ตอนนี้เรารู้แล้วว่าทำไม ‘ขั้วแม่เหล็กเหนือ’ ของโลกขยับไปไซบีเรียเร็วขึ้น

นับตั้งแต่มีการบันทึกครั้งแรก โดยนักวิจัยในทศวรรษที่ 1830 ขั้วโลกเหนือได้เคลื่อนตัวเป็นระยะทางประมาณ 2,250 กิโลเมตร การเคลื่อนตัวเกิดขึ้นทั่วบริเวณตอนบนของซีกโลกเหนือ จากแคนาดาไปยังไซบีเรีย ระหว่างปี 1990 - 2005 และอัตราการเคลื่อนที่นี้ ยังเร็วขึ้นจากน้อยกว่า 15 กิโลเมตรต่อปี เป็นประมาณ 50 - 60 กิโลเมตรต่อปี

การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Geoscience ระบุว่าการเปลี่ยนแปลงนี้ สามารถอธิบายได้โดยการเคลื่อนตัวไปมาระหว่าง “ก้อนแม่เหล็ก” สองก้อนของวัสดุหลอมเหลวภายในดาวเคราะห์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กในระดับมหึมา

ขั้วแม่เหล็กเหนือเป็นจุดที่สนามแม่เหล็กโลก “ชี้ลงในแนวดิ่ง” ซึ่งกำหนดโดยเหล็กหลอมเหลวที่เคลื่อนตัวไปรอบๆ ภายในโลก ผ่านกระแสพาการความร้อน

แล้วดูเหมือนว่าจะมีการเคลื่อนตัวสู่ไซบีเรียอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเกิดจากรูปแบบการไหลภายในโลก ที่เกิดขึ้นระหว่างปี 1970 – 1999 การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่งผลให้เขตแคนาดายืดออก และสูญเสียอิทธิพลต่อชั้นแมกนีโตสเฟียร์ สุดท้ายจึงทำให้ขั้วแม่เหล็กเหนื่อขยับไปไซบีเรีย

“ตามประวัติศาสตร์แล้ว แนวเขตของแคนาดาจะได้รับชัยชนะในสงครามขั้วแม่เหล็ก นั่นเป็นสาเหตุที่ขั้วแม่เหล็กมีศูนย์กลางอยู่ที่แคนาดา แต่ในช่วงสองสามทศวรรษที่ผ่านมา แนวเขตของแคนาดาอ่อนแอลง และแนวเขตไซบีเรียแข็งแกร่งขึ้นเล็กน้อย” … สิ่งนี้อธิบายได้ว่า ทำไมขั้วแม่เหล็กจึงออกจากตำแหน่งเดิมอย่างกะทันหัน

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements
แหล่งที่มาthe journal Nature Geoscience