บันทึกการจับแล้วปล่อย ‘กระเบนน้ำจืด’ เป็นปลาใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยจับได้ในแม่น้ำโขง

หลายคนอาจสงสัยว่า "กระเบนน้ำจืด" ตัวที่พบในแม่น้ำโขงตัวนี้ เป็นชนิดเดียวกันกับ กระเบนราหูน้ำจืดที่พบในแม่น้ำแม่กลองหรือไม่? คำตอบคือ "คนละชนิด" เพราะหากอ่านจากเนื้อข่าวได้เขียนชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Urogymnus polylepis ส่วนกระเบนราหูน้ำจืด มีวิทยาศาสต์ว่า Himantura polylepis แน่นอนว่าทั้งคู่ถือเป็นปลาใกล้สูญพันธุ์

ปลากระเบนน้ำจืด

โดยไม่กี่วันก่อนมีข่าวการจับปลากระเบนน้ำจืด ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยจับได้ในแม่น้ำโขงภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชา ซึ่งมันถูกจับโดยชาวประมงท้องถิ่น และได้รับการติดแท็กโดยทีมนักวิจัยจาก โครงการวิจัย Wonders of Mekong และได้ปล่อยคืนสู่คืนแม่น้ำในวันที่ 14 มิถุนายน ที่ผ่านมา

ปลากระเบนตัวนี้ เป็นปลากระเบนน้ำจืดเพศเมีย มีวิทยาศาสตร์ Urogymnus polylepis น้ำหนัก 300 กิโลกรัม (661 ปอนด์) และวัดได้กว้าง 2.2 เมตร ยาว 4 เมตร (7 ฟุต 2 นิ้ว x 13 ฟุต 1 นิ้ว) จากจมูกถึงหนามที่หาง

การชั่งน้ำหนักครั้งนี้ เป็นการพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าปลาตัวนี้เป็นปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดที่เคยจับได้ในแม่น้ำโขง โดยทำลายสถิติเดิมของปลาบึก (Mekong giant catfish) ที่จับได้ในปี 2005 ซึ่งมีน้ำหนัก 293 กิโลกรัม (645 ปอนด์)

เช่นเดียวกับปลายักษ์ชนิดอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปลากระเบนน้ำจืดขนาดยักษ์ ก็กำลังประสบปัญหาในเรื่องประชากรที่เหลือน้อยเต็มที และภายใต้ IUCN (IUCN Red List of Threatened Species บัญชีแดงไอยูซีเอ็น) สายพันธุ์ดังกล่าวได้รับการพิจารณาว่าใกล้สูญพันธุ์

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements
Advertisements