแสงสะท้อนบนผิวน้ำ อย่างเช่นในวันที่สภาพอากาศครึ้มฟ้าครึ้มฝนควรเลือกใช้สีส้มสดหรือสีเหลืองสด ส่วนในวันที่แดดจ้าสว่างไสวก็ควรเลือกใช้สีดำหรือเข้มทึบจะมองเห็นได้ชัดเจนกว่าสีอื่น

ที่วางคันเบ็ด หรือ เรสท์

เป็นอุปกรณ์ประกอบที่จำเป็นอย่างหนึ่ง ช่วยทำให้น้าๆ ไม่ต้องเมื่อยมือถือคันเบ็ดทั้งวัน ตามเทคนิควิธีนี้ เราต้องใช้เรสท์สองอัน เสียบปักไว้ข้างๆ ตัวที่มือเอื้อมหยิบคว้าได้ทันท่วงที เรสท์อันหน้าปักให้อยู่ในระดับต่ำกว่าอันหลัง เพื่อวางคันเบ็ดลาดลงหาพื้นน้ำและให้ปลายันจมอยู่ใต้ผิวน้ำ

สัญญาณการกินเหยื่อ

เมื่อตีเหยื่อลงตรงหมายแล้ว ให้จุ่มปลายคันลงใต้น้ำเพื่อทำให้สายเบ็ดจมใต้ผิวน้ำเมื่อหมุนกรอสายดึงทุ่นเข้ามาให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ เสร็จแล้วจึงวางคันลงบนเรสท์โดยให้ปลายคันยังจุ่มน้ำอยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ เสร็จแล้วจึงวางคันเบ็ดลงบนเบรสท์โดยให้คันปลายังจุ่มน้ำอยู่ และอย่าลืมว่าการอ่อยเหยื่อบริเวณรอบๆ ตัวทุ่นจะช่วยเรียกความสนใจให้ฝูงปลาธรรมชาติเข้ามาอยู่ใกล้ตัวเบ็ดเร็วขึ้น

ทุ่นชิงหลิว

Advertisements

ทุ่นแบบ ANTENNA นี้มีความไวต่อการกินเหยื่อของปลามาก แต่อาการที่แสดงให้เราเห็นจะแตกต่างกันไปตามลักษณะการกินเหยื่อ เพื่อประกันความผิดพลาดควรตวัดคันเบ็ดในทันทีที่เห็นปลายทุ่นมีอาการผิดปกติ

เพราะเมื่อปลากินเหยื่อมันจะไม่ดึงทุ่นให้จมลงใต้ผิวน้ำทุกครั้ง ทุ่นจะจมก็ต่อเมื่อปลาคว้าเหยื่อ มันจะไม่ดึงทุ่นให้ลมจงใต้ผิวน้ำทุกครั้ง ทุ่นจะจมก็ต่อเมื่อปลาคว้าเหยื่อแล้วว่ายหนีไปเท่านั้น แต่จากการที่เราติดตะกั่วลูกเล็กๆ ไว้ใกล้ตัวเบ็ดอีก ถึงแม้มันจะกินเหยื่อแล้วอยู่กับที่ ตะกั่วลูกนี้ก็จะถูกยกตัวลอยขึ้นมาจากพื้นด้วย ทำให้น้ำหนักที่ทุ่นพยุงอยู่เบาลง ก้านทุ่นก็จะขยับตัวสูงขึ้นจากผิวน้ำมากกว่าเก่า และถ้าปลาคาบเหยื่อว่ายไป ทุ่นก็จะถูกลากตามไปด้วยพร้อมกับค่อยๆจมหายไป

