หลักฐานที่แสดงว่า เคยมีไดโนเสาร์อาศัยอยู่ในอาร์กติก เมื่อ 70 ล้านปีก่อน

มีการค้นพบไดโนเสาร์ในเขตอาร์กติกมานานถึง 70 ปีแล้ว แต่นักบรรพชีวิวิทยาส่วนมากคิดว่าพวกไดโนเสาร์พวกนี้คือไดโนเสาร์ที่มาจากทางใต้ที่อพยพมาในช่วงฤดูร้อนและกลับลงใต้ในช่วงฤดูหนาว แต่จากการค้นพบไม่นานมานี้ มีการค้นพบซากรังและตัวอ่อนไดโนเสาร์หลายชนิดทำให้เป็นไปได้ว่าพวกมันอาจจะอยู่ที่นี้ตลอดเลยก็เป็นได้

“เรารู้ว่ามีไดโนเสาร์ที่นั้นแต่เราไม่รู้ว่าพวกมันสามารถรับมือความหนาวและความมืดอันยาวนานในช่วงฤดูหนาวได้อย่างไร” Patrick Druckenmiller จากมหาวิทยาลัยอลาสก้า

ถึงแม้การอพยพอาจจะเป็นแนวคิดดั่งเดิมของเรื่องนี้ แต่มันก็มีปัญหา เพราะระยะทางอพยพนั้นไกลมากถึง 3000 กิโลเมตร ทำให้เป็นการเดินทางที่ลำบางมาก

ทาง Patrick และทีมของเขาได้รวบรวมกระดูกนับร้อยและฟันจากแหล่งขุดค้นในอลาสก้า ซึ่งรวมซากของไดโนเสาร์ที่ตายตั้งแต่เพิ่งเกิดและไข่ ซึ่งทำให้พบว่าพวกมันไม่ได้มาแค่ตามฤดูกาล แต่มันเป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ที่นั้นอยู่แล้ว โดยสายพันธุ์หลักๆมีแปดชนิด รวมถึงพวกออร์นิโธพอด,ฮาดโดซอร์,แรปเตอร์และไทรันโนซอร์

“นี่เป็นหลักฐานที่ดีที่แสดงว่าพวกมันอาศัยอยู่ตลอดทุกช่วงฤดูกาล” Patrick การที่พวกมันวางไข่ในช่วงฤดูในช่วงฤดูใบไม้ผลิเมื่อมีอาหารมากมาย ก่อนที่ไข่จะเริ่มฟักก่อนช่วงฤดูหนาวซึ่งพวกที่เกิดใหม่บางตัวอาจจะโชคร้าย

แหล่งขุดค้น Prince Creek เป็นจุดที่เหนือสุดที่คาดว่ามีไดโนเสาร์อาศัย ซึ่งปัจจุบันการเดินทางเข้าไปนั้นลำบากมาก เพราะต้องใช้เครื่องบินเล็กหรือ ฮ. ในการเดินทาง ไม่ก็เรือหรือแพยนต์

ในปัจจุบันมันเป็นเขตหนาว แต่เมื่อ 70 ล้านปีที่แล้วมันแตกต่างกันมาก ทั้งพืชพรรณอุดมสมบูรณ์ แต่สภาพอากาศนั้นไม่ต่างจากตอนนี้มากนัก อุณหภูมิอาจจะอุ่นกว่าเล็กน้อย ซึ่งการขุดค้นยังไม่จบ เราไม่รู้ว่ายังมีอะไรรอพวกเราอยู่อีกข้างใต้นั้น

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements