สรุป ‘ปลาตูหนา-ปลาสะแงะ’ คืออะไรและมันต่างกันตรงไหน กินได้ อร่อย?

จนถึงทุกวันนี้ยังมีหลายคนเข้าใจว่า "ปลาตูหนา - ปลาสะแงะ" เป็นปลาชนิดเดียวกัน และยิ่งเข้าใจผิดเข้าไปใหญ่ว่าพวกมันมีพิษร้ายแรง แล้วยังเรียกมันว่างูเห่าบอนอีก เดี๋ยววันนี้เรามาดูเรื่องราวของปลาทั้งสองชนิดกันแบบสรุปเล็กน้อย

ปลาตูหนา-ปลาสะแงะ

ก่อนอื่นเรามาดูสรุปลักษณะของปลาทั้งสองชนิดกันก่อน

Advertisements

ปลาตูหนา หรือ ปลาไหลหูดำ (Shortfin eel – Anguilla bicolor) มันมีรูปร่างอ้วนป้อมยาว ลักษณะโดยทั่วไปเหมือน “ปลาสะแงะ” แต่ปลาตูหนามีรูปร่างที่เล็กกว่า ครีบอกของปลาตูหนาจะมีสีคล้ำ ปลาที่โตเต็มวัยครีบหลังและครีบก้นจะมีสีคล้ำด้วยเช่นกัน จึงเป็นที่มาของชื่อว่า “ปลาไหลหูดำ” และจุดเด่นอีกอย่างที่ต่างจากปลาสะแงะคือ ปลาตูหนาจะมีลำตัวสีน้ำตาลอ่อนไม่มีลวดลาย

ปลาตูหนา หรือ ปลาไหลหูดำ (Shortfin eel – Anguilla bicolor)

ปลาสะแงะ (Bengal freshwater eel – Anguilla bengalensis) เป็นปลาในวงศ์เดียวกับปลาตูหนาที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และยังพบได้ในไทย ในตัวเต็มวัยครีบอกจะมีสีจาง ครีบหลังจะอยู่ค่อนไปทางด้านท้ายของลำตัว ลำตัวด้านหลังมีสีเทาคล้ำอมเหลือง และมีประสีจางและคล้ำผสมกันคล้ายกับลายหินอ่อน ท้องมีสีน้ำตาลอมเหลือง

ปลาสะแงะ (Bengal freshwater eel – Anguilla bengalensis)

สรุปเมื่อเทียบปลาทั้ง 2 ชนิด แม้พวกมันจะเป็นปลาตัวยาวเหมือนกัน และยังเป็นวงศ์เดียวกัน แต่พวกมันก็ต่างกันอย่างชัดเจน คือเราแทบไม่ต้องดูอะไรมากเลย ถ้าเจอตัวที่หูดำไม่มีลาย มันคือปลาตูหนาแน่นอน หากเจอตัวที่มีลายคล้ายหินอ่อนหูไม่ดำก็เป็นสะแงะนั้นละ

ต่อไปมาดูเรื่องอื่นๆ ของปลาตูหนาและปลาสะแงะ

ถึงแม้ว่าจะมีการระบุว่าปลาสะแงะใหญ่กว่าปลาตูหนา แต่เรื่องความยาวของปลาทั้งสองค่อนข้างใกล้เคียงกัน เพราะดูเหมือนพวกมันจะยาวได้ถึง 1.5 เมตรทั้งคู่ และแม้ทั้งคู่จะไม่ได้อยู่ในสถานะเสี่ยง หรือก็คือจำนวนประชากรของพวกมันมีอยู่มากพอสมควร

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเจอง่ายๆ เพราะปลาพวกนี้มักอยู่ในน้ำสะอาด ด้วยเหตุนี้จึงพบพวกมันได้ตามแหล่งน้ำที่ไกลความเจริญ ตามป่าตามเขาอะไรพวกนี้ …นานๆ จะได้เห็นหน้าตาแปลกๆ ของปลาทั้งสองกัน จึงไม่แปลกที่มีคนตกใจว่ามันเป็นปลาสัตว์ประหลาด

แต่แหล่งที่อยู่เดิมตามบันทึกของปลาตูหนาในไทยคือ ภาคใต้ฝั่งตะวันตกแถบริมชายฝั่งอันดามัน ส่วนของปลาสะแงะคือภาคใต้ฝั่งตะวันตก และแถบภาคตะวันตกไปจนถึงจังหวัดแม่ฮ่องสอน

ปลาสะแงะวัยเด็ก
Advertisements
ปลาตูหนา ที่ยังตัวไม่โต

โดยปลาสะแงะเคยมีบันทึกการพบเห็นครั้งแรก และสร้างความฮือฮาให้กับผู้พบเห็นจำนวนมาก คือตอนที่มีคนจับมันได้ในคลองบางกะปิที่กรุงเทพ เมื่อปี 1926 และด้วยความใหญ่โตของลำตัว ทำให้บางคนเชื่อว่าเป็นปลาไหลไฟฟ้า บางคนก็คิดว่าเป็นพญานาค หรือมังกร โดยปลาตัวนั้นมีขนาดความยาว 65 เซนติเมตรเท่านั้นเอง

ในเรื่องความอร่อยของปลาทั้งสองชนิดนี้ ผมขอออกตัวไว้ก่อนว่าไม่เคยกิน แต่ถ้าเอาจากข้อมูลอ้างอิง เขาว่าแต่ก่อนปลาตูหนาเป็นที่นิยมอย่างมาก โดยเฉพาะชาวไทยเชื้อสายจีน ในแถบจังหวัดระนองหรือตรัง ถือเป็นเมนูราคาแพง ส่วนปลาสะแงะ เนื้อมีรสชาติอร่อย ราคาแพง และยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย

อ่านเรื่องอื่น

Advertisements