ถ้าใช้เหยื่อเล็กน้ำหนักเบา เช่น ไส้เดือน ให้ตวัดคันในคันทีที่เห็นปลายทุ่นขยับสูงขึ้นมาเพราะถ้าช้าไปปลาอาจจะคายเหยื่อก่อนหรือไม่ก็จะกลืนลงคอไปเลย ยิ่งถ้าเป็นช่วงหน้าหนาวซึ่งเป็นระยะเวลาที่ปลาทุกชนิดเฉื่อยชาต่อการหาอาหารกิน การบินเบ็ดจะเบามาก อย่าไปคิดว่าการกินเบ็ดอย่างรุ่นแรงดึงทุ่นจมหายไปอย่างรวดเร็วนั้น เนื่องจากความหวาดระแวงภัยของปลา จึงรีบฉวยเหยื่อว่ายหนีออกไปจากบริเวณนั้น

ความจริงแล้วพวกปลาขึ้นตื่นขี้ระแวงทั้งหลายมันจะรีบคายเหยื่อทิ้งเร็วกว่าน้าๆ กะพริบตาเสียอีกทันทีที่มันรู้สึกถึงสิ่งผิดปกติ ส่วนมาแล้วปลาธรรมชาติในแหล่งน้ำนิ่งจะกินเหยื่ออยู่กับที่ เพราะความเคยชินที่เคยอยู่กินกันอย่างสงบสุขของธรรมชาติ ไม่ต้องคอยหวาดระแวงภัยมารบกวน ลักษณะการเหยื่อที่ค่อนข้างเบานี้ถ้าสภาพผิวน้ำราบเรียบก็ไม่มีปัญหาอะไรมากนัก แต่ถ้าสภาพน้ำพลิ้วเป็นคลื่นจะทำให้เราสังเกตการณ์ไหวตัวของปลายทุ่นได้ยากมาก

เหยื่อใหญ่-ปลากินแรง

Advertisements

มีวิธีการง่ายๆ ที่จะทำให้ปลากินเหยื่อแรงขึ้นหรือคาบเหยื่อหนีคือเพิ่มขนาดของเหยื่อให้ใหญ่ขึ้น จากกฎเกณฑ์ตามธรรมชาติของสัตว์ทุกชนิดที่ต้องมีสัญชาติญาณเอาตัวรอด ซึ่งหมายถึง การหากินอาหารเพื่อสุขาภาพร่างกายของพวกมันด้วย สัญชาติญาณนี้จะมีอยู่ในตัวมันตลอดเวลาถึงแม้ว่าแหล่งอาศัยนั้นมีอาหารอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ด้วยอย่างที่เห็นได้ชัดของสัญชาติญาณนี้ที่คิดว่าเพื่อนนักตกปลาใจบุญบางคนคงเคยสังเกตเห็น

คือเมื่อเราโปรยหว่านอาหารให้พวกนกหรือไก่กิน พวกมันจะแย่งจิกกินเศษอาหารกันไปเรื่อยๆ แต่ถ้ามีตัวไหนตัวหนึ่งพบเศษอาหารชิ้นใหญ่หน่อยมันจะรีบจิกเอาอาหารชิ้นนั้นหนีออกจากฝูงไปทันทีเพื่อไม่ให้ตัวอื่นแย่ง และปลาก็มีสัญชาติญาณนี้เช่นกัน ถ้าตัวใดตัวหนึ่งพบอาหารหรือเหยื่อค่อนข้างใหญ่หน่อย มันก็จะรีบคาบพาว่ายหนีไปซึ่งก็หมายถึงจะดึงทุ่นให้จมตามไปด้วย

เทคนิคอื่นๆ

ดังที่ได้เคยแนะนำมาแล้วว่า การอ่อยเหยื่อ เป็นหลักการสำคัญวิธีหนึ่งที่ช่วยให้นักตกปลาประสพความสำเร็จกับแหล่งธรรมชาติได้เร็วขึ้น บางครั้งเหยื่ออ่อยหรือเหยื่อล่อที่กระจายอยู่ในพื้นน้ำก็จะมีปลาใหญ่ขึ้นมาคอยตักฮุบกินตั้งแต่ระดับลึกกลางน้ำขึ้นมา ในกรณีเช่นนี้เราจะเปลี่ยนมาใช้วิธีการตกแบบ “ใบไม้ร่วง” ก็ได้

โดยการเลื่อนตะกั่วหนีบที่ติดอยู่บนสายให้ขึ้นมาอยู่ใกล้ตัวทุ่นมากขึ้น เมื่อตีเหยื่อตกลงบนพื้นน้ำปลายสายเบ็ดซึ่งมีน้ำหนักเบาลงก็จะพาเหยื่อจมลงสู่พื้นใต้น้ำอย่างช้าๆ อาจมีผลทำให้พวกปลาจอมตะกละบางตัว หลงกลเข้ามากินเบ็ดขณะอยู่ในระดับกลางน้ำ ความสำเร็จก็จะเกิดขึ้นเร็วกว่าการปล่อยเหยื่อทิ้งไว้บนหน้าดิน ดังวิธีการที่ได้แนะนำไว้ในตอนต้น

ในวันที่มีลมแรง ถึงแม้เราจะใช้ทุ่นที่มีก้านค่อนข้างยาวแล้วก็ตาม บางครั้งกระแสลมก็ยังพัดพาทุ่นวิ่งตัดพื้นน้ำไปช้าๆ ในกรณีเช่นนี้ให้ปลดตะกั่วหนีบลูกเล็กที่อยู่ใกล้ตัวเบ็ดออก แล้วใช้ตะกั่วหนีบลูกใหญ่ติดเพิ่มแทน ให้ห่างจากตัวเบ็ดประมาณ 50 ซม.และเลื่อนทุ่นขึ้นมาในระยะเท่าๆ กัน การทำเช่นนี้ก็เพื่อทำให้ตะกั่วลูกใหญ่นี้นอนอยู่บนหน้าดินเป็นเสมือนสมอที่ถ่วงทุ่นเอาไว้ไม่ให้เคลื่อนตัวตามแรงลม

การตกปลาในแหล่งน้ำนิ่ง ตอนหน้าหนาวอาจจะเรียกได้ว่าเป็นเกมแห่งการรอคอย แต่ก็ยังมีวิธีการหนึ่งที่ไม่ทำให้เราเสียเวลารอคอยปลากินเหยื่อนานเกินไป เมื่อตีเหยื่อลงตรงจุดใดจุดหนึ่งแล้วให้ทิ้งเหยื่อไว้ตรงจุดนั้นสิบนาที ถ้าไม่มีการตอดเกิดขึ้นจึงค่อยหมุนกรอสายเบ็ดเข้ามาช้าๆ ประมาณ 3-4 รอบ แล้วปล่อยทิ้งไว้อีกสิบนาที ทำสลับกันเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ถ้ายังไม่มีปลาเข้ามากินเหยื่อ

แต่ควรระวังตัวไว้ให้พร้อมเพราะในช่วงใดช่วงหนึ่งปลาอาจจะเข้ากินเหยื่อในทันทีที่น้าๆ หยุดกรอสาย ปลาในหน้าหนาวซึ่งเฉื่อยชาเกียจคร้านต่อการว่ายออกหาอาหาร มักจะอยู่รวมตัวกันเป็นฝูงกินบริเวณแคบๆ ไม่กว้างนัก ดังนั้นการค่อยๆ ลากเหยื่อเข้าหาฝั่งทีละนิดอาจจะมีอยู่ในช่วงหนึ่งที่ลากเข้ากลางฝูงของมันพอดี และอย่าลืมว่าการกินเบ็ดในช่วงฤดูนี้ก็เบามากด้วย ดังนั้นควรตวัดคันในทันทีที่เห็นอาการผิดปกติของทุ่นเพียงเล็กน้อย

อ่านเรื่องอื่นๆ 

ขึ้นสายรอกตีเหยื่อปลอม จำเป็นต้องผูกเงื่อนหรือไม่

เทคนิค ตกปลากราย ด้วยเหยื่อเป็น

ตกปลาเค้า แม่น้ำปิง มันจะใหญ่ยักษ์ ลีลาดีสมชื่อ

Advertisements