ปลากดอเมริกัน ‘Channel Catfish’ พบได้ในแหล่งน้ำธรรมชาติไทยแล้ว

ปลากดอเมริกัน หรือชื่อกรมประมงตั้งให้คือ "ปลากดหลวง" เป็นหนึ่งในปลาต่างถิ่นที่ถูกนำเข้ามาเลี้ยงในไทยเมื่อประมาณ 30 ปีก่อน ซึ่งตอนนี้เริ่มมีคนจับหรือตกมันได้แล้วในแหล่งน้ำธรรมชาติบางแห่ง.. เดี๋ยวมาดูเรื่องราวของมันกัน

ปลากดอเมริกัน, ปลาดุกอเมริกัน (Channel Catfish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในอันดับปลาหนัง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ictalurus punctatus อยู่ในวงศ์ปลากดอเมริกัน (Ictaluridae)

มันเป็นปลาที่มีส่วนผสมระหว่าง ปลากดและปลาสวาย โดยรวมคือ มีหัวที่ใหญ่ ปากกว้าง มีหนวด 4 คู่ คู่ที่รูจมูกสั้น คู่ที่ริมฝีปากและคางยาว ลำตัวเรียวยาวและแบนข้างที่ส่วนท้าย มีเงี่ยงที่ครีบหลังและครีบอก ครีบไขมันมีขนาดเล็กและสั้น ครีบก้นยาว ครีบหางเว้าลึก ลำตัวมีสีเทาอมน้ำตาลหรือเหลือง ด้านท้องมีสีจาง มีกะสีดำกระจายอยู่ห่างๆ ในปลาที่มีขนาดเล็กกว่า 20 เซนติเมตร ครีบมีสีคล้ำ

ปลากดอเมริกัน เป็นปลาที่ยาวได้ถึง 120 เซนติเมตร หนักระหว่าง 18 – 23 กิโลกรัม แต่โดยทั่วไปจะยาวประมาณ 50 เซนติเมตร เป็นปลาพื้นเมืองของทวีปอเมริกาเหนือ พบกระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปีและตอนใต้ของแคนาดา นิยมตกเป็นเกมกีฬาและเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะที่รัฐมิสซิสซิปปี นับเป็นรัฐที่มีการเลี้ยงปลากดอเมริกันมากที่สุดของสหรัฐอเมริกา

ปลาชนิดนี้เจริญเติบโตได้ดีในแม่น้ำขนาดเล็กไปจนถึงอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ชอบอาศัยอยู่ตามโพรงใต้น้ำ ริมตลิ่ง ตามเศษซากของไม้ เป็นปลาที่มีความไวต่อกลิ่นมาก ความจริงก็คล้ายปลากดคังบ้านเรา

ประวัติการนำเข้าไทย

Advertisements

ปลากดอเมริกันถูกนำเข้ามาเป็นครั้งแรกในปี 1990 โดยสถาบันพัฒนาแห่งเอเซีย (AIT) และกรมประมง ซึ่งนำพันธุ์ปลามาครั้งแรก 50 คู่ ใน และสามารถเพาะพันธุ์ได้ในปี 1991 จากนั้นจึงใช้ชื่อเรียกในภาษาไทยว่า “ปลากดหลวง” ซึ่งปัจจุบันประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี

หลังจากนั้นไม่นานก็ถูกนำไปเพาะขยายพันธุ์ในกระชังและเขื่อน – อ่างเก็บน้ำในหลายพื้นที่ เช่น เขื่อนลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ หรือที่จังหวัดนครสวรรค์ เป็นต้น แต่ก็มีจำนวนประชากรปลาบางส่วนที่หลุดรอดออกสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ โดยหลุดออกมาครั้งแรกหลังเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่เมื่อปี 1995

Advertisements

ปลากดอเมริกัน เมื่อเทียบกับปลากดไทย? ตามข้อมูลได้กล่าวเอาไว้ว่า มันมีลักษณะคล้ายปลากดแก้วหรือปลากดคัง แต่หัวปลากดอเมริกันจะเล็กกว่า ส่วนเนื้อปลาของปลาอเมริกันจะมีสีขาวใส รสหวาน นำมาประกอบอาหารได้หลากหลายชนิด

แม้ในตอนนี้จะยังไม่ปัญหาเรื่องที่ “ปลากดอเมริกัน” จะกลายเป็นสิ่งมีชีวิตรุกรานเหมือนปลาบางชนิดที่ถูกนำเข้ามาในไทย อาจเพราะระยะเวลาที่มันหลุดเข้ามาในแหล่งน้ำธรรมชาติยังน้อย จึงทำเรื่องเหล่านี้ยังไม่ชัดเจน และมันยังเป็นปลาจากอเมริกา จึงไม่ชอบน้ำร้อน (ไม่เกิน 29 องศาเซลเซียส) .. และถึงแม้มันจะเติบโตได้ดีเทียบเท่าในถิ่นกำเนิดอย่างสหรัฐอเมริกา แต่คงไม่มีปัญหาในบ้านเราเท่าไร เพราะบ้านเรากินปลาน้ำจืดเก่ง ^ ^

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